สุราษฎร์ธานี - มรส.ชวนชมปรากฏการณ์ฝนดาวตกลีโอนิดส์ หรือกลุ่มดาวสิงโต 17-18 พ.ย.นี้ ที่ศูนย์วิทยาศาสตร์ พร้อมกิจกรรมเสริมความรู้ด้านดาราศาสตร์อีกเพียบ อาทิ แนะนำการใช้แผนที่ดาวเพื่อดูดาวฤกษ์และดาวเคราะห์ต่างๆ การหาทิศเหนือโดยใช้ดาวบนท้องฟ้า การดูดาวผ่านกล้องโทรทรรศน์ทั้งชนิดสะท้อนแสงและหักเหแสง
รศ.ดร.ธงชัย เครือหงษ์ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (มรส.) เปิดเผยว่า ขอเชิญชวนประชาชนทั่วไปเข้าร่วมกิจกรรมชมปรากฏการณ์ฝนดาวตกลีโอนิดส์ หรือกลุ่มดาวสิงโต ระหว่างวันที่ 17-18 พฤศจิกายน 2552 ที่ศูนย์วิทยาศาสตร์ มรส. โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ กิจกรรมจะเริ่มตั้งแต่เวลา 19.00 น.ของวันที่ 17 พฤศจิกายน ไปจนถึงเวลา 06.00 น.ของวันที่ 18 พฤศจิกายน 2552
ทั้งนี้ นอกจากการชมปรากฏการณ์ฝนดาวตกแล้ว ยังมีกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับดาราศาสตร์ร่วมด้วย เช่น แนะนำการใช้แผนที่ดาวเพื่อดูดาวฤกษ์และดาวเคราะห์ต่างๆ การหาทิศเหนือโดยใช้ดาวบนท้องฟ้า การดูดาวผ่านกล้องโทรทรรศน์ทั้งชนิดสะท้อนแสงและหักเหแสง เป็นต้น
ผู้ที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมควรเตรียมอุปกรณ์ต่างๆ มาด้วย เช่น เสื่อ ผ้าห่ม ถุงมือ เสื้อกันหนาว
สำหรับฝนดาวตกลีโอนิดส์ เกิดจากเศษซากหลงเหลือของดาวหาง 55 พีเทมเพล-ทัตเทิล มีวงโคจรรอบดวงอาทิตย์1รอบใช้เวลา 33.2 ปี โดยดาวหางดวงนี้จะโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด ทำให้เกิดฝนดาวตกมากเป็นพิเศษ เรียกว่า “พายุฝนดาวตก” (Meteor Storm) โดยในปีนี้ คนไทยทุกพื้นที่จะมีโอกาสชมฝนดาวตกประมาณ 130-200 ดวงต่อชั่วโมง ตั้งแต่ช่วงเที่ยงคืนของวันที่ 17 พฤศจิกายน ต่อเนื่องไปจนถึงเวลาเกือบตี 5 ของเช้ามืดของวันที่ 18 พฤศจิกายน
ขณะที่วิธีดูฝนดาวตกที่ดีที่สุดคือ การดูด้วยตาเปล่า เลือกบริเวณที่ไม่มีแสงไฟรบกวน หรือห่างจากเมืองใหญ่ไม่น้อยกว่า 100 กิโลเมตร หันหน้าไปทางดาวเหนือ ส่วนการถ่ายภาพควรตั้งความไวแสง ISO 400-800 ถ้าใช้กล้องสองตาควรมีหน้าเลนส์ไม่ต่ำกว่า 50 มิลลิเมตร และกำลังขยาย 7 เท่าขึ้นไป
รศ.ดร.ธงชัย เครือหงษ์ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (มรส.) เปิดเผยว่า ขอเชิญชวนประชาชนทั่วไปเข้าร่วมกิจกรรมชมปรากฏการณ์ฝนดาวตกลีโอนิดส์ หรือกลุ่มดาวสิงโต ระหว่างวันที่ 17-18 พฤศจิกายน 2552 ที่ศูนย์วิทยาศาสตร์ มรส. โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ กิจกรรมจะเริ่มตั้งแต่เวลา 19.00 น.ของวันที่ 17 พฤศจิกายน ไปจนถึงเวลา 06.00 น.ของวันที่ 18 พฤศจิกายน 2552
ทั้งนี้ นอกจากการชมปรากฏการณ์ฝนดาวตกแล้ว ยังมีกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับดาราศาสตร์ร่วมด้วย เช่น แนะนำการใช้แผนที่ดาวเพื่อดูดาวฤกษ์และดาวเคราะห์ต่างๆ การหาทิศเหนือโดยใช้ดาวบนท้องฟ้า การดูดาวผ่านกล้องโทรทรรศน์ทั้งชนิดสะท้อนแสงและหักเหแสง เป็นต้น
ผู้ที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมควรเตรียมอุปกรณ์ต่างๆ มาด้วย เช่น เสื่อ ผ้าห่ม ถุงมือ เสื้อกันหนาว
สำหรับฝนดาวตกลีโอนิดส์ เกิดจากเศษซากหลงเหลือของดาวหาง 55 พีเทมเพล-ทัตเทิล มีวงโคจรรอบดวงอาทิตย์1รอบใช้เวลา 33.2 ปี โดยดาวหางดวงนี้จะโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด ทำให้เกิดฝนดาวตกมากเป็นพิเศษ เรียกว่า “พายุฝนดาวตก” (Meteor Storm) โดยในปีนี้ คนไทยทุกพื้นที่จะมีโอกาสชมฝนดาวตกประมาณ 130-200 ดวงต่อชั่วโมง ตั้งแต่ช่วงเที่ยงคืนของวันที่ 17 พฤศจิกายน ต่อเนื่องไปจนถึงเวลาเกือบตี 5 ของเช้ามืดของวันที่ 18 พฤศจิกายน
ขณะที่วิธีดูฝนดาวตกที่ดีที่สุดคือ การดูด้วยตาเปล่า เลือกบริเวณที่ไม่มีแสงไฟรบกวน หรือห่างจากเมืองใหญ่ไม่น้อยกว่า 100 กิโลเมตร หันหน้าไปทางดาวเหนือ ส่วนการถ่ายภาพควรตั้งความไวแสง ISO 400-800 ถ้าใช้กล้องสองตาควรมีหน้าเลนส์ไม่ต่ำกว่า 50 มิลลิเมตร และกำลังขยาย 7 เท่าขึ้นไป