พิจิตร - คนงานเหมืองทองอัคราฯ ยกทีมเข้าศาลากลางจังหวัด จี้รัฐทบทวนคำสั่งปิดเหมืองเฟส 2 ช่วงกลางคืน อ้างทำตกงานระนาว กระทบเศรษฐกิจทั้งระดับชุมชน-ประเทศชาติ ด้านผู้ว่าฯสั่งเรียกประชุมคณะกรรมการระดับจังหวัดทันที รับปากตรวจสอบข้อเท็จจริงเหมืองทองกระทบชาวบ้านซ้ำ ก่อนเสนอความเห็นให้ ก.อุตสาหกรรม
วานนี้(26 ม.ค.)ที่บริเวณศาลากลางจังหวัดพิจิตรได้มีกลุ่มผู้ใช้แรงงาน พนักงาน ชาวบ้าน รวมถึงครอบครัวของพนักงานบริษัทในเครือเหมืองแร่ทองคำอัคราไมนิ่ง จำกัด ซึ่งตั้งอยู่ที่ ต.เขาเจ็ดลูก อ.ทับคล้อ จ.พิจิตร ประมาณ 1,200 คน นำโดยนายสาธิต นาคสุก อายุ 42 ปี รองประธานคณะกรรมการสวัสดิการแรงงานพนักงานบริษัทเหมืองแร่ทองคำอัคราไมนิ่ง ได้มาชุมนุมยื่นหนังสือขอความเห็นใจให้เหมืองแร่ทองคำชาตรีเหนือ หรือเหมืองแร่ทองคำอัคราไมนิ่ง
ที่ก่อนหน้านี้ได้ถูกฟ้องร้องว่ามีการดำเนินกิจการส่งผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม จนอธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ได้มีหนังสือแจ้งให้บริษัท หยุดทำเหมืองแร่ทองคำเฟส 2 ในภาคกลางคืนตั้งแต่เวลา 19.00 น. จนถึง 05.00 น.
กลุ่มพนักงานระบุว่า คำสั่งดังกล่าว ส่งผลให้พนักงานนับพันคนที่ทำงานในภาคกลางคืนมาเกือบ 10 ปี มีภาระทางครอบครัว การดำรงชีพต้องตกงานและเดือดร้อน เนื่องจากคำสั่งหยุดการดำเนินกิจการดังกล่าว
พร้อมกับให้เหตุอีกผลว่า นอกจากนี้การสั่งปิดเหมืองส่งผลถึงเศรษฐกิจชุมชนและการจัดเก็บภาษีของท้องถิ่น ที่ปีหนึ่งๆ อัคราไมนิ่ง จ่ายเงินพัฒนาสิ่งแวดล้อมตำบลถึงปีละ 10 ล้านบาท และจ้างงานปีละไม่น้อยกว่า 150 ล้านบาท รวมถึงเงินตราต่างประเทศจากการส่งออกแร่ทองคำ ที่เคยมีรายได้กว่าปีละ 3 พันล้านบาท จึงได้รวมตัวกันมาเรียกร้องและชี้แจงให้ผู้ว่าฯพิจิตรได้พิจารณาทบทวน เพื่อรายงานและอนุเคราะห์ให้ช่วยสั่งให้เปิดดำเนินกิจการต่อไป
ขณะที่นายสุวิทย์ วัชโรทยางกูร ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร กล่าวว่า ตนเองก็กินอยู่พักอาศัยในชุมชนรอบเหมืองด้วยเช่นเดียวกับผู้ร้องเรียน แต่ไม่เคยได้รับผลกระทบในทุกประเด็นอย่างที่มีกลุ่ม NGO ร้องเรียนและฟ้องศาลปกครองแต่อย่างใด จึงเชื่อมั่นว่าการฟ้องร้องและการร้องเรียนจนเป็นที่มาของคำสั่งปิดเหมืองเฟส 2 ช่วงกลางคืน มีกลุ่มนายทุนผู้ค้าที่ดินรอบเหมืองบีบเสนอขายที่ดินในราคาแพง แต่บริษัทฯไม่รับซื้อ จนทำให้เกิดปัญหานี้ขึ้น
ล่าสุดนายสุวิทย์ ได้เรียกประชุมด่วนคณะกรรมการระดับจังหวัด ซึ่งประกอบด้วย ไตรภาคี 21 คน อันได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิในภาคราชการ ตัวแทนของเหมืองแร่ทองคำอัคราไมนิ่ง และตัวแทนของประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน และอยู่อาศัยโดยรอบพื้นที่เหมืองแร่ทองคำอัคราไมนิ่ง ซึ่งคณะกรรมการชุดนี้ก็จะทำหน้าที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงในรายละเอียด
ผู้ว่าฯพิจิตร ให้คำมั่นว่า ทุกฝ่ายล้วนเป็นประชาชนคนพิจิตร ดังนั้น จึงต้องให้การดูแลอย่างสมดุลไม่เข้าข้างใคร และจะได้ทำความเห็นเสนอไปยังอธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ เพื่อพิจารณาสั่งการต่อไป
วานนี้(26 ม.ค.)ที่บริเวณศาลากลางจังหวัดพิจิตรได้มีกลุ่มผู้ใช้แรงงาน พนักงาน ชาวบ้าน รวมถึงครอบครัวของพนักงานบริษัทในเครือเหมืองแร่ทองคำอัคราไมนิ่ง จำกัด ซึ่งตั้งอยู่ที่ ต.เขาเจ็ดลูก อ.ทับคล้อ จ.พิจิตร ประมาณ 1,200 คน นำโดยนายสาธิต นาคสุก อายุ 42 ปี รองประธานคณะกรรมการสวัสดิการแรงงานพนักงานบริษัทเหมืองแร่ทองคำอัคราไมนิ่ง ได้มาชุมนุมยื่นหนังสือขอความเห็นใจให้เหมืองแร่ทองคำชาตรีเหนือ หรือเหมืองแร่ทองคำอัคราไมนิ่ง
ที่ก่อนหน้านี้ได้ถูกฟ้องร้องว่ามีการดำเนินกิจการส่งผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม จนอธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ได้มีหนังสือแจ้งให้บริษัท หยุดทำเหมืองแร่ทองคำเฟส 2 ในภาคกลางคืนตั้งแต่เวลา 19.00 น. จนถึง 05.00 น.
กลุ่มพนักงานระบุว่า คำสั่งดังกล่าว ส่งผลให้พนักงานนับพันคนที่ทำงานในภาคกลางคืนมาเกือบ 10 ปี มีภาระทางครอบครัว การดำรงชีพต้องตกงานและเดือดร้อน เนื่องจากคำสั่งหยุดการดำเนินกิจการดังกล่าว
พร้อมกับให้เหตุอีกผลว่า นอกจากนี้การสั่งปิดเหมืองส่งผลถึงเศรษฐกิจชุมชนและการจัดเก็บภาษีของท้องถิ่น ที่ปีหนึ่งๆ อัคราไมนิ่ง จ่ายเงินพัฒนาสิ่งแวดล้อมตำบลถึงปีละ 10 ล้านบาท และจ้างงานปีละไม่น้อยกว่า 150 ล้านบาท รวมถึงเงินตราต่างประเทศจากการส่งออกแร่ทองคำ ที่เคยมีรายได้กว่าปีละ 3 พันล้านบาท จึงได้รวมตัวกันมาเรียกร้องและชี้แจงให้ผู้ว่าฯพิจิตรได้พิจารณาทบทวน เพื่อรายงานและอนุเคราะห์ให้ช่วยสั่งให้เปิดดำเนินกิจการต่อไป
ขณะที่นายสุวิทย์ วัชโรทยางกูร ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร กล่าวว่า ตนเองก็กินอยู่พักอาศัยในชุมชนรอบเหมืองด้วยเช่นเดียวกับผู้ร้องเรียน แต่ไม่เคยได้รับผลกระทบในทุกประเด็นอย่างที่มีกลุ่ม NGO ร้องเรียนและฟ้องศาลปกครองแต่อย่างใด จึงเชื่อมั่นว่าการฟ้องร้องและการร้องเรียนจนเป็นที่มาของคำสั่งปิดเหมืองเฟส 2 ช่วงกลางคืน มีกลุ่มนายทุนผู้ค้าที่ดินรอบเหมืองบีบเสนอขายที่ดินในราคาแพง แต่บริษัทฯไม่รับซื้อ จนทำให้เกิดปัญหานี้ขึ้น
ล่าสุดนายสุวิทย์ ได้เรียกประชุมด่วนคณะกรรมการระดับจังหวัด ซึ่งประกอบด้วย ไตรภาคี 21 คน อันได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิในภาคราชการ ตัวแทนของเหมืองแร่ทองคำอัคราไมนิ่ง และตัวแทนของประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน และอยู่อาศัยโดยรอบพื้นที่เหมืองแร่ทองคำอัคราไมนิ่ง ซึ่งคณะกรรมการชุดนี้ก็จะทำหน้าที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงในรายละเอียด
ผู้ว่าฯพิจิตร ให้คำมั่นว่า ทุกฝ่ายล้วนเป็นประชาชนคนพิจิตร ดังนั้น จึงต้องให้การดูแลอย่างสมดุลไม่เข้าข้างใคร และจะได้ทำความเห็นเสนอไปยังอธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ เพื่อพิจารณาสั่งการต่อไป