ศูนย์ข่าวภูเก็ต- ผู้ว่าฯภูเก็ต เน้นย้ำคณะกรรมการจัดสรรที่ดิน พิจารณาโครงการบ้านจัดสรรต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อชุมชนทั้งเรื่องปัญหาน้ำท่วม และโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ
นายตรี อัครเดชา ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดภูเก็ต ครั้งที่ 1/2554 ที่ประชุมหอทะเบียนที่ดิน 2459 สำนักงานที่ดินจังหวัดภูเก็ต ว่า ในการประชุมครั้งนี้มีโครงการบ้านจัดสรร ที่เสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการฯ จำนวน 8 โครงการ ได้แก่ โครงการบ้านจอมทอง ถลาง ของบริษัท จอมทองพรอพเพอร์ตี้ จำกัด โครงการบ้านพร้อมพันธ์ ป่าคลอก ของบริษัท บ้านพร้อมพันธ์ จำกัด
โครงการ บ้านพฤกษาวิลล์ 45 ของบริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) โครงการบ้านพูนทรัพย์ (ทรงคุณ) ของบริษัท ภูเก็ต ชินวัฒน์ พร๊อพเพอร์ตี้ จำกัด โครงการบ้านฉลองสุข ของบริษัท บ้านจรุงกลิ่น จำกัด โครงการรัษฎาโฮม 2 ของนายพิภพ แผลงจากจางและนายต่อศักดิ์ วิทยาพิเชฐ โครงการดับเบิ้ล ของ น.ส.ภารณี ดีเจริญกุล โครงการ เอส.เค.โฮม ใสยวน ของบริษัท ภูเก็ต เอส.เค.โฮม จำกัด
นอกจากนี้ ยังมีการขอจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร การถอนสัญญาค้ำประกันการจัดทำสาธารณูปโภค การขออนุญาตแก้ไขผังโครงการและวิธีจัดสรรที่ดิน และการขออนุญาตก่อภาระผูกพัน
นายตรี กล่าวอีกว่า โครงการที่มีการนำเสนอขออนุญาตนั้น มีทั้งโครงการขนาดเล็ก ขาดกลาง และขาดใหญ่ ซึ่งจากการพิจารณาของคณะกรรมการเห็นชอบให้มีการดำเนินการตามที่ผู้ประกอบการยื่นขออนุญาต แม้ว่าจะมีการอนุญาตแต่ในบางโครงการก็มีเงื่อนไขให้ผู้ประกอบการดำเนินการ เพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด ส่วนโครงการที่มีการเทคโอเวอร์และมีปัญหา ก็ได้ให้คณะกรรมการฯ ลงไปตรวจสอบและดำเนินการแก้ปัญหาจนประสบความสำเร็จด้วยดี
ทั้งนี้ ภาพรวมการลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ของภูเก็ตนั้นยังคงมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง และความต้องการของตลาดก็ยังคงมีสูง
นายตรี อีกว่า ในการพิจารณาของคณะกรรมการ ตนได้เน้นย้ำให้ความสำคัญเกี่ยวกับผลกระทบสิ่งแวดล้อมและผลกระทบกับประชาชน โดยเฉพาะในเขตชุมชนเมือง ซึ่งมีหลายท้องถิ่นได้รับผลกระทบจากการเติบโตของโครงการจัดสรร และมีการร้องเรียนเข้ามาเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะเรื่องของการจัดทำสาธารณูปโภคเชื่อมระหว่างของหน่วยงานท้องถิ่นกับผู้ประกอบการซึ่งไม่สอดคล้องกัน จนส่งผลให้เกิดปัญหาน้ำท่วมขังเมื่อมีฝนตกลงมา เช่น ท่อระบายน้ำเสีย เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีปัญหาพื้นที่ต่อเนื่องของแต่ละท้องถิ่น ซึ่งก็ได้ฝากไปยังท้องถิ่นได้ร่วมมือกันในการจัดสรรงบประมาณมาใช้ในการแก้ไข
นายตรี อัครเดชา ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดภูเก็ต ครั้งที่ 1/2554 ที่ประชุมหอทะเบียนที่ดิน 2459 สำนักงานที่ดินจังหวัดภูเก็ต ว่า ในการประชุมครั้งนี้มีโครงการบ้านจัดสรร ที่เสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการฯ จำนวน 8 โครงการ ได้แก่ โครงการบ้านจอมทอง ถลาง ของบริษัท จอมทองพรอพเพอร์ตี้ จำกัด โครงการบ้านพร้อมพันธ์ ป่าคลอก ของบริษัท บ้านพร้อมพันธ์ จำกัด
โครงการ บ้านพฤกษาวิลล์ 45 ของบริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) โครงการบ้านพูนทรัพย์ (ทรงคุณ) ของบริษัท ภูเก็ต ชินวัฒน์ พร๊อพเพอร์ตี้ จำกัด โครงการบ้านฉลองสุข ของบริษัท บ้านจรุงกลิ่น จำกัด โครงการรัษฎาโฮม 2 ของนายพิภพ แผลงจากจางและนายต่อศักดิ์ วิทยาพิเชฐ โครงการดับเบิ้ล ของ น.ส.ภารณี ดีเจริญกุล โครงการ เอส.เค.โฮม ใสยวน ของบริษัท ภูเก็ต เอส.เค.โฮม จำกัด
นอกจากนี้ ยังมีการขอจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร การถอนสัญญาค้ำประกันการจัดทำสาธารณูปโภค การขออนุญาตแก้ไขผังโครงการและวิธีจัดสรรที่ดิน และการขออนุญาตก่อภาระผูกพัน
นายตรี กล่าวอีกว่า โครงการที่มีการนำเสนอขออนุญาตนั้น มีทั้งโครงการขนาดเล็ก ขาดกลาง และขาดใหญ่ ซึ่งจากการพิจารณาของคณะกรรมการเห็นชอบให้มีการดำเนินการตามที่ผู้ประกอบการยื่นขออนุญาต แม้ว่าจะมีการอนุญาตแต่ในบางโครงการก็มีเงื่อนไขให้ผู้ประกอบการดำเนินการ เพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด ส่วนโครงการที่มีการเทคโอเวอร์และมีปัญหา ก็ได้ให้คณะกรรมการฯ ลงไปตรวจสอบและดำเนินการแก้ปัญหาจนประสบความสำเร็จด้วยดี
ทั้งนี้ ภาพรวมการลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ของภูเก็ตนั้นยังคงมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง และความต้องการของตลาดก็ยังคงมีสูง
นายตรี อีกว่า ในการพิจารณาของคณะกรรมการ ตนได้เน้นย้ำให้ความสำคัญเกี่ยวกับผลกระทบสิ่งแวดล้อมและผลกระทบกับประชาชน โดยเฉพาะในเขตชุมชนเมือง ซึ่งมีหลายท้องถิ่นได้รับผลกระทบจากการเติบโตของโครงการจัดสรร และมีการร้องเรียนเข้ามาเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะเรื่องของการจัดทำสาธารณูปโภคเชื่อมระหว่างของหน่วยงานท้องถิ่นกับผู้ประกอบการซึ่งไม่สอดคล้องกัน จนส่งผลให้เกิดปัญหาน้ำท่วมขังเมื่อมีฝนตกลงมา เช่น ท่อระบายน้ำเสีย เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีปัญหาพื้นที่ต่อเนื่องของแต่ละท้องถิ่น ซึ่งก็ได้ฝากไปยังท้องถิ่นได้ร่วมมือกันในการจัดสรรงบประมาณมาใช้ในการแก้ไข