ศูนย์ข่าวภูเก็ต -WHO หนุนจัดประชุมเชิงปฏิบัติการแก้ไขปัญหาโรคชิคุนกุนยาระบาด เชิญผู้เชี่ยวชาญจากหลายประเทศเข้าร่วมให้ความรู้เรื่องของโรคระบาด ระบุ พบการแพร่ระบาดของชิคุนกุนยาแล้ว 51 จังหวัด ป่วยสูงสุดนราธิวาส รองลงมา คือ จังหวัดภูเก็ต
วันนี้ (26 ส.ค.) ที่โรงแรมภูเก็ตแกรซแลนด์ รีสอร์ท แอนสปา จังหวัดภูเก็ต นายแพทย์ประพนธ์ ตั้งศรีเกียรติกุล รองอธิบดีกรมควบคุมโรค เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ Technical consultationg on Re-emergence of Chikungunya Fever ซึ่งกรมควบคุมโรค โดยสำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง ร่วมกับองค์การอนามัยโลก (SEARO/WHO) จัดขึ้น ระหว่างวันที่ 26-28 ส.ค.2552 โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคการวิจัย การตรวจรักษา การควบคุมโรค ทั้งของไทยและขององค์การอนามัยโลก และผู้เชี่ยวชาญจากประเทศ อินเดีย ศรีลังกา สิงคโปร์ เข้าร่วม
นายแพทย์ ประพนธ์ กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีการแพร่ระบาดของโรคชิคุนกุนยาอย่างกว้างขวางตั้งแต่ปี 2551 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน การแพร่ระบาดของโรคดังกล่าวยังมีอยู่ โดยชนิดเชื่อโรคที่แพร่ระบาดเป็นสายพันธุ์ East Central Alrican จนกลายพันธุ์สามารถก่อความรุนแรงได้มากกว่าสายพันธุ์ Asis ที่เคยเกิดขึ้นในอดีต
ขณะนี้ไทยยังไม่มีองค์ความรู้เกี่ยวกับเรื่องของโรคดังกล่าวเพียงพอ เช่น ตัวเชื้อโรค อาการ การตรวจวินิจฉัย การรักษา พาหะ ฯลฯ และเพื่อให้การดำเนินการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคได้ทันเหตุการณ์ กรมควบคุมโรค โดยสำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง จึงได้จัดให้มีการประชุมทางวิชาการดังกล่าวขึ้นเพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ซึ่งการประชุมครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจากองค์การอนามัยโลก
การประชุมครั้งนี้มีผู้เชี่ยวชาญจากประเทศต่างๆ เช่น อินเดีย ศรีลังกา สิงคโปร์ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้มีองค์ความรู้ในเรื่องของการระบาดของโรคชิคุนกุนยาในอดีต จนถึงปัจจุบัน ทั้งในแถบภูมิภาคแอฟริกา และเอเชีย ซึ่งจัดเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับพื้นที่ หรือประเทศที่ยังไม่มีประสบการณ์การแพร่ระบาดและควบคุมโรคนี้ในอนาคต
อย่างไรก็ตาม จากการเฝ้าระวังโรคไข้ปวดข้อยุงลาย หรือโรคชิคุนกุนยาทั่วประเทศของสำนักระบาดวิทยา ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2552 ถึงวันที่ 18 สิงหาคม 2552 พบมีผู้ป่วยสะสม 38,275 ราย ใน 51 จังหวัด ไม่มีผู้เสียชีวิต โดยจังหวัดที่มีอัตราผู้ป่วยสูงสุด คือ จังหวัดนราธิวาส มีผู้ป่วยจำนวน 7,780 ราย รองลงมาคือ จังหวัดภูเก็ตมีผู้ป่วย 2,744 ราย
วันนี้ (26 ส.ค.) ที่โรงแรมภูเก็ตแกรซแลนด์ รีสอร์ท แอนสปา จังหวัดภูเก็ต นายแพทย์ประพนธ์ ตั้งศรีเกียรติกุล รองอธิบดีกรมควบคุมโรค เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ Technical consultationg on Re-emergence of Chikungunya Fever ซึ่งกรมควบคุมโรค โดยสำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง ร่วมกับองค์การอนามัยโลก (SEARO/WHO) จัดขึ้น ระหว่างวันที่ 26-28 ส.ค.2552 โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคการวิจัย การตรวจรักษา การควบคุมโรค ทั้งของไทยและขององค์การอนามัยโลก และผู้เชี่ยวชาญจากประเทศ อินเดีย ศรีลังกา สิงคโปร์ เข้าร่วม
นายแพทย์ ประพนธ์ กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีการแพร่ระบาดของโรคชิคุนกุนยาอย่างกว้างขวางตั้งแต่ปี 2551 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน การแพร่ระบาดของโรคดังกล่าวยังมีอยู่ โดยชนิดเชื่อโรคที่แพร่ระบาดเป็นสายพันธุ์ East Central Alrican จนกลายพันธุ์สามารถก่อความรุนแรงได้มากกว่าสายพันธุ์ Asis ที่เคยเกิดขึ้นในอดีต
ขณะนี้ไทยยังไม่มีองค์ความรู้เกี่ยวกับเรื่องของโรคดังกล่าวเพียงพอ เช่น ตัวเชื้อโรค อาการ การตรวจวินิจฉัย การรักษา พาหะ ฯลฯ และเพื่อให้การดำเนินการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคได้ทันเหตุการณ์ กรมควบคุมโรค โดยสำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง จึงได้จัดให้มีการประชุมทางวิชาการดังกล่าวขึ้นเพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ซึ่งการประชุมครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจากองค์การอนามัยโลก
การประชุมครั้งนี้มีผู้เชี่ยวชาญจากประเทศต่างๆ เช่น อินเดีย ศรีลังกา สิงคโปร์ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้มีองค์ความรู้ในเรื่องของการระบาดของโรคชิคุนกุนยาในอดีต จนถึงปัจจุบัน ทั้งในแถบภูมิภาคแอฟริกา และเอเชีย ซึ่งจัดเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับพื้นที่ หรือประเทศที่ยังไม่มีประสบการณ์การแพร่ระบาดและควบคุมโรคนี้ในอนาคต
อย่างไรก็ตาม จากการเฝ้าระวังโรคไข้ปวดข้อยุงลาย หรือโรคชิคุนกุนยาทั่วประเทศของสำนักระบาดวิทยา ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2552 ถึงวันที่ 18 สิงหาคม 2552 พบมีผู้ป่วยสะสม 38,275 ราย ใน 51 จังหวัด ไม่มีผู้เสียชีวิต โดยจังหวัดที่มีอัตราผู้ป่วยสูงสุด คือ จังหวัดนราธิวาส มีผู้ป่วยจำนวน 7,780 ราย รองลงมาคือ จังหวัดภูเก็ตมีผู้ป่วย 2,744 ราย