กระบี่ - “ประธานชุมนุมสหกรณ์ชาวสวนปาล์มจังหวัดกระบี่” เชื่อหลังเปิดการค้าเสรีอาเซี่ยน (FTA) ต้นปีหน้า ชาวสวนปาล์มเจ็งแน่ ชี้มาเลเซีย ได้เปรียบ เหตุต้นทุนการผลิตถูกกว่าไทย วอนรัฐเร่งหามาตรการช่วยด่วน! ก่อนเกิดวิกฤต
นายวิศาล จันทร์ทิพย์ ผู้จัดการชุมนุมสหกรณ์ชาวสวนปาล์มน้ำมันจังหวัดกระบี่ กล่าวว่า ขณะนี้ชาวเกษตรกรสวนปาล์มน้ำมันจังหวัดกระบี่ โดยเฉพาะเกษตรกรรายย่อย ต้องประสบกับภาวะขาดทุนอย่างหนัก เนื่องจากราคาผลปาล์มดิบ ที่เกษตรกรขายได้อยู่ที่กิโลกรัมละ 2.90 บาท-3 บาท/กิโลกรัม (ราคาลานเท) เท่านั้น
ส่วนราคาหน้าโรงงานของชุมนุมสหกรณ์รับซื้อที่กิโลกรัมละ 3.20 บาท ซึ่งต่ำกว่าราคาต้นทุนการผลิต โดยสาเหตุหลักที่ทำให้ราคาผลปาล์มดิบมีราคาตกต่ำ เนื่องจากสต๊อกน้ำมันภายในประเทศมีมากเกินปริมาณความต้องการภายในประเทศ ขณะนี้พบว่าสต๊อกน้ำมันปาล์มภายในประเทศมีอยู่สูงถึง 1.8 แสนลิตร ส่วนความต้องการมีเพียง 1 แสนลิตร/เดือน เท่านั้น
นอกจากนี้ ราคาน้ำมันต่างประเทศได้ปรับลดอย่างต่อเนื่อง จึงฉุดให้ราคาผลปาล์มดิบของเกษตรกรตกต่ำลงมาด้วย ซึ่งไม่เฉพาะแต่ปาล์มน้ำมัน ราคาของถั่วเหลืองก็ได้ปรับลดลงเช่นเดียวกัน ซึ่งเป็นไปตามภาวะของตลาดน้ำมันโลก และเชื่อว่า เมื่อความต้องการเพิ่มขึ้นราคาพืชผลเกษตรทั้งปาล์มน้ำมันและถั่วเหลือง ก็จะปรับราคาสูงขึ้นมาอีกครั้ง แต่ก็คงจะไม่สูงมากนัก”
“สำหรับราคาผลปาล์มตกต่ำไม่ใช่เป็นเพราะผลผลิต ล้นตลาด เพราะช่วงนี้เป็นช่วงที่ผลปาล์มออกสู่ตลาดน้อย เป็นช่วงที่ปาล์มน้ำมันขาดตลาดก็ว่าได้ ซึ่งทุกปีราคาจะขยับขึ้นและเคลื่อนไหวไม่ต่ำกว่า 3-4 บาท แต่ปีนี้ราคาไม่ดี
ซึ่งเป็นไปตามกลไกน้ำมันของตลาดโลก โดยความต้องการของโรงงานชุมนุมสหกรณ์ ต้องการนำผลปาล์มดิบมาสกัดน้ำมัน วันละประมาณ 800 ตัน ก็หาไม่ได้ จึงยืนยันว่า ราคาปาล์มตกต่ำไม่ใช่เป็นเพราะผลผลิตล้นตลาดอย่างแน่นอน”
นายวิศาล กล่าวด้วยว่า ต้นปี 2553 ทางรัฐบาลก็จะเปิดเขตการค้าเสรีอาเซียน ซึ่งจะมีผลกับราคาปาล์มน้ำมันภายในประเทศอย่างแน่นอน เนื่องจากเมื่อเปรียบเทียบต้นทุนการผลิต และผลผลิตที่ออกสู่ตลาด/ไร่ ระหว่างไทยกับมาเลเซีย มีความแตกต่างกันมาก โดยประเทศมาเลเซียมีผลผลิตออกสู่ตลาด/ไร่/ปี ประมาณ 4-6 ตัน
ส่วนของไทยมีผลผลิตออกสู่ตลาด/ไร่/ปี ประมาณ 2 ตันเท่านั้น ซึ่งมีความแตกต่างกันมาก และที่สำคัญประเทศมาเลเซีย กลุ่มผู้ปลูกปาล์มน้ำมันเป็นเกษตรกรรายใหญ่ ส่วนประเทศไทย เป็นเกษตรกรรายย่อยกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ ต้องเสียเปรียบมาเลเซียแน่นอน
“ส่วนทางออกที่จะแก้ปัญหาให้กับเกษตรกรหลังเปิดเขตการค้าเสรี ทางรัฐบาลจะต้องเข้ามาช่วยเกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมันเร่งด่วน ให้สามารถลดต้นทุนการผลิตให้ได้ โดยอาจจะเข้ามาช่วยในเรื่องปุ๋ยให้มีราคาถูกลงกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
จากกระสอบละ 1 พันกว่าบาท ให้เหลือไม่เกิน 800 บาท แต่ขอย้ำว่าจะต้องไม่ใช่ปุ๋ยปลอม โดยอาจจะใช้เงินทุนจากโครงการไทยเข้มแข็งเข้ามาช่วย เพราะไม่อย่างนั้นแล้วตนเชื่อว่าเกษตรกรชาวสวนปาล์มรายย่อยต้องเจ็งแน่นอน ไม่เกิน 3 ปี หลังเปิดเขตการค้าเสรี”
นายวิศาล จันทร์ทิพย์ ผู้จัดการชุมนุมสหกรณ์ชาวสวนปาล์มน้ำมันจังหวัดกระบี่ กล่าวว่า ขณะนี้ชาวเกษตรกรสวนปาล์มน้ำมันจังหวัดกระบี่ โดยเฉพาะเกษตรกรรายย่อย ต้องประสบกับภาวะขาดทุนอย่างหนัก เนื่องจากราคาผลปาล์มดิบ ที่เกษตรกรขายได้อยู่ที่กิโลกรัมละ 2.90 บาท-3 บาท/กิโลกรัม (ราคาลานเท) เท่านั้น
ส่วนราคาหน้าโรงงานของชุมนุมสหกรณ์รับซื้อที่กิโลกรัมละ 3.20 บาท ซึ่งต่ำกว่าราคาต้นทุนการผลิต โดยสาเหตุหลักที่ทำให้ราคาผลปาล์มดิบมีราคาตกต่ำ เนื่องจากสต๊อกน้ำมันภายในประเทศมีมากเกินปริมาณความต้องการภายในประเทศ ขณะนี้พบว่าสต๊อกน้ำมันปาล์มภายในประเทศมีอยู่สูงถึง 1.8 แสนลิตร ส่วนความต้องการมีเพียง 1 แสนลิตร/เดือน เท่านั้น
นอกจากนี้ ราคาน้ำมันต่างประเทศได้ปรับลดอย่างต่อเนื่อง จึงฉุดให้ราคาผลปาล์มดิบของเกษตรกรตกต่ำลงมาด้วย ซึ่งไม่เฉพาะแต่ปาล์มน้ำมัน ราคาของถั่วเหลืองก็ได้ปรับลดลงเช่นเดียวกัน ซึ่งเป็นไปตามภาวะของตลาดน้ำมันโลก และเชื่อว่า เมื่อความต้องการเพิ่มขึ้นราคาพืชผลเกษตรทั้งปาล์มน้ำมันและถั่วเหลือง ก็จะปรับราคาสูงขึ้นมาอีกครั้ง แต่ก็คงจะไม่สูงมากนัก”
“สำหรับราคาผลปาล์มตกต่ำไม่ใช่เป็นเพราะผลผลิต ล้นตลาด เพราะช่วงนี้เป็นช่วงที่ผลปาล์มออกสู่ตลาดน้อย เป็นช่วงที่ปาล์มน้ำมันขาดตลาดก็ว่าได้ ซึ่งทุกปีราคาจะขยับขึ้นและเคลื่อนไหวไม่ต่ำกว่า 3-4 บาท แต่ปีนี้ราคาไม่ดี
ซึ่งเป็นไปตามกลไกน้ำมันของตลาดโลก โดยความต้องการของโรงงานชุมนุมสหกรณ์ ต้องการนำผลปาล์มดิบมาสกัดน้ำมัน วันละประมาณ 800 ตัน ก็หาไม่ได้ จึงยืนยันว่า ราคาปาล์มตกต่ำไม่ใช่เป็นเพราะผลผลิตล้นตลาดอย่างแน่นอน”
นายวิศาล กล่าวด้วยว่า ต้นปี 2553 ทางรัฐบาลก็จะเปิดเขตการค้าเสรีอาเซียน ซึ่งจะมีผลกับราคาปาล์มน้ำมันภายในประเทศอย่างแน่นอน เนื่องจากเมื่อเปรียบเทียบต้นทุนการผลิต และผลผลิตที่ออกสู่ตลาด/ไร่ ระหว่างไทยกับมาเลเซีย มีความแตกต่างกันมาก โดยประเทศมาเลเซียมีผลผลิตออกสู่ตลาด/ไร่/ปี ประมาณ 4-6 ตัน
ส่วนของไทยมีผลผลิตออกสู่ตลาด/ไร่/ปี ประมาณ 2 ตันเท่านั้น ซึ่งมีความแตกต่างกันมาก และที่สำคัญประเทศมาเลเซีย กลุ่มผู้ปลูกปาล์มน้ำมันเป็นเกษตรกรรายใหญ่ ส่วนประเทศไทย เป็นเกษตรกรรายย่อยกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ ต้องเสียเปรียบมาเลเซียแน่นอน
“ส่วนทางออกที่จะแก้ปัญหาให้กับเกษตรกรหลังเปิดเขตการค้าเสรี ทางรัฐบาลจะต้องเข้ามาช่วยเกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมันเร่งด่วน ให้สามารถลดต้นทุนการผลิตให้ได้ โดยอาจจะเข้ามาช่วยในเรื่องปุ๋ยให้มีราคาถูกลงกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
จากกระสอบละ 1 พันกว่าบาท ให้เหลือไม่เกิน 800 บาท แต่ขอย้ำว่าจะต้องไม่ใช่ปุ๋ยปลอม โดยอาจจะใช้เงินทุนจากโครงการไทยเข้มแข็งเข้ามาช่วย เพราะไม่อย่างนั้นแล้วตนเชื่อว่าเกษตรกรชาวสวนปาล์มรายย่อยต้องเจ็งแน่นอน ไม่เกิน 3 ปี หลังเปิดเขตการค้าเสรี”