ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - ชาวสวนยางไทย ประกาศ 30 มิ.ย.นี้ หากพบนายกรัฐมนตรีไม่ได้ ล้มเลิกการเจรจา “บนโต๊ะกลม” กับรัฐ ระบุ รัฐไม่ชอบสันติวิธี ประกาศเลียนแบบการรถไฟแห่งประเทศไทย ชี้รัฐไม่เคยสนใจชาวสวนยาง ขณะที่เดือดร้อนกันทั่วหล้า ชาวสวนยางครวญหนัก นายกรัฐมนตรีช่วยที
วันนี้ (24 มิ.ย.) นายเพิก เลิศวางพงศ์ ประธานชุมนุมสหกรณ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย จำกัด (ชสยท.) เปิดเผยว่า โครงการรับซื้อยางพาราโดยสถาบันเกษตรกร โดยใช้งบประมาณ 8,000 ล้านบาท ที่ทางสถาบันเกษตรกรกู้จากรัฐบาล และทางคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติ เมื่อวันที่ 25 กพ.52 แล้ว พร้อมกับเงิน รับจำนำ และแทรกแซงข้าว ข้าวโพด และมันสำปะหลัง รวม 110,000 ล้านบาท
ขณะที่เงินข้าวโพด มันสำปะหลัง และข้าว ได้รับกันหมดแล้ว แต่เงินโครงการรับซื้อยางพารา 8,000 ล้านบาท ที่จะเอามารับซื้อยางพาราจากเกษตรกรก็ยังไม่ได้รับ โดยหน่วยงานรัฐอ้างเงื่อนไข ระเบียบราชการต่างๆ จนกระทั่งถึงขณะนี้ยางพาราราคาเริ่มตกต่ำลงตามลำดับ จนเกษตรกรยางพารา กำลังประสบกับความเดือดร้อนกันทั่วประเทศ เรื่องนี้ทางหน่วยงานที่ต้องรับผิดชอบ คือกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
“ชาวสวนยางพาราในประเทศไทย อ่อนข้อและยินยอมมาตลอดระยะเวลา ไม่เคยเป็นภาระให้กับรัฐ ทั้งที่ยางพาราเป็นสินค้าทางด้านการเกษตรอันดับ 1 ของประเทศไทย แต่ผู้บริหารไม่เคยสนใจ แม้กระทั่งพรรคประชาธิปัตย์เอง ก็ไม่เคยพูดถึงเรื่องยางพารา และรัฐบาลแม้กระทั่งอนุมัติโครงการมาแล้วก็ไม่เคยติดตาม เมื่อไม่ติดตามเรื่องก็ไม่ควรอนุมัติมา โครงการนี้เหมือนกับเกษตรกรยางพาราโดนหลอก”
นายเพิกยังกล่าวอีกว่า โครงการนี้ ชสยท. และชาวสวนยางพาราไม่ยินยอมเด็ดขาด โดยในวันที่ 30 มิถุนายน 2552 จะเข้าพบนายกรัฐมนตรี และในวันที่ 1 กรกฎาคม 2552 จะพบกับรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทั้งนี้ก่อนหน้านี้ได้โทรศัพท์ไปถึงนายกรัฐมนตรี ถึง 2 ครั้ง เพื่อบอกเล่าถึงปัญหาต่างๆ แต่ไม่ยอมรับสาย แล้วไม่ทราบว่าให้เบอร์โทรศัพท์ไว้ทำไม
“จะยื่นคำขาดว่าหากไม่ได้พบนายกรัฐมนตรี ภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2552 หมายถึงการเจรจาบนโต๊ะกลมล้มเหลว จะต้องล้มเลิกและจะไม่มีอีกต่อไปแล้ว แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลไม่ชอบรูปแบบสันติวิธี ดังนั้นจึงขอให้ชาวสวนยางพาราทั่วประเทศ จงมีความพร้อม เพราะบรรดาแกนนำจะยึดรูปแบบแนวทางเหมือนกับสภาพรัฐวิสาหกิจการรถไฟแห่งประเทศไทย ที่กระทำเช่นกัน”
นายดีน ช่วยพริก ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านหมู่ 3 เทศบาลตำบลควนเสาธง อ.ตะโหมด จ.พัทลุง เปิดเผยว่า ขณะนี้ชาวสวนยางพาราทั่วทั้งจังหวัด กำลังประสบปัญหาเดือดร้อนกันอย่างหนัก เนื่องจากราคายางพาราที่ตกต่ำลงตามลำดับจากราคา 58-60 บาท จนถึงขณะนี้เหลือประมาณ 44-45 บาทต่อ กก. อีกทั้งขณะนี้น้ำยางก็หดตัวมากไปถึง 70 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งไม่เคยปรากฏมาก่อนของสวนยางพารา
“เดิมนั้นราคาระดับ 50 บาทขึ้นไป ชาวสวนยางพาราพอยังอยู่ได้ และทนกันอยู่ แม้กระทั่งลูกไปโรงเรียนแต่เดิมให้วันละ 20 บาท แต่มาวันนี้ให้เพียง 10 บาท เพราะต้องสู้กับภาวะค่าครองชีพที่สูงขึ้นมาก ทุกตัวล้วนแต่ราคาสูงมากทั้งสิ้น ทุกวันนี้เดือดร้อนกันหนักมากแล้ว รัฐบาล และนายกรัฐมนตรีช่วยที”
วันนี้ (24 มิ.ย.) นายเพิก เลิศวางพงศ์ ประธานชุมนุมสหกรณ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย จำกัด (ชสยท.) เปิดเผยว่า โครงการรับซื้อยางพาราโดยสถาบันเกษตรกร โดยใช้งบประมาณ 8,000 ล้านบาท ที่ทางสถาบันเกษตรกรกู้จากรัฐบาล และทางคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติ เมื่อวันที่ 25 กพ.52 แล้ว พร้อมกับเงิน รับจำนำ และแทรกแซงข้าว ข้าวโพด และมันสำปะหลัง รวม 110,000 ล้านบาท
ขณะที่เงินข้าวโพด มันสำปะหลัง และข้าว ได้รับกันหมดแล้ว แต่เงินโครงการรับซื้อยางพารา 8,000 ล้านบาท ที่จะเอามารับซื้อยางพาราจากเกษตรกรก็ยังไม่ได้รับ โดยหน่วยงานรัฐอ้างเงื่อนไข ระเบียบราชการต่างๆ จนกระทั่งถึงขณะนี้ยางพาราราคาเริ่มตกต่ำลงตามลำดับ จนเกษตรกรยางพารา กำลังประสบกับความเดือดร้อนกันทั่วประเทศ เรื่องนี้ทางหน่วยงานที่ต้องรับผิดชอบ คือกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
“ชาวสวนยางพาราในประเทศไทย อ่อนข้อและยินยอมมาตลอดระยะเวลา ไม่เคยเป็นภาระให้กับรัฐ ทั้งที่ยางพาราเป็นสินค้าทางด้านการเกษตรอันดับ 1 ของประเทศไทย แต่ผู้บริหารไม่เคยสนใจ แม้กระทั่งพรรคประชาธิปัตย์เอง ก็ไม่เคยพูดถึงเรื่องยางพารา และรัฐบาลแม้กระทั่งอนุมัติโครงการมาแล้วก็ไม่เคยติดตาม เมื่อไม่ติดตามเรื่องก็ไม่ควรอนุมัติมา โครงการนี้เหมือนกับเกษตรกรยางพาราโดนหลอก”
นายเพิกยังกล่าวอีกว่า โครงการนี้ ชสยท. และชาวสวนยางพาราไม่ยินยอมเด็ดขาด โดยในวันที่ 30 มิถุนายน 2552 จะเข้าพบนายกรัฐมนตรี และในวันที่ 1 กรกฎาคม 2552 จะพบกับรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทั้งนี้ก่อนหน้านี้ได้โทรศัพท์ไปถึงนายกรัฐมนตรี ถึง 2 ครั้ง เพื่อบอกเล่าถึงปัญหาต่างๆ แต่ไม่ยอมรับสาย แล้วไม่ทราบว่าให้เบอร์โทรศัพท์ไว้ทำไม
“จะยื่นคำขาดว่าหากไม่ได้พบนายกรัฐมนตรี ภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2552 หมายถึงการเจรจาบนโต๊ะกลมล้มเหลว จะต้องล้มเลิกและจะไม่มีอีกต่อไปแล้ว แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลไม่ชอบรูปแบบสันติวิธี ดังนั้นจึงขอให้ชาวสวนยางพาราทั่วประเทศ จงมีความพร้อม เพราะบรรดาแกนนำจะยึดรูปแบบแนวทางเหมือนกับสภาพรัฐวิสาหกิจการรถไฟแห่งประเทศไทย ที่กระทำเช่นกัน”
นายดีน ช่วยพริก ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านหมู่ 3 เทศบาลตำบลควนเสาธง อ.ตะโหมด จ.พัทลุง เปิดเผยว่า ขณะนี้ชาวสวนยางพาราทั่วทั้งจังหวัด กำลังประสบปัญหาเดือดร้อนกันอย่างหนัก เนื่องจากราคายางพาราที่ตกต่ำลงตามลำดับจากราคา 58-60 บาท จนถึงขณะนี้เหลือประมาณ 44-45 บาทต่อ กก. อีกทั้งขณะนี้น้ำยางก็หดตัวมากไปถึง 70 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งไม่เคยปรากฏมาก่อนของสวนยางพารา
“เดิมนั้นราคาระดับ 50 บาทขึ้นไป ชาวสวนยางพาราพอยังอยู่ได้ และทนกันอยู่ แม้กระทั่งลูกไปโรงเรียนแต่เดิมให้วันละ 20 บาท แต่มาวันนี้ให้เพียง 10 บาท เพราะต้องสู้กับภาวะค่าครองชีพที่สูงขึ้นมาก ทุกตัวล้วนแต่ราคาสูงมากทั้งสิ้น ทุกวันนี้เดือดร้อนกันหนักมากแล้ว รัฐบาล และนายกรัฐมนตรีช่วยที”