ชุมพร - ชาวประมงกว่า 300 คน รวมตัวประท้วงเรียกร้องสิทธิ์ค่าชดเชย พร้อมนำเรือกว่า 200 ลำ จอดประท้วง ปตท.สผ.หลังปิดน่านน้ำสำรวจน้ำมันห่างฝั่งเพียง 18 กิโลเมตร ทำให้เดือดร้อน ไม่สามารถประกอบอาชีพได้
วันนี้ (28 ส.ค.) ที่บริเวณริมทะเลหน้าอ่าวปากน้ำชุมพร ต.ปากน้ำ อ.เมือง จ.ชุมพร ได้มี นายพิจิตร แซ่ลี้ นายองอาจ สำราญรัตน์ นายประสิทธิ์ ลิ้มโอชากุล นายคมสันต์ เอกฉาย นายยงยุทธ เชยอุบล นายตุ๊ โพธิ์นิล นายโสภณ รักสวัสดิ์ นายโกมินทร์ เภาทอง นายพรหมศักดิ์ ตันรัตนาวงษ์ นายสัญญา เพิ่มพูน ตัวแทนชาวประมงเรืออวนครอบ เรือไดร์ เรืออวนลาก เรืออวนลอย เรืออวนล้อม และเรือประมงพื้นบ้าน พร้อมผู้ประกอบอาชีพเรือประมง กว่า 300 คน โดยชาวประมงทั้งหมดได้นำเรือมาจอดทอดสมออยู่หน้าอ่าวดังกล่าวกว่า 200 ลำด้วย
ทั้งนี้ เพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมกรณีที่ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด หรือ ปตท.สผ.ได้ว่าจ้าง บริษัท อีอาร์เอ็ม-สยาม จำกัด ของประเทศสิงคโปร์ เข้ามาสำรวจแหล่งน้ำมันดิบบริเวณอ่าวไทยพื้นที่ อ.ปะทิว อ.เมือง อ.ทุ่งตะโก อ.สวี อ.หลังสวน และ อ.ละแม ซึ่งแต่ละจุดอยู่ห่างจากฝั่งตั้งแต่ 18-36 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 1307 ตารางกิโลเมตร โดยการสำรวจเริ่มมาตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม 2552 ไปจนถึงวันที่ 4 ตุลาคม 2552
บรรดาแกนนำและผู้ประกอบอาชีพเรือประมงได้สลับกับกล่าวโจมตี บริษัท ปตท.สผ.ที่เข้ามาสำรวจแหล่งน้ำมัน ในพื้นที่ดังกล่าว ซึ่งถือว่าอยู่ใกล้ฝั่งที่สุดเท่าที่เคยมีการสำรวจมา และที่ผ่านมามีการปิดบังข้อมูลการประชุมทำประชาพิจารณ์ จ่ายเงินชดเชยเฉพาะกลุ่มนายทุนและผู้กว้างขวางในพื้นที่
ส่วนชาวประมงขนาดกลาง ขนาดเล็ก ประมงพื้นที่บ้าน กลับไม่ได้รับความสนใจ อีกทั้งปิดบังข้อมูล ไม่ให้ชาวประมงและประชาชนรับทราบอย่างทั่วถึง ทำให้ได้รับความเดือดร้อนไม่สามารถเข้าไปจับปลาในพื้นที่สัมปทานสำรวจแหล่งน้ำมันได้ นอกจากนั้น เมื่อแล่นเรือผ่านเข้าไปยังถูกเรือคุ้มกันขับไล่ออกจากพื้นที่ดังกล่าวด้วย จนได้รับความเดือดร้อนอย่างมาก
นายพิจิตร แซ่ลี้ ตัวแทนชาวประมง กล่าวว่า ชาวประมงส่วนใหญ่เป็นหนี้สินมีค่าใช้จ่ายสูง เมื่อถูกห้ามเข้าไปจับปลาในบริเวณดังกล่าว ทำให้ต้องแล่นเรือออกไปไกล 30-40 ไมล์ทะเล หรือต้องออกไปจับปลาในพื้นที่จังหวัดใกล้เคียง ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มสูงขึ้นอีกหลายเท่าตัว ทำให้ชาวประมงในพื้นที่ทั้งหมดที่มารวมตัวต้องเสียโอกาสทำกิน ได้รับความเดือดร้อน เป็นหนี้สินเพิ่มมากขึ้น แต่ไม่ได้รับค่าชดเชยจาก บริษัท ปตท.สผ.
อีกทั้งการสำรวจหาแหล่งน้ำมันดังกล่าว อาจส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศทางทะเล ซึ่งถือว่าน่านน้ำอ่าวไทยบริเวณพื้นที่ จ.ชุมพร เป็นแหล่งวางไข่ของสัตว์น้ำที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย โดยเฉพาะปลาทู
ต่อมา นายไพบูลย์ ปัญจะ ปลัดจังหวัดชุมพร และ นายเงา พุฒนกุล ฝ่ายประสานงาน บริษัท ปตท.สผ.พร้อมหน่วยงานเกี่ยวข้อง เดินทางมารับหนังสือข้อเรียกร้องจากกลุ่มชาวประมง ที่ให้สำรวจและจ่ายเงินชดเชยค่าเสียโอกาสทำกิน รวมทั้งค่าชดเชยสิทธิอื่นๆ ที่ได้รับผลกระทบจากการสำรวจแหล่งน้ำมันดังกล่าว อย่างทั่วถึงเป็นธรรม
หลังยื่นหนังสือข้อเรียกร้อง กลุ่มแกนนำชาวประมงได้กำหนดเส้นตายให้ผู้บริหาร บริษัท ปตท.สผ.ต้องเดินทางมาให้ความชัดเจนต่อข้อเรียกร้องดังกล่าวในวันที่ 2 กันยายนนี้ หากไม่ได้รับความสนใจเรือประมงที่ได้รับผลกระทบทั้งหมดเกือบ 1,000 ลำ จะแล่นเรือบุกเข้าไปยึดพื้นที่กำกินกลับคืนมาจาก บริษัท ปตท.สผ.ทันที จากนั้นกลุ่มชาวประมงได้แยกย้ายกันกลับ และจะมารวมตัวกันรอคำตอบอีกครั้งตามที่ครบกำหนดเวลายื่นเส้นตายไว้
วันนี้ (28 ส.ค.) ที่บริเวณริมทะเลหน้าอ่าวปากน้ำชุมพร ต.ปากน้ำ อ.เมือง จ.ชุมพร ได้มี นายพิจิตร แซ่ลี้ นายองอาจ สำราญรัตน์ นายประสิทธิ์ ลิ้มโอชากุล นายคมสันต์ เอกฉาย นายยงยุทธ เชยอุบล นายตุ๊ โพธิ์นิล นายโสภณ รักสวัสดิ์ นายโกมินทร์ เภาทอง นายพรหมศักดิ์ ตันรัตนาวงษ์ นายสัญญา เพิ่มพูน ตัวแทนชาวประมงเรืออวนครอบ เรือไดร์ เรืออวนลาก เรืออวนลอย เรืออวนล้อม และเรือประมงพื้นบ้าน พร้อมผู้ประกอบอาชีพเรือประมง กว่า 300 คน โดยชาวประมงทั้งหมดได้นำเรือมาจอดทอดสมออยู่หน้าอ่าวดังกล่าวกว่า 200 ลำด้วย
ทั้งนี้ เพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมกรณีที่ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด หรือ ปตท.สผ.ได้ว่าจ้าง บริษัท อีอาร์เอ็ม-สยาม จำกัด ของประเทศสิงคโปร์ เข้ามาสำรวจแหล่งน้ำมันดิบบริเวณอ่าวไทยพื้นที่ อ.ปะทิว อ.เมือง อ.ทุ่งตะโก อ.สวี อ.หลังสวน และ อ.ละแม ซึ่งแต่ละจุดอยู่ห่างจากฝั่งตั้งแต่ 18-36 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 1307 ตารางกิโลเมตร โดยการสำรวจเริ่มมาตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม 2552 ไปจนถึงวันที่ 4 ตุลาคม 2552
บรรดาแกนนำและผู้ประกอบอาชีพเรือประมงได้สลับกับกล่าวโจมตี บริษัท ปตท.สผ.ที่เข้ามาสำรวจแหล่งน้ำมัน ในพื้นที่ดังกล่าว ซึ่งถือว่าอยู่ใกล้ฝั่งที่สุดเท่าที่เคยมีการสำรวจมา และที่ผ่านมามีการปิดบังข้อมูลการประชุมทำประชาพิจารณ์ จ่ายเงินชดเชยเฉพาะกลุ่มนายทุนและผู้กว้างขวางในพื้นที่
ส่วนชาวประมงขนาดกลาง ขนาดเล็ก ประมงพื้นที่บ้าน กลับไม่ได้รับความสนใจ อีกทั้งปิดบังข้อมูล ไม่ให้ชาวประมงและประชาชนรับทราบอย่างทั่วถึง ทำให้ได้รับความเดือดร้อนไม่สามารถเข้าไปจับปลาในพื้นที่สัมปทานสำรวจแหล่งน้ำมันได้ นอกจากนั้น เมื่อแล่นเรือผ่านเข้าไปยังถูกเรือคุ้มกันขับไล่ออกจากพื้นที่ดังกล่าวด้วย จนได้รับความเดือดร้อนอย่างมาก
นายพิจิตร แซ่ลี้ ตัวแทนชาวประมง กล่าวว่า ชาวประมงส่วนใหญ่เป็นหนี้สินมีค่าใช้จ่ายสูง เมื่อถูกห้ามเข้าไปจับปลาในบริเวณดังกล่าว ทำให้ต้องแล่นเรือออกไปไกล 30-40 ไมล์ทะเล หรือต้องออกไปจับปลาในพื้นที่จังหวัดใกล้เคียง ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มสูงขึ้นอีกหลายเท่าตัว ทำให้ชาวประมงในพื้นที่ทั้งหมดที่มารวมตัวต้องเสียโอกาสทำกิน ได้รับความเดือดร้อน เป็นหนี้สินเพิ่มมากขึ้น แต่ไม่ได้รับค่าชดเชยจาก บริษัท ปตท.สผ.
อีกทั้งการสำรวจหาแหล่งน้ำมันดังกล่าว อาจส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศทางทะเล ซึ่งถือว่าน่านน้ำอ่าวไทยบริเวณพื้นที่ จ.ชุมพร เป็นแหล่งวางไข่ของสัตว์น้ำที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย โดยเฉพาะปลาทู
ต่อมา นายไพบูลย์ ปัญจะ ปลัดจังหวัดชุมพร และ นายเงา พุฒนกุล ฝ่ายประสานงาน บริษัท ปตท.สผ.พร้อมหน่วยงานเกี่ยวข้อง เดินทางมารับหนังสือข้อเรียกร้องจากกลุ่มชาวประมง ที่ให้สำรวจและจ่ายเงินชดเชยค่าเสียโอกาสทำกิน รวมทั้งค่าชดเชยสิทธิอื่นๆ ที่ได้รับผลกระทบจากการสำรวจแหล่งน้ำมันดังกล่าว อย่างทั่วถึงเป็นธรรม
หลังยื่นหนังสือข้อเรียกร้อง กลุ่มแกนนำชาวประมงได้กำหนดเส้นตายให้ผู้บริหาร บริษัท ปตท.สผ.ต้องเดินทางมาให้ความชัดเจนต่อข้อเรียกร้องดังกล่าวในวันที่ 2 กันยายนนี้ หากไม่ได้รับความสนใจเรือประมงที่ได้รับผลกระทบทั้งหมดเกือบ 1,000 ลำ จะแล่นเรือบุกเข้าไปยึดพื้นที่กำกินกลับคืนมาจาก บริษัท ปตท.สผ.ทันที จากนั้นกลุ่มชาวประมงได้แยกย้ายกันกลับ และจะมารวมตัวกันรอคำตอบอีกครั้งตามที่ครบกำหนดเวลายื่นเส้นตายไว้