กระบี่-“กรรมการธนาคารเพื่อการเกษตร และสหกรณ์การเกษตร” เผยอนาคตปาล์มน้ำมันไทย สู้ AFTA ไม่ได้ ชี้กระทบราคาปาล์มไทยในอนาคตถึงแม้ว่าความต้องของตลาดจะเพิ่มขึ้นก็ตาม
ดร.วิโรจน์ อิ่มพิทักษ์ กรรมการธนาคารเพื่อการเกษตร และสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)กล่าวระหว่างการเสวนา “อนาคตปาล์มน้ำมันไทย ที่โรงแรมมารีไทม์ปาร์คแอนด์สปารีสอร์ท จังหวัดกระบี่ โดยมีผู้เข้าร่วมเสวนา ประกอบด้วย ตัวแทนชุมนุมสหกรณ์ชาวสาวปาล์มน้ำมัน กระทรวงพลังงาน ผู้แทนเกษตรกรจาก 15 จังหวัด ที่มีพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน พนักงาน ธกส.จำนวน 180 คน เข้าร่วม ว่า ปาล์มน้ำมัน เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของไทย ในช่วงปี 2548- 2553 ผลผลิตปาล์มน้ำมันของโลกเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 6.3 ต่อปี โดยเฉพาะประเทศอินโดนีเซีย เป็นผู้นำในการผลิต 19.5 ล้านตัน และมาเลเซีย 17.5 ล้านตัน โดยปริมาณผลรวมของทั้ง 2 ประเทศ คิดเป็นร้อยละ 86.9ของผลผลิตน้ำมันปาล์มโลก
สำหรับประเทศไทยผลิตได้ 1.2 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 2.8 ของผลผลิตรวมของโลก และในปี 2553 คาดว่า ผลผลิตปาล์มน้ำมันจะขายตัวเพิ่มขึ้น จาก 42.58 ล้านตัน เป็น 45.04 ล้านตัน ส่วนประเทศไทย เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.84 เนื่องจากการขยายพื้นที่ปลูกไปสู่พื้นที่ที่มีศักยภาพ เพื่อใช้ผลิตเป็นพลังงานทดแทน
ประกอบกับ ในปี 2552 ที่ผ่านมาราคาค่อนข้างสูงตลอดทั้งปี เฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 3.50-4.50 บาท ส่งผลให้เกษตรกรหมั่นดูแล และรักษาสวนปาล์มให้อยู่ในสภาพดี และอากาศที่เอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโต และให้ผลผลิตสูง ปาล์มน้ำมันจึงยังมีอนาคตสูงของไทยต่อไป
แต่ในช่วงต้นปี 2552 ได้เกิดสภาวะวิกฤตโลก ส่งผลให้ราคาปาล์มน้ำมันผันผวน ทำให้ราคาผลปาล์ม และน้ำมันปาล์มไทยได้มีการปรับตัวลดลงในทิศทางเดียวกับตลาดโลก ซึ่งราคาเฉลี่ยผลปาล์มสดที่เกษตรกรขายได้ ในปี 2552 กิโลกรัมละ 3.29 บาท เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อนที่กิโลกรัมละ 4.23 บาท พบว่า ลดลง ร้อยละ 22.2 และคาดว่าในปี 2553 ความต้องการของโลกจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากความต้องการอาหาร และพลังงาน โดยเฉพาะตรลาดประเทศจีน และประเทศอินเดีย ซึ่งมีจำนวนประชากรมาก และการขยายตัวทางเศรษฐกิจค่อนข้างดี
อย่างไรก็ตาม ภายใต้ข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซี่ยน (ASEAN Free Trade Area) หรือ AFTA ซึ่งเป็นข้อตกลงของกลุ่มทางการค้าเศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียน ภายใต้การลดอัตราภาษี เพื่อเป้าหมายที่นำไปสู่การค้าเสรีในที่สุด และปาล์มน้ำมันซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ คาดว่า จะได้รับผลกระทบจากข้อตกลงดังกล่าวด้วย
ดังนั้น เพื่อเตรียมความพร้อมต่อการบริหารจัดการผลผลิตที่กำลังจะออกสู่ตลาดในอนาคต ศูนย์วิจัย ธกส.จึงได้จัดเสวนาวิชาการ เรื่องอนาคตปาล์มน้ำมันไทย เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ตลอดจนการทบทวนบาทและกลไกการจัดการผลผลิตสินค้าปาล์มน้ำมัน เผยแพร่แนวทางการปรับตัวตลอดจนการแก้ไขปัญหา และอุปสรรคได้อย่างเหมาะสม
ดร.วิโรจน์ อิ่มพิทักษ์ กรรมการธนาคารเพื่อการเกษตร และสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)กล่าวระหว่างการเสวนา “อนาคตปาล์มน้ำมันไทย ที่โรงแรมมารีไทม์ปาร์คแอนด์สปารีสอร์ท จังหวัดกระบี่ โดยมีผู้เข้าร่วมเสวนา ประกอบด้วย ตัวแทนชุมนุมสหกรณ์ชาวสาวปาล์มน้ำมัน กระทรวงพลังงาน ผู้แทนเกษตรกรจาก 15 จังหวัด ที่มีพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน พนักงาน ธกส.จำนวน 180 คน เข้าร่วม ว่า ปาล์มน้ำมัน เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของไทย ในช่วงปี 2548- 2553 ผลผลิตปาล์มน้ำมันของโลกเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 6.3 ต่อปี โดยเฉพาะประเทศอินโดนีเซีย เป็นผู้นำในการผลิต 19.5 ล้านตัน และมาเลเซีย 17.5 ล้านตัน โดยปริมาณผลรวมของทั้ง 2 ประเทศ คิดเป็นร้อยละ 86.9ของผลผลิตน้ำมันปาล์มโลก
สำหรับประเทศไทยผลิตได้ 1.2 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 2.8 ของผลผลิตรวมของโลก และในปี 2553 คาดว่า ผลผลิตปาล์มน้ำมันจะขายตัวเพิ่มขึ้น จาก 42.58 ล้านตัน เป็น 45.04 ล้านตัน ส่วนประเทศไทย เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.84 เนื่องจากการขยายพื้นที่ปลูกไปสู่พื้นที่ที่มีศักยภาพ เพื่อใช้ผลิตเป็นพลังงานทดแทน
ประกอบกับ ในปี 2552 ที่ผ่านมาราคาค่อนข้างสูงตลอดทั้งปี เฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 3.50-4.50 บาท ส่งผลให้เกษตรกรหมั่นดูแล และรักษาสวนปาล์มให้อยู่ในสภาพดี และอากาศที่เอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโต และให้ผลผลิตสูง ปาล์มน้ำมันจึงยังมีอนาคตสูงของไทยต่อไป
แต่ในช่วงต้นปี 2552 ได้เกิดสภาวะวิกฤตโลก ส่งผลให้ราคาปาล์มน้ำมันผันผวน ทำให้ราคาผลปาล์ม และน้ำมันปาล์มไทยได้มีการปรับตัวลดลงในทิศทางเดียวกับตลาดโลก ซึ่งราคาเฉลี่ยผลปาล์มสดที่เกษตรกรขายได้ ในปี 2552 กิโลกรัมละ 3.29 บาท เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อนที่กิโลกรัมละ 4.23 บาท พบว่า ลดลง ร้อยละ 22.2 และคาดว่าในปี 2553 ความต้องการของโลกจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากความต้องการอาหาร และพลังงาน โดยเฉพาะตรลาดประเทศจีน และประเทศอินเดีย ซึ่งมีจำนวนประชากรมาก และการขยายตัวทางเศรษฐกิจค่อนข้างดี
อย่างไรก็ตาม ภายใต้ข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซี่ยน (ASEAN Free Trade Area) หรือ AFTA ซึ่งเป็นข้อตกลงของกลุ่มทางการค้าเศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียน ภายใต้การลดอัตราภาษี เพื่อเป้าหมายที่นำไปสู่การค้าเสรีในที่สุด และปาล์มน้ำมันซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ คาดว่า จะได้รับผลกระทบจากข้อตกลงดังกล่าวด้วย
ดังนั้น เพื่อเตรียมความพร้อมต่อการบริหารจัดการผลผลิตที่กำลังจะออกสู่ตลาดในอนาคต ศูนย์วิจัย ธกส.จึงได้จัดเสวนาวิชาการ เรื่องอนาคตปาล์มน้ำมันไทย เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ตลอดจนการทบทวนบาทและกลไกการจัดการผลผลิตสินค้าปาล์มน้ำมัน เผยแพร่แนวทางการปรับตัวตลอดจนการแก้ไขปัญหา และอุปสรรคได้อย่างเหมาะสม