พัทลุง – ประชาชนในจังหวัดพัทลุง และสงขลา ร่วมจัดตั้ง ธนาคารกุ้งก้ามกรามทะเลสาบสงขลา เพื่อให้เกิดความยั่งยืนของกุ้ง พร้อมเป็นการอนุรักษ์ และการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า หลังกุ้งก้ามกรามในทะเลสาบสงขลามีจำนวนลดลง
วันนี้ (18 ก.ย.) นายยงยุทธ ปรีดาลัมพะบุตร นักวิชาการ 8 สถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง เปิดเผยว่า ชาวประมงในพื้นที่บริเวณทะเลสาบสงขลา ได้เริ่มให้ความสนใจในการถดถอยลงของกุ้งก้ามกราม ที่เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจตัวเด่นบริเวณทะเลสาบสงขลา ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความยั่งยืนของกุ้ง จึงได้มีแนวคิดในการจัดตั้งธนาคารกุ้งก้ามกรามขึ้น ของชุมชน ทั้งนี้เพื่อเป็นการอนุรักษ์ และการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
“สถาบันจึงได้ร่วมหารือกับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น พื้นที่บริเวณทะเลสาบสงขลา เพื่อจัดทำของบประมาณ และโครงการธนาคารกุ้ง วัตถุประสงค์ของธนาคาร เพื่อผลิตพันธ์กุ้งปล่อยลงสู่ทะเลสาบสงขลา โดยมีการจัดสร้างโรงเพาะพันธ์ และอุปกรณ์ ส่วนองค์การบริหารส่วนตำบล จะเป็นผู้จัดหาสถานที่ก่อสร้าง งบประมาณในการบริหารจัดการ โดยใช้งบประมาณ 9 ล้านบาท” นายยงยุทธ กล่าว
ขณะนี้เบื้องต้น มีผู้ร่วมงานโครงการธนาคารกุ้ง มี อบต.คลองรี อบต.คูขุด อบต.ท่าหิน อ.สทิงพระ จ.สงขลา และ อบต.เกาะนางคำ อบต.เกาะหมาก อ.ปากพะยูน จ.พัทลุง พร้อมกับ 15 ชุมชน โดยในปี 2552 สถาบันได้ปล่อยกุ้งไปแล้ว จำนวน 60 ล้านตัว ซึ่งในบางวัน ชาวบ้านสามารถจับกุ้งได้วันละ 100-500 กก.ราคากุ้งก้ามกราม ในขณะนี้มีทั้งขนาดเล็กขนาดใหญ่ ตั้งแต่ ราคา 100-350 บาท/กก.โดยในปี 2552 สามารถจับได้มากว่าปีที่ผ่านมา
วันนี้ (18 ก.ย.) นายยงยุทธ ปรีดาลัมพะบุตร นักวิชาการ 8 สถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง เปิดเผยว่า ชาวประมงในพื้นที่บริเวณทะเลสาบสงขลา ได้เริ่มให้ความสนใจในการถดถอยลงของกุ้งก้ามกราม ที่เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจตัวเด่นบริเวณทะเลสาบสงขลา ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความยั่งยืนของกุ้ง จึงได้มีแนวคิดในการจัดตั้งธนาคารกุ้งก้ามกรามขึ้น ของชุมชน ทั้งนี้เพื่อเป็นการอนุรักษ์ และการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
“สถาบันจึงได้ร่วมหารือกับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น พื้นที่บริเวณทะเลสาบสงขลา เพื่อจัดทำของบประมาณ และโครงการธนาคารกุ้ง วัตถุประสงค์ของธนาคาร เพื่อผลิตพันธ์กุ้งปล่อยลงสู่ทะเลสาบสงขลา โดยมีการจัดสร้างโรงเพาะพันธ์ และอุปกรณ์ ส่วนองค์การบริหารส่วนตำบล จะเป็นผู้จัดหาสถานที่ก่อสร้าง งบประมาณในการบริหารจัดการ โดยใช้งบประมาณ 9 ล้านบาท” นายยงยุทธ กล่าว
ขณะนี้เบื้องต้น มีผู้ร่วมงานโครงการธนาคารกุ้ง มี อบต.คลองรี อบต.คูขุด อบต.ท่าหิน อ.สทิงพระ จ.สงขลา และ อบต.เกาะนางคำ อบต.เกาะหมาก อ.ปากพะยูน จ.พัทลุง พร้อมกับ 15 ชุมชน โดยในปี 2552 สถาบันได้ปล่อยกุ้งไปแล้ว จำนวน 60 ล้านตัว ซึ่งในบางวัน ชาวบ้านสามารถจับกุ้งได้วันละ 100-500 กก.ราคากุ้งก้ามกราม ในขณะนี้มีทั้งขนาดเล็กขนาดใหญ่ ตั้งแต่ ราคา 100-350 บาท/กก.โดยในปี 2552 สามารถจับได้มากว่าปีที่ผ่านมา