นครศรีธรรมราช - อปท.-ผู้ประกอบการเหมืองหิน-กรมอนามัยจับมือรับผิดชอบสังคมรอบเหมือง ตรวจดูแลสุขภาพ-เอกซเรย์ปอดชาวบ้านกรมอุตสาหกรรมเหมืองแร่ฟุ้งเริ่ม CSR ต้นแบบ หวังประชาชนมีสุขภาพที่ดี
วันนี้ (19 ม.ค.) นายสุทธิพงษ์ เทิดรัตนพงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวถึงความร่วมมือในโครงการตรวจสุขภาพและเอกซเรย์ปอด แก่ประชาชนที่อาศัยอยู่โดยรอบเหมืองแร่ว่า ความร่วมมือที่เกิดขึ้นนั้นเป็นต้นแบบของ CSR ต้นแบบของภาคใต้ระหว่างเทศบาลตำบลหินตก อบต.หินตก ผู้ประกอบการเหมืองหิน 5 บริษัทประกอบด้วย บ.นครรัตนศิลา บ.ศิลาอารีย์ บ.มานะศิลา 2537 บ.วังศิลา บ.ศิลาไทย กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ กรมอนามัย
ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความมั่นใจ และร่วมดูแลและรักษาสุขภาพ แก่ประชาชนที่อาศัยอยู่โดยรอบเหมืองแร่ บริเวณ เขาปัดโวก และ ภูเขาแดง ซึ่งมีประชาชนอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ให้มีสุขภาพที่ดี
ที่สำคัญได้สร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน ผู้ประกอบการเหมืองแร่ และ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ในการป้องกันและลดผลกระทบและปัญหา ด้านสิ่งแวดล้อม และทางด้านสุขภาพ ที่อาจจะเกิดจากการทำเหมืองแร่ โดยเฉพาะในพื้นที่แห่งนี้มีการประกอบการเหมืองหินปูนซึ่งเป็นวัตถุดิบต้นน้ำของอุตสาหกรรมการก่อสร้าง โดยมีประชาชนกว่า 500 คนเข้ารับการตรวจสุขภาพซึ่งถือว่าเป็นความร่วมมือที่สำคัญในความรับชอบต่อสังคม
นายแพทย์สุวัช เซียศิริวัฒนา รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า เป็นความรับชอบที่สำคัญของผู้ประกอบการ เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น ทั้งด้านสุขภาพของประชาชนในพื้นที่การทำเหมืองแร่ และปัญหาด้านมลพิษ ซึ่งขณะนี้ กรมอนามัย ได้จัดส่งทีมวิจัยลงสำรวจพื้นที่ทำเหมืองแร่ทั่วประเทศ เพื่อศึกษาผลกระทบที่มีต่อสุขภาพของประชาชนด้วยเช่นกัน เนื่องจากในพื้นที่ อ.ร่อนพิบูลย์เคยมีปัญหาในเรื่องของสารหนูที่เกิดจากการทำเหมืองแร่ดีบุกในอดีต มีผลกระทบต่อสุขภาพมาก แต่ได้รับการแก้ไขปัญหาจนบรรเทาเบาบางลงไปเกือบหมดแล้ว
นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ผู้อำนวยการสำนักเหมืองแร่ และสัมปทาน กระทรวงอุตสาหกรรม กิจกรรมดังกล่าว เป็นหนึ่งในโครงการส่งเสริมมาตรฐานเหมืองแร่ให้ได้มาตรฐานสากล เพื่อความรับผิดชอบต่อสังคม หรือ CSR เพื่อให้ผู้ประกอบการเหมืองแร่เข้าร่วมโครงการ และดำเนินกิจกรรมสาธารณประโยชน์ต่อสังคม ตั้งแต่ปี 2553 ที่มีผู้ประกอบเหมืองแร่จากทั่วประเทศ เข้าร่วมโครงการและได้รับรางวัล จำนวน 11 ราย และในปี 2554 ตั้งเป้าที่จะส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเหมืองแร่ร่วมทำกิจกรรมเพื่อสังคม จำนวน 16 ราย และได้กำหนดให้ เหมืองแร่ศิลาอารีย์ ในจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นเหมืองแร่ที่เข้าร่วมโครงการ และได้รับรางวัลเหมืองแร่ดีเด่น ในปี 2553 เป็นเหมืองแร่ตัวอย่าง และเป็นสถานที่ศึกษาดูงานต้นแบบของเหมืองแร่อื่นๆในระดับภาคใต้ ต่อไป
ด้านนายมาโนชย์ สวัสดีนฤมล นายกเทศมนตรีตำบลหินตก เปิดเผยว่า ในพื้นที่มีเหมืองหินปูนโดยรอบ การประกอบการนั้เนมีปแญหาในระดับหนึ่งเช่นเรื่องของฝุ่น เสียง ที่เกิดขึ้นซึ่งได้รับผลกระทบพอสมควร ในส่วนของความรับผิดชขอบนั้นท้องถิ่นได้ประสานกับผู้ประกอบการในการดูแลชาวบ้าน การรับผิดชอบต่อสังคม การดูแลประโยชน์ของชาวบ้าน ซึ่งในการรับผิดชอบเช่นนี้เป็นการคืนคุณค่าให้กับสังคมเป็นเรื่องสำคัญ ที่ทำให้ชาวบ้านสามารถอยู่ร่วมกับผู้ประกอบการโดยมีข้อขัดแย้งและปัญหาน้อยที่สุด และทุกอย่างสามารถหันหน้ามาพูดคุยกันได้
วันนี้ (19 ม.ค.) นายสุทธิพงษ์ เทิดรัตนพงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวถึงความร่วมมือในโครงการตรวจสุขภาพและเอกซเรย์ปอด แก่ประชาชนที่อาศัยอยู่โดยรอบเหมืองแร่ว่า ความร่วมมือที่เกิดขึ้นนั้นเป็นต้นแบบของ CSR ต้นแบบของภาคใต้ระหว่างเทศบาลตำบลหินตก อบต.หินตก ผู้ประกอบการเหมืองหิน 5 บริษัทประกอบด้วย บ.นครรัตนศิลา บ.ศิลาอารีย์ บ.มานะศิลา 2537 บ.วังศิลา บ.ศิลาไทย กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ กรมอนามัย
ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความมั่นใจ และร่วมดูแลและรักษาสุขภาพ แก่ประชาชนที่อาศัยอยู่โดยรอบเหมืองแร่ บริเวณ เขาปัดโวก และ ภูเขาแดง ซึ่งมีประชาชนอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ให้มีสุขภาพที่ดี
ที่สำคัญได้สร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน ผู้ประกอบการเหมืองแร่ และ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ในการป้องกันและลดผลกระทบและปัญหา ด้านสิ่งแวดล้อม และทางด้านสุขภาพ ที่อาจจะเกิดจากการทำเหมืองแร่ โดยเฉพาะในพื้นที่แห่งนี้มีการประกอบการเหมืองหินปูนซึ่งเป็นวัตถุดิบต้นน้ำของอุตสาหกรรมการก่อสร้าง โดยมีประชาชนกว่า 500 คนเข้ารับการตรวจสุขภาพซึ่งถือว่าเป็นความร่วมมือที่สำคัญในความรับชอบต่อสังคม
นายแพทย์สุวัช เซียศิริวัฒนา รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า เป็นความรับชอบที่สำคัญของผู้ประกอบการ เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น ทั้งด้านสุขภาพของประชาชนในพื้นที่การทำเหมืองแร่ และปัญหาด้านมลพิษ ซึ่งขณะนี้ กรมอนามัย ได้จัดส่งทีมวิจัยลงสำรวจพื้นที่ทำเหมืองแร่ทั่วประเทศ เพื่อศึกษาผลกระทบที่มีต่อสุขภาพของประชาชนด้วยเช่นกัน เนื่องจากในพื้นที่ อ.ร่อนพิบูลย์เคยมีปัญหาในเรื่องของสารหนูที่เกิดจากการทำเหมืองแร่ดีบุกในอดีต มีผลกระทบต่อสุขภาพมาก แต่ได้รับการแก้ไขปัญหาจนบรรเทาเบาบางลงไปเกือบหมดแล้ว
นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ผู้อำนวยการสำนักเหมืองแร่ และสัมปทาน กระทรวงอุตสาหกรรม กิจกรรมดังกล่าว เป็นหนึ่งในโครงการส่งเสริมมาตรฐานเหมืองแร่ให้ได้มาตรฐานสากล เพื่อความรับผิดชอบต่อสังคม หรือ CSR เพื่อให้ผู้ประกอบการเหมืองแร่เข้าร่วมโครงการ และดำเนินกิจกรรมสาธารณประโยชน์ต่อสังคม ตั้งแต่ปี 2553 ที่มีผู้ประกอบเหมืองแร่จากทั่วประเทศ เข้าร่วมโครงการและได้รับรางวัล จำนวน 11 ราย และในปี 2554 ตั้งเป้าที่จะส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเหมืองแร่ร่วมทำกิจกรรมเพื่อสังคม จำนวน 16 ราย และได้กำหนดให้ เหมืองแร่ศิลาอารีย์ ในจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นเหมืองแร่ที่เข้าร่วมโครงการ และได้รับรางวัลเหมืองแร่ดีเด่น ในปี 2553 เป็นเหมืองแร่ตัวอย่าง และเป็นสถานที่ศึกษาดูงานต้นแบบของเหมืองแร่อื่นๆในระดับภาคใต้ ต่อไป
ด้านนายมาโนชย์ สวัสดีนฤมล นายกเทศมนตรีตำบลหินตก เปิดเผยว่า ในพื้นที่มีเหมืองหินปูนโดยรอบ การประกอบการนั้เนมีปแญหาในระดับหนึ่งเช่นเรื่องของฝุ่น เสียง ที่เกิดขึ้นซึ่งได้รับผลกระทบพอสมควร ในส่วนของความรับผิดชขอบนั้นท้องถิ่นได้ประสานกับผู้ประกอบการในการดูแลชาวบ้าน การรับผิดชอบต่อสังคม การดูแลประโยชน์ของชาวบ้าน ซึ่งในการรับผิดชอบเช่นนี้เป็นการคืนคุณค่าให้กับสังคมเป็นเรื่องสำคัญ ที่ทำให้ชาวบ้านสามารถอยู่ร่วมกับผู้ประกอบการโดยมีข้อขัดแย้งและปัญหาน้อยที่สุด และทุกอย่างสามารถหันหน้ามาพูดคุยกันได้