นครศรีธรรมราช - อบต.เขตริมทะเลท่าศาลา-องค์กรเอกชนผนึกกำลังร่วมปฏิเสธโรงไฟฟ้าถ่านหินด้วยไมตรี ผุดแนวคิดจับมือทุกบ้านล้อมท่าศาลา เป็นเมืองแห่งการศึกษา สุขภาพ เกษตรกรรม ประมง ท่องเที่ยว วัฒนธรรม ด้านวิศวกร กฟผ.เมินต้านยันเร่งเดินหน้าทำความเข้าใจ 2 อำเภอท่าศาลา-หัวไทร บอกทำตามหน้าที่
วันนี้ (17 ม.ค.) นายบุญโชค แก้วแกม นายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าขึ้น อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช เปิดเผยถึงความเคลื่อนไหวของการปฏิเสธ โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหิน ในพื้นที่ อ.ท่าศาลา ว่า ในส่วนของ อบต.และผู้ใหญ่บ้าน กำนันที่อยู่ชายฝั่งทะเลของ อ.ท่าศาลา คือ อบต.ท่าขึ้น ได้มีความร่วมมือกันเตรียมลงนามร่วมกับประชาชนในการแสดงความไม่ต้องการโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหิน ที่จะมาเกิดขึ้นในพื้นที่ ซึ่งได้มีการสร้างเครือข่ายร่วมกันกับประชาชน องค์กรเอกชน ร่วมกันติดตามความเคลื่อนไหวของการเตรียมการก่อสร้างโรงไฟฟ้าในพื้นที่
ทั้งนี้ ยอมรับว่า ในการสรุปความคิดเห็นของทีมงานเครือข่ายแต่ละครั้งนั้น ไม่ชัดเจนถึงจุดประสงค์ที่แท้จริงของ กฟผ.ว่าจะสร้างเพื่ออะไร เพื่อการนิคมอุตสาหกรรม หรือเพื่อสำรองพลังงานไฟฟ้ากันแน่ การเกิดขึ้นของโรงไฟฟ้าถ่านหินต้องคำนึงถึงคนในชุมชนเป็นหลัก ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับรายได้ของรัฐเทียบกันไม่ได้ คนในชุมชนที่อาศัยอยู่ต้องเป็นเรื่องที่สำคัญกว่า
ด้าน นายอภินันท์ เชาวลิต นายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าศาลา เปิดเผยว่า อบต.ท่าศาลา พร้อมแล้วในการเข้าร่วมลงนามกับประชาชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจากที่ต่างๆ รวมทั้งกำนันผู้ใหญ่บ้าน ที่มีเจตนารมณ์เดียวกัน คือ ต้องการสร้างความชัดเจนให้เกิดขึ้นในแนวทางของความต้องการของประชาชนในอำเภอท่าศาลา
“ที่ผ่านมา เราเห็นว่า ประชาชนได้รับข้อมูลเพียงด้านเดียวมาโดยตลอด กฟผ.มาให้ข้อมูลเฉพาะแต่ด้านที่ดี แต่หลีกเลี่ยงที่จะพูดถึงผลเสีย พูดกันตรงๆ มีแต่ดีไม่มีเสีย ประชาชนต้องการข้อมูลทั้งสองด้าน ดีอย่างไรเสียอย่างไร และจะแก้ปัญหาอย่างไร ทุกอย่างมีทั้งด้านดีและเสียเสมอ ซึ่งในกิจกรรมนั้นจะมีมวลชนออกมาเคลื่อนไหวร่วมกันทั้งอำเภอแสดงออกให้เห็นถึงความสวยงามด้วยไมตรี ไม่มีความรุนแรงใดๆ มีแต่ความต้องการที่จะให้ท่าศาลา มีแต่ความสวยงามไม่อยากให้บ้านเกิดเป็นเหมือนมาบตาพุด” นายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าศาลา กล่าว
ด้าน นายทรงวุฒิ พัฒแก้ว แกนนำเครือข่ายรักษ์บ้านเกิด เปิดเผยว่า ในระหว่างวันที่ 22-24 กุมภาพันธ์ 2554 จะมีกิจกรรมที่แสดงออกถึงความสวยงาม ความคิดความต้องการอย่างเป็นอิสระของชาวบ้านอำเภอท่าศาลา เราจะแสดงออกด้วยการลงนามรายชื่ออย่างน้อย 10,000 รายชื่อ การจับมือกันล้อมรอบอำเภอท่าศาลา เมื่อการจับมือไปถึงบ้านใครบ้านนั้นจะออกมาร่วมกันจับมือเพื่อแสดงออกให้เห็น
“ตอนนี้กระแสที่เกิดขึ้นในอำเภอท่าศาลา เป็นความสวยงามชาวบ้านมีการแสดงออก โดยไม่มีใครไปชักจูง บางบ้านใช้แผ่นป้ายที่ทำด้วยกระสอบปุ๋ยแบบง่ายๆ บอกถึงข้อความที่ไม่เอาโรงไฟฟ้า บ้างก็ทำธงขึ้นมาแสดงให้เห็นถึงสัญลักษณ์ไม่เอาโรงไฟฟ้า คาราวานรถยนต์ รถจักรยานยนต์ และรถจักรยานร่วมสร้างการตื่นตัวในเรื่องนี้ทั้งอำเภอ มีเวทีการแสดงดนตรี การแสดงความคิดเห็น เราจะไม่พูดว่าไฟฟ้าถ่านหินไม่ดีอย่างไร เพราะเราไม่เอาแน่นอน แต่เราจะพูดว่าเราต้องการท่าศาลา ที่สวยงามอย่างไร ในแบบที่เราต้องการคือเมืองแห่งการศึกษา สุขภาพ เกษตรกรรม ประมง ท่องเที่ยว วัฒนธรรม กฟผ.จะมาแจกจ่ายสิ่งของสนับสนุนอะไรเราไม่ปฏิเสธ แต่เราไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหิน” แกนนำเครือข่ายรักษ์บ้านเกิด กล่าว
ด้าน นายนิรันดร์ มามี วิศวกร 8 การไฟฟ้าฝ่ายผลิต หนึ่งในผู้บริหารคณะทำงาน กฟผ.ในพื้นที่นครศรีธรรมราช เปิดเผยว่าแม้ว่าการต่อต้านปฏิเสธโครงการ กฟผ.ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ อ.ท่าศาลา และ อ.หัวไทร จะเกิดขึ้น กฟผ.ไม่ต้องปรับตัวหรือเปลี่ยนแปลงแนวทางอะไร เราทำตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากรัฐคือการให้ข้อมูลที่ถูกต้องและต่อเนื่อง
“เวลานี้เราเน้นไปที่การพาคณะต่างๆไปศึกษาดูงานของ กฟผ.ในพื้นที่จริง สถานที่จริงมีทั้งการพาคณะครู นักเรียน คนในพื้นที่ และสื่อมวลชน ไปดูว่าโรงไฟฟ้าถ่านหินที่มีในประเทศไทยนั้นไม่ได้ทำความเดือดร้อนให้จนชุมชนอยู่ไม่ได้ เช่น แม่เมาะในปัจจุบันอยู่ได้กับชุมชนอย่างไม่มีปัญหา การต่อต้านที่เกิดขึ้นเราไม่สามารถไปควบคุมอะไรได้ เพราะคิดเห็นไม่ตรงกัน รู้ข้อมูลอย่างไม่ถูกต้อง อย่างไรก็ตาม เป้าหมายเดิมของเราคือการทำความเข้าใจในพื้นที่ อ.ท่าศาลา และ อ.หัวไทร” นายนิรันดร์ กล่าวและว่า
การศึกษาสำรวจวิจัยนั้นเป็นกระบวนหนึ่ง ที่ได้มาจากการสอบถามความคิดเห็นจากการทำประชาคมในพื้นที่มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นสถาบันที่เชื่อถือได้
“เมื่อมหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช ถอนตัวจากโครงการ กฟผ.ต้องกลับไปถามประชาชนในพื้นที่ใหม่ว่าต้องการสถาบันการศึกษาใดหรือแหล่งใด ที่เข้ามาสำรวจความคิดเห็นที่เห็นแล้วว่าเป็นกลางและเชื่อถือได้ ซึ่งเป็นหน่วยงานใด หรือเอกชน หน่วยงานอื่นๆก็ได้ที่ประชาชนวางใจ เท่าที่มีการแสดงความคิดเห็นมาแล้ว เช่น มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และอีกหลายหน่วยงาน ซึ่งยังไม่ได้เจาะจงว่าเป็นหน่วยงานใด” นายนิรันดร์ กล่าว
วันนี้ (17 ม.ค.) นายบุญโชค แก้วแกม นายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าขึ้น อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช เปิดเผยถึงความเคลื่อนไหวของการปฏิเสธ โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหิน ในพื้นที่ อ.ท่าศาลา ว่า ในส่วนของ อบต.และผู้ใหญ่บ้าน กำนันที่อยู่ชายฝั่งทะเลของ อ.ท่าศาลา คือ อบต.ท่าขึ้น ได้มีความร่วมมือกันเตรียมลงนามร่วมกับประชาชนในการแสดงความไม่ต้องการโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหิน ที่จะมาเกิดขึ้นในพื้นที่ ซึ่งได้มีการสร้างเครือข่ายร่วมกันกับประชาชน องค์กรเอกชน ร่วมกันติดตามความเคลื่อนไหวของการเตรียมการก่อสร้างโรงไฟฟ้าในพื้นที่
ทั้งนี้ ยอมรับว่า ในการสรุปความคิดเห็นของทีมงานเครือข่ายแต่ละครั้งนั้น ไม่ชัดเจนถึงจุดประสงค์ที่แท้จริงของ กฟผ.ว่าจะสร้างเพื่ออะไร เพื่อการนิคมอุตสาหกรรม หรือเพื่อสำรองพลังงานไฟฟ้ากันแน่ การเกิดขึ้นของโรงไฟฟ้าถ่านหินต้องคำนึงถึงคนในชุมชนเป็นหลัก ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับรายได้ของรัฐเทียบกันไม่ได้ คนในชุมชนที่อาศัยอยู่ต้องเป็นเรื่องที่สำคัญกว่า
ด้าน นายอภินันท์ เชาวลิต นายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าศาลา เปิดเผยว่า อบต.ท่าศาลา พร้อมแล้วในการเข้าร่วมลงนามกับประชาชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจากที่ต่างๆ รวมทั้งกำนันผู้ใหญ่บ้าน ที่มีเจตนารมณ์เดียวกัน คือ ต้องการสร้างความชัดเจนให้เกิดขึ้นในแนวทางของความต้องการของประชาชนในอำเภอท่าศาลา
“ที่ผ่านมา เราเห็นว่า ประชาชนได้รับข้อมูลเพียงด้านเดียวมาโดยตลอด กฟผ.มาให้ข้อมูลเฉพาะแต่ด้านที่ดี แต่หลีกเลี่ยงที่จะพูดถึงผลเสีย พูดกันตรงๆ มีแต่ดีไม่มีเสีย ประชาชนต้องการข้อมูลทั้งสองด้าน ดีอย่างไรเสียอย่างไร และจะแก้ปัญหาอย่างไร ทุกอย่างมีทั้งด้านดีและเสียเสมอ ซึ่งในกิจกรรมนั้นจะมีมวลชนออกมาเคลื่อนไหวร่วมกันทั้งอำเภอแสดงออกให้เห็นถึงความสวยงามด้วยไมตรี ไม่มีความรุนแรงใดๆ มีแต่ความต้องการที่จะให้ท่าศาลา มีแต่ความสวยงามไม่อยากให้บ้านเกิดเป็นเหมือนมาบตาพุด” นายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าศาลา กล่าว
ด้าน นายทรงวุฒิ พัฒแก้ว แกนนำเครือข่ายรักษ์บ้านเกิด เปิดเผยว่า ในระหว่างวันที่ 22-24 กุมภาพันธ์ 2554 จะมีกิจกรรมที่แสดงออกถึงความสวยงาม ความคิดความต้องการอย่างเป็นอิสระของชาวบ้านอำเภอท่าศาลา เราจะแสดงออกด้วยการลงนามรายชื่ออย่างน้อย 10,000 รายชื่อ การจับมือกันล้อมรอบอำเภอท่าศาลา เมื่อการจับมือไปถึงบ้านใครบ้านนั้นจะออกมาร่วมกันจับมือเพื่อแสดงออกให้เห็น
“ตอนนี้กระแสที่เกิดขึ้นในอำเภอท่าศาลา เป็นความสวยงามชาวบ้านมีการแสดงออก โดยไม่มีใครไปชักจูง บางบ้านใช้แผ่นป้ายที่ทำด้วยกระสอบปุ๋ยแบบง่ายๆ บอกถึงข้อความที่ไม่เอาโรงไฟฟ้า บ้างก็ทำธงขึ้นมาแสดงให้เห็นถึงสัญลักษณ์ไม่เอาโรงไฟฟ้า คาราวานรถยนต์ รถจักรยานยนต์ และรถจักรยานร่วมสร้างการตื่นตัวในเรื่องนี้ทั้งอำเภอ มีเวทีการแสดงดนตรี การแสดงความคิดเห็น เราจะไม่พูดว่าไฟฟ้าถ่านหินไม่ดีอย่างไร เพราะเราไม่เอาแน่นอน แต่เราจะพูดว่าเราต้องการท่าศาลา ที่สวยงามอย่างไร ในแบบที่เราต้องการคือเมืองแห่งการศึกษา สุขภาพ เกษตรกรรม ประมง ท่องเที่ยว วัฒนธรรม กฟผ.จะมาแจกจ่ายสิ่งของสนับสนุนอะไรเราไม่ปฏิเสธ แต่เราไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหิน” แกนนำเครือข่ายรักษ์บ้านเกิด กล่าว
ด้าน นายนิรันดร์ มามี วิศวกร 8 การไฟฟ้าฝ่ายผลิต หนึ่งในผู้บริหารคณะทำงาน กฟผ.ในพื้นที่นครศรีธรรมราช เปิดเผยว่าแม้ว่าการต่อต้านปฏิเสธโครงการ กฟผ.ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ อ.ท่าศาลา และ อ.หัวไทร จะเกิดขึ้น กฟผ.ไม่ต้องปรับตัวหรือเปลี่ยนแปลงแนวทางอะไร เราทำตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากรัฐคือการให้ข้อมูลที่ถูกต้องและต่อเนื่อง
“เวลานี้เราเน้นไปที่การพาคณะต่างๆไปศึกษาดูงานของ กฟผ.ในพื้นที่จริง สถานที่จริงมีทั้งการพาคณะครู นักเรียน คนในพื้นที่ และสื่อมวลชน ไปดูว่าโรงไฟฟ้าถ่านหินที่มีในประเทศไทยนั้นไม่ได้ทำความเดือดร้อนให้จนชุมชนอยู่ไม่ได้ เช่น แม่เมาะในปัจจุบันอยู่ได้กับชุมชนอย่างไม่มีปัญหา การต่อต้านที่เกิดขึ้นเราไม่สามารถไปควบคุมอะไรได้ เพราะคิดเห็นไม่ตรงกัน รู้ข้อมูลอย่างไม่ถูกต้อง อย่างไรก็ตาม เป้าหมายเดิมของเราคือการทำความเข้าใจในพื้นที่ อ.ท่าศาลา และ อ.หัวไทร” นายนิรันดร์ กล่าวและว่า
การศึกษาสำรวจวิจัยนั้นเป็นกระบวนหนึ่ง ที่ได้มาจากการสอบถามความคิดเห็นจากการทำประชาคมในพื้นที่มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นสถาบันที่เชื่อถือได้
“เมื่อมหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช ถอนตัวจากโครงการ กฟผ.ต้องกลับไปถามประชาชนในพื้นที่ใหม่ว่าต้องการสถาบันการศึกษาใดหรือแหล่งใด ที่เข้ามาสำรวจความคิดเห็นที่เห็นแล้วว่าเป็นกลางและเชื่อถือได้ ซึ่งเป็นหน่วยงานใด หรือเอกชน หน่วยงานอื่นๆก็ได้ที่ประชาชนวางใจ เท่าที่มีการแสดงความคิดเห็นมาแล้ว เช่น มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และอีกหลายหน่วยงาน ซึ่งยังไม่ได้เจาะจงว่าเป็นหน่วยงานใด” นายนิรันดร์ กล่าว