กระบี่-รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานระบุเครื่องสกัดน้ำมันปาล์มต้นแบบ Dry Process ขนาดเล็ก เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รองรับผลผลิตจากสวนเกษตรกร หลังมีบริษัทนำร่องทดลองใช้มีกำลังการผลิตเท่ากับ 2.5 ตัน/ชั่วโมง
นายแพทย์วรรณรัตน์ ชาญนุกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พร้อมคณะตรวจเยี่ยมโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มซาราฟ ไบโอแกส เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด อ.เขาพนม จ.กระบี่ ซึ่งเป็นโรงงานที่ใช้พลังงานชีวภาพในการผลิตพลังงาน โดยได้เงินสนับสนุนโครงการจากกองทุนส่งเสริมอนุรักษ์พลังงาน เป็นเงินงบประมาณ 8.8 ล้านบาท และเดินทางไปยัง บริษัท เกษตรสิทธี อ.ปลายพระยา ชมเครื่องสกัดน้ำมันปาล์มระบบ Dry Process เป็นระบบที่มีขนาดเล็ก ใช้พื้นที่น้อย ใช้งบลงทุนต่ำ และใช้ระบบ Gasifier จากเชื้อเพลิงแท่งตะเกียบ ที่ทำจากเศษเหลือทะลายปาล์ม กะลาปาล์ม เป็นแหล่งกำเนิดพลังงาน
นายแพทย์วรรณรัตน์ ชาญนุกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า การพัฒนารูปแบบการผลิตพลังงานแห้งหีบรวม Dry Process เป็นการพัฒนาของเครื่องสกัดน้ำมันปาล์มจากแบบเดิม ซึ่งเป็นการพัฒนาเทคโนโลยีเครื่องสกัดน้ำมันปาล์มเครื่องแรกของประเทศไทย
โดยผลงานวิจัยชิ้นนี้ เป็นการคิดค้น และพัฒนาร่วมกันระหว่างศูนย์วิจัยพลังงานชีวมวล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และบริษัท เกษตรสิทธี จำกัด โดยใช้พื้นที่จังหวัดกระบี่ ซึ่งเป็นแหล่งผลิตน้ำมันปาล์มมากที่สุดในประเทศ และมีปริมาณผลผลิตปาล์มน้ำมันมากเพียงพอ
สำหรับระบบสกัดน้ำมันปาล์มแบบเดิม เป็นแบบใช้ระบบไอน้ำ ซึ่งพบว่า หลังกระบวนการสกัดน้ำมันปาล์ม จะเกิดปัญหาน้ำเสียตามมา ส่งผลกระทบต่อชุมชน และสิ่งแวดล้อม เครื่องสกัดน้ำมันปาล์ม Dry Process ไม่ก่อให้เกิดน้ำเสียจากกระบวนการผลิต ซึ่งมีกำลังการผลิตเท่ากับ 2.5 ตัน/ชั่วโมง และขยายกำลังการผลิตได้ถึง 5 ตัน/ชั่วโมง มีเปอร์เซ็นต์น้ำมันปาล์มที่หีบได้มากกว่า 22 เปอร์เซ็นต์ ขึ้นไป ซึ่งมีศักยภาพสูงภาพกว่าระบบเดิม ผลิตได้เพียง 17 เปอร์เซ็นต์ โดยระบบนี้ สามารถรองรับผลผลิตจากสวนปาล์มน้ำมันได้ขนาด 3,000 ไร่ขึ้นไป และยังนำไปพัฒนาต่อยอดในกระบวนการผลิตไบโอดีเซลได้อีกด้วย.
นายแพทย์วรรณรัตน์ ชาญนุกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พร้อมคณะตรวจเยี่ยมโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มซาราฟ ไบโอแกส เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด อ.เขาพนม จ.กระบี่ ซึ่งเป็นโรงงานที่ใช้พลังงานชีวภาพในการผลิตพลังงาน โดยได้เงินสนับสนุนโครงการจากกองทุนส่งเสริมอนุรักษ์พลังงาน เป็นเงินงบประมาณ 8.8 ล้านบาท และเดินทางไปยัง บริษัท เกษตรสิทธี อ.ปลายพระยา ชมเครื่องสกัดน้ำมันปาล์มระบบ Dry Process เป็นระบบที่มีขนาดเล็ก ใช้พื้นที่น้อย ใช้งบลงทุนต่ำ และใช้ระบบ Gasifier จากเชื้อเพลิงแท่งตะเกียบ ที่ทำจากเศษเหลือทะลายปาล์ม กะลาปาล์ม เป็นแหล่งกำเนิดพลังงาน
นายแพทย์วรรณรัตน์ ชาญนุกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า การพัฒนารูปแบบการผลิตพลังงานแห้งหีบรวม Dry Process เป็นการพัฒนาของเครื่องสกัดน้ำมันปาล์มจากแบบเดิม ซึ่งเป็นการพัฒนาเทคโนโลยีเครื่องสกัดน้ำมันปาล์มเครื่องแรกของประเทศไทย
โดยผลงานวิจัยชิ้นนี้ เป็นการคิดค้น และพัฒนาร่วมกันระหว่างศูนย์วิจัยพลังงานชีวมวล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และบริษัท เกษตรสิทธี จำกัด โดยใช้พื้นที่จังหวัดกระบี่ ซึ่งเป็นแหล่งผลิตน้ำมันปาล์มมากที่สุดในประเทศ และมีปริมาณผลผลิตปาล์มน้ำมันมากเพียงพอ
สำหรับระบบสกัดน้ำมันปาล์มแบบเดิม เป็นแบบใช้ระบบไอน้ำ ซึ่งพบว่า หลังกระบวนการสกัดน้ำมันปาล์ม จะเกิดปัญหาน้ำเสียตามมา ส่งผลกระทบต่อชุมชน และสิ่งแวดล้อม เครื่องสกัดน้ำมันปาล์ม Dry Process ไม่ก่อให้เกิดน้ำเสียจากกระบวนการผลิต ซึ่งมีกำลังการผลิตเท่ากับ 2.5 ตัน/ชั่วโมง และขยายกำลังการผลิตได้ถึง 5 ตัน/ชั่วโมง มีเปอร์เซ็นต์น้ำมันปาล์มที่หีบได้มากกว่า 22 เปอร์เซ็นต์ ขึ้นไป ซึ่งมีศักยภาพสูงภาพกว่าระบบเดิม ผลิตได้เพียง 17 เปอร์เซ็นต์ โดยระบบนี้ สามารถรองรับผลผลิตจากสวนปาล์มน้ำมันได้ขนาด 3,000 ไร่ขึ้นไป และยังนำไปพัฒนาต่อยอดในกระบวนการผลิตไบโอดีเซลได้อีกด้วย.