ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - นักวิชาการ มอ.ปัตานี สวนเหตุคดีไฟใต้เป็นคดีมั่นคงเกินครึ่ง ขณะเดียวกันติงรัฐบาลที่ผ่านมาใช้งบประมาณในการดับไฟใต้มากเกินเหตุ โดยคิดเป็นต้นทุนที่ถูกใช้เพื่อการลดเหตุการณ์ต่อ 1 คดีมีมูลค่าสูงถึง 88.28 ล้านบาท/เหตุการณ์ พร้อมชี้ไฟใต้ปี 52 แนวโน้มแรงขึ้น ด้านนายกเทศมนตรีเมืองปัตตานีนเสนอให้รัฐใจป้ำให้ 3 จังหวัดชายแดนใต้เป็นเขตปลอดภาษี ยกเว้นภาษีเงินได้ส่วนบุคคลทั้งข้าราชการและประชาชน เพื่อจูงใจให้เกิดการลงทุนและประชาชนอยู่ในพื้นที่ พร้อมติงรัฐบาลประชาธิปัตย์ตั้ง "สบ.จช." ต้องมาจากความจริงใจ
ผศ.ดร.ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี ผู้อำนวยการศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ สถาบันวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี (มอ.ปัตตานี) เปิดเผยว่า จากการติดตามสถานการณ์และทำงานวิจัยเรื่องปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เชื่อว่าการเหตุการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นจำนวนมากยังเป็นฝีมือของขบวนการที่ต้องการสร้างสถานการณ์อยู่จำนวนมาก
ทั้งนี้ จากงานวิจัยของ ผศ.ดร.ศรีสมภพดังกล่าว ระบุว่า การแยกคดีความมั่นคงออกจากคดีอื่นๆ เมื่อปี 2549 จำนวน 1,500 คดี ในนามของคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ (กอส.) ซึ่งผ่านการลงพื้นที่เก็บข้อมูลและวิเคราะห์ผล ซึ่งได้ผลสรุปว่า 80% ของคดีความไม่พื้นที่ชายแดพนใต้ชี้ว่าเป็นฝีมือของขบวนการแบ่งแยกดินแดนที่มีอยู่จริง ส่วนอีก 15% เป็นผลประโยชน์ส่วนตัว และอีก 5% เป็นการปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่
“แม้ว่าในช่วง 3 ปีให้หลังมานี้เราจะไม่ได้มีการวิจัยเรื่องนี้ต่อ แต่เชื่อว่าสัดส่วนของคดีความนั้นยังไม่ได้เปลี่ยนแปลงมากนัก เชื่อว่า 70% ของคดีที่เกิดขึ้นก็ยังเป็นฝีมือของกลุ่มก่อความไม่สงบอยู่ และมีเป้าหมายคือ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับภาครัฐ ทั้งในลักษณะของการทำงานให้ หรือให้ร่วมมือ แต่ที่ฝ่ายความมั่นคงมีข้อมูลว่า คดีว่ามั่นคงเกิดขึ้นเพียงประมาณ 20% หรือที่กล่าวว่ามีประมาณ 10,000 คดีจากทั้งหมดประมาณ 50,000 คดีนั้น วูบแรกที่ฟังเรารู้สึกสบายใจ แต่ในระยะยาวต้องมีการคิดทบทวนเรื่องนี้อีกเยอะ” ผศ.ดร.ศรีสมภพกล่าว
ชี้ต้นทุนดับไฟใต้สูง 88 ล้าน/เหตุ
ในส่วนของงบประมาณรายจ่ายจากภาครัฐที่ใช้เพื่อการแก้ปัญหาความไม่สงบ และการฟื้นฟูเศรษฐกิจขิองพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น ผศ.ดร.ศรีสมภพกล่าวว่า จากการติดตามพบว่า ตั้งแต่ปี 2547-2551 รัฐบาลได้ทุ่มเทงบประมาณลงไปในพื้นที่แล้วจำนวนมากถึง 109,296 ล้านบาท โดยใช้ในกิจกรรมที่เป็นนโยบายและโครงการของรัฐทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นด้านการทหาร ตำรวจ รวมถึงกิจกรรมการพัฒนาของหน่วยงานพลเรือนต่างๆ ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อคลี่คลายสถานการณ์และลดปริมาณเหตุการณ์ความรุนแรง
โดยในปี 2551 จำนวนเหตุการณ์ความไม่สงบลดลงจากปีก่อนจำนวน 1,238 ครั้ง คิอจากการคำนวณเหตุการณ์ในช่วงปี 2547-2550 ที่มีสถิติเหตุการณ์เฉลี่ยรายปีประมาณ 1,956 ครั้ง เมื่อคิดมูลค่าการใช้เงินงบประมาณที่รัฐบาลทุ่มเทลงไปในพื้นที่ชายแดนใต้เพื่อลดเหตุการณ์ความไม่สงบ พบว่า สามารถคิดเป็นต้นทุนทุถูกใช้เพื่อการลดเหตุการณ์ต่อ 1 คดีมีมูลค่าสูงถึง 88.28 ล้านบาท/เหตุการณ์
ผู้อำนวยการศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ของ มอ.ปัตตานี ระบุว่า ดังนั้นถ้ารัฐจะใช้นโยบายเดิมเพื่อลดเหตุการณ์ทั้งหมดได้ก็ต้องใช้เงินลงทุนที่เป็นงบประมาณของรัฐเท่าเดิม เพื่อรักษาฐานเดิมของความมั่นคงขณะนี้ และต้องเพิ่มเงินอีกประมาณ 235,984 ล้านบาท หรือรวมแล้วประมาณ 345,280.68 ล้านบาท หรือต้องเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัวเพื่อให้เหตุการณ์ความไม่สงบอยู่กลับสู่ภาวะปกติ
“การคำนวณนี้ตั้งอยู่บนฐานคติที่ว่า รัฐจะยังคงใช้นโยบายที่เน้นการทหารเป็นหลักอย่างเช่นที่ผ่านมา และมีการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นตัวเสริม เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของพื้นที่ซึ่งความรุนแรงลดลง ซึ่งรัฐจะต้องใช้เงินลงทุนอีกเท่าตัวเพื่อมิให้เหตุการณ์ความรุนแรงย้อนกลับมาอีก” ผศ.ดร.ศรีสมภพ กล่าวและว่า
นอกจากนี้ ฐานการคิดคำนวณดังกล่าว อยู่ตรงที่ต้นทุนของการรักษาความมั่นคงจากตัวเลขที่เป็นทางการจำนวนเท่ากับกว่าแสนล้านบาท ซึ่งเป็นตัวเลขที่มีการเปิดเผย แต่ในความเป็นจริงแล้วถ้าต้นทุนจริงที่ไม่เปิดเผยสูงกว่านี้ประมาณ 1-2 เท่าตัว ตัวเลขการลงทุนในอนาคตก็จะสูงกว่านี้มากขึ้นอีกประมาณค่ามิได้ สิ่งที่ต้องคิดด้วยก็คือการวิเคราะห์นี้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขทางจิตวิทยาสังคมของประชาชนในพื้นที่ ซึ่งจะอดทนได้หรือไม่กับการได้รับความกดดันจากทางการทหาร และปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมจากรัฐ ซึ่งอาจจะเป็นความคลาดเคลื่อนที่เกิดขึ้นได้ในบางครั้ง
แนวโน้ม 52 เหตุรุนแรงขึ้น
เมื่อรัฐยังคงมีการกดดันทางการทหารด้วยการทุ่มกำลังเพื่อปิดล้อม ตรวจค้นจับกุมผู้ต้องสงสัยมากขึ้น แม้จะสามารถลดพื้นที่และอิสระในการเคลื่อนไหวทางการทหารของอีกฝ่าย แต่รัฐบาลก็ยังไม่สามารถเอาชนะด้วยงานการเมืองและการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง
ซึ่งหากมีความผิดพลาดทั้งที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจของกำลังฝ่ายความมั่นคง ผู้ก่อเหตุความไม่สงลบอาจจะหันไปใช้วิธีการโจมตีที่รุแรง อาจจะในรูปแบบที่สร้างความสูญเสียและสะเทือนขวัญมากขึ้น เช่น คาร์บอม หรือวิธีความรุนแรงอื่นๆ ที่ใช้ในต่างประเทศ เพื่อรักษาระดับความรุนแรง และใช้ความรุนแรงนี้เป็นการสื่อสารทางการเมืองแบบหนึ่ง หรือเพื่อหาทางออกจากการถูกกดดันทางการทหาร ซึ่งหากรัฐยังคงตีความไม่ออกว่าสัญลักษณ์การต่อสู้ที่ผ่านมาต้องการอะไร การแก้ไขปัญหาความรุนแรงก็ยากขึ้น
ดังนั้น ทางออกในปัจจุบันคือพยายามใช้ความยุติธรรมในการแก้ไข ใช้การเมืองนำการทหารอย่างแท้จริง
หวั่นงบ 6.3หมื่นล้านละลายแม่น้ำ
ผศ.ดร.ศรีสมภพ กล่าวต่อด้วยว่า จากการใช้งบประมาณใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ที่นำเสนอข้างต้นในส่วนของการพัฒนาเศรษฐกิจนั้น ทั้งความยากจน คุณภาพชีวิต การว่างงานนั้น ถือว่าไม่ประสบผลสำเร็จ แต่มีข้อดีเพียงอย่างเดียวคือการเพิ่มรายจ่ายของภาครัฐช่วยกระตุ้น GDP ค้ำเศรษฐกิจของ 3 จังหวัดให้คงอยู่ แต่ผลการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างนั้นไม่มี และรัฐบาลที่รัฐบาลชุดนี้กำลังดำเนินการทุ่มงบประมาณอีก 6.3 หมื่นล้านบาท เพื่อพัฒนาพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนใต้ โดยขยายพื้นที่เพิ่มอีก 2 จังหวัด ก็ต้องทบทวนในเรื่องนี้ด้วยเช่นกันและปรับเปลี่ยนการใช้เงินมีประสิทธิภาพกับเม็ดเงินที่ให้ไป
ด้านนายพิทักษ์ ก่อเกียรติพิทักษ์ นายกเทศมนตรีเมืองปัตตานี กล่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า การเร่งรัดพัฒนาด้านเศรษฐกิจท่ามกลางสถานการณ์ที่ประเทศประสบภาวะทางการเงิน ควรจะให้ความสำคัญในการสนับสนุนเศรษฐกิจของ 3 จังหวัดชายแดนใต้ให้ได้มากกว่าที่อื่น และช่วยเหลือเมืองหาดใหญ่ซึ่งเป็นเส้นเลือดหล่อใหญ่หล่อเลี้ยงภาคธุรกิจด้วย ซึ่งทราบว่ามีเพียง 4 อำเภอของ จ.สงขลาที่จะได้รับผลประโยชน์ เมื่อสถานการณ์คลังประเทศดีค่อยขยายสู่พื้นที่ใกล้เคียง
“รัฐจะช่วยแล้วต้องเกาให้ถูกที่คัน ใช้เงินให้คุ้มค่า แต่ถ้าจะให้ทั้ง 5 จังหวัดก็ควรจะจัดระดับการให้ความช่วยเหลือให้สอดคล้องกับความเดือดร้อน อย่าหว่านไปทั้งหมดเท่ากันเพราะ เมื่อจะมีการลงทุนเขาก็ไม่เข้า 3 จังหวัดอยู่ดี” นายพิทักษ์กล่าว
พร้อมกล่าวต่อว่า ถ้าทำได้อย่างนี้คนก็จะไม่โยกย้ายถ่ายเท ปัญหาที่แก้ไม่ได้เพราะมีค่อยมีใครกล้าพูดความจริงกัน และอยากให้พิจารณาด้วยว่าภาษีที่จัดเก็บจะลดได้เท่าไหร่ กับการที่ต้องทุ่มเทงบประมาณส่งเสริมอาชีพ แก้ไขปัญหาความไม่สงบทั้งความเสียหายทรัพย์สิน พืชผลการเกษตร สูญเสียชีวิต การเยียวยาหมดไปเท่าไหร่ และคนที่อยู่ดั้งเดิมเท่าไหร่ อพยพไปแล้วเท่ากับ กับการที่ข้อเสนอให้ 3 จชต.เป็นเศรษฐกิจพิเศษปลอดภาษี แล้วมาลองดูว่านักลงทุนจะเข้ามาไหม
แนะรัฐใจปั้มปั้น 3 จชต.ปลอดภาษี
นายพิทักษ์ กล่าวต่อว่า ตนเสนอให้รัฐใจป้ำให้ 3 จังหวัดชายแดนใต้เป็นเขตปลอดภาษี ยกเว้นภาษีเงินได้ส่วนบุคคลทั้งข้าราชการและประชาชน เพื่อจูงใจให้เกิดการลงทุนและประชาชนอยู่ในพื้นที่เพื่อรักษาดินแดนแห่งนี้เอาไว้ให้คงไว้ซึ่งการค้าการลงทุนระหว่างที่เหตุความไม่สงบไม่คลี่คลาย แต่ไม่ได้หมายความว่าจะไม่ทำหน้าที่พลเมืองที่ดี เพราะคนอยู่ในพื้นที่นี้ก็เสียภาษีอยู่ในตัวจากการจับจ่ายซื้อสินค้าอยู่แล้ว
ในส่วนของการลงทุนนั้นมีวัตถุดิบทั้ง อาหารทะเล สัตว์น้ำ ยางพารา มะพร้าว ผลไม้ ซึ่งนักลงทุนให้ความสนใจอยู่แล้ว ถ้าให้สิทธิพิเศษจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย แต่รัฐต้องประกันเรื่องความปลอดภัยในการลงทุน อาจจะให้สามารถหิ้วกระเป๋าแล้วเข้ามาทำธุรกิจได้เลย เมื่อไม่มีปัญหาความไม่สงบแล้วก็ให้จ่ายภาษีแก่รัฐ
“เพื่อรักษาพื้นที่นี้เอาไว้ รัฐก็ต้องคิดนอกกรอบบ้าง ถ้ามัวมองว่ากฎหมายไม่เปิดช่อง ยกเว้นคิดตามหลังโจร ที่ผ่านมาสิ่งที่รัฐให้ไม่ค่อยตรงกับความต้องการและความเดือดร้อนของประชาชนจริงๆ หรือจะต้องให้คนที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการแก้ไขความไม่สงบและเศรษฐกิจสร้างบ้านอยู่ใน 3 จังหวัดเลยถึงจะแก้ไขปัญหาถูกที่ อย่าเอาแบบเกิดเหตุแล้วยกขโยงมาแล้วบอกว่ารู้แล้วๆ เพราะเป็นแบบนี้มา 4-5 ปี รู้ไม่จริงสักที คนในพื้นที่เริ่มอึดอัด แต่ไม่แน่ใจแล้วว่ารัฐบาลแก้ไขปัญหาโดยใช้อะไรเป็นข้อมูล หรือแก้ปัญหาด้วยความตั้งใจจริงหรือไม่ รัฐบาลต้องกล้าตัดสินใจ เชื่อว่าจะมีคนมาลงทุน งบที่ต้องใช้ดับไฟใต้ก็จะลดลง มีความคุ้มค่ากว่าการเยอะ” นายพิทักษ์กล่าวต่อและว่า
ถ้าทุกรัฐบาลมีข้อมูลดีและแก้ไขอย่างจริงใจคงไม่ยึดเยื้อบานปลายจนถึงทุกวันนี้ที่มีคนบาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมาก ซ้ำรายทำให้ไทยพุทธและไทยมุสลิมเกิดความระแวงซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ดี คนเราต่างกันที่การนับถือศาสนาเท่านั้น ทุกคนเป็นคนไทยทั้งหมด เกิดที่นี่ หวงแหนแผ่นดิน อยู่ด้วยกันได้ท่ามกลางความหลากหลาย คนบางคนจะหยิบยกเรื่องเหล่านี้มาแสวงหาอำนาจ ผลประโยชน์หรือไม่ ผมเชื่อว่ารัฐบาลจะมีข้อมูลที่ดีอยู่แล้ว แต่ขึ้นอยู่กับว่าเขาจะทำหรือไม่ทำ
ตั้ง สบ.จช.ต้องมาจากความจริงใจ
สำหรับการเปลี่ยนโครงสร้างพัฒนาโดยการผลักดันตั้งสำนักบริการจังหวัดชายแดนภาคใต้ (สบ.จช) นายพิทักษ์ กล่าวว่า ขอให้อย่าเอาโครงสร้างนี้มาสร้างภาพทำให้ประชาชนรู้สึกว่าได้รับการแก้ไขด้วย ครม.ไฟใต้ แต่ขอให้ทำด้วยความจริงใจ อย่าทำเหมือนที่ผ่านๆ มา ซึ่งมีหลายคณะลงพื้นที่ แต่ไม่เห็นว่าเหตุการณ์จะคลี่คลายอย่างที่คาดหวัง
“ ผมเชื่อว่าวันนี้ทั้งไทยพุทธ ไทยมุสลิมอยากให้เหตุการณ์สงบโดยเร็ว แต่วันนี้เขาไม่กล้าแสดงออกเพราะภาครัฐยังอ่อนแอ แต่ถ้าภาครัฐเข้มแข็งเขาจะกล้าแสดงออก” นายพิทักษ์กล่าว
ผศ.ดร.ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี ผู้อำนวยการศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ สถาบันวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี (มอ.ปัตตานี) เปิดเผยว่า จากการติดตามสถานการณ์และทำงานวิจัยเรื่องปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เชื่อว่าการเหตุการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นจำนวนมากยังเป็นฝีมือของขบวนการที่ต้องการสร้างสถานการณ์อยู่จำนวนมาก
ทั้งนี้ จากงานวิจัยของ ผศ.ดร.ศรีสมภพดังกล่าว ระบุว่า การแยกคดีความมั่นคงออกจากคดีอื่นๆ เมื่อปี 2549 จำนวน 1,500 คดี ในนามของคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ (กอส.) ซึ่งผ่านการลงพื้นที่เก็บข้อมูลและวิเคราะห์ผล ซึ่งได้ผลสรุปว่า 80% ของคดีความไม่พื้นที่ชายแดพนใต้ชี้ว่าเป็นฝีมือของขบวนการแบ่งแยกดินแดนที่มีอยู่จริง ส่วนอีก 15% เป็นผลประโยชน์ส่วนตัว และอีก 5% เป็นการปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่
“แม้ว่าในช่วง 3 ปีให้หลังมานี้เราจะไม่ได้มีการวิจัยเรื่องนี้ต่อ แต่เชื่อว่าสัดส่วนของคดีความนั้นยังไม่ได้เปลี่ยนแปลงมากนัก เชื่อว่า 70% ของคดีที่เกิดขึ้นก็ยังเป็นฝีมือของกลุ่มก่อความไม่สงบอยู่ และมีเป้าหมายคือ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับภาครัฐ ทั้งในลักษณะของการทำงานให้ หรือให้ร่วมมือ แต่ที่ฝ่ายความมั่นคงมีข้อมูลว่า คดีว่ามั่นคงเกิดขึ้นเพียงประมาณ 20% หรือที่กล่าวว่ามีประมาณ 10,000 คดีจากทั้งหมดประมาณ 50,000 คดีนั้น วูบแรกที่ฟังเรารู้สึกสบายใจ แต่ในระยะยาวต้องมีการคิดทบทวนเรื่องนี้อีกเยอะ” ผศ.ดร.ศรีสมภพกล่าว
ชี้ต้นทุนดับไฟใต้สูง 88 ล้าน/เหตุ
ในส่วนของงบประมาณรายจ่ายจากภาครัฐที่ใช้เพื่อการแก้ปัญหาความไม่สงบ และการฟื้นฟูเศรษฐกิจขิองพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น ผศ.ดร.ศรีสมภพกล่าวว่า จากการติดตามพบว่า ตั้งแต่ปี 2547-2551 รัฐบาลได้ทุ่มเทงบประมาณลงไปในพื้นที่แล้วจำนวนมากถึง 109,296 ล้านบาท โดยใช้ในกิจกรรมที่เป็นนโยบายและโครงการของรัฐทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นด้านการทหาร ตำรวจ รวมถึงกิจกรรมการพัฒนาของหน่วยงานพลเรือนต่างๆ ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อคลี่คลายสถานการณ์และลดปริมาณเหตุการณ์ความรุนแรง
โดยในปี 2551 จำนวนเหตุการณ์ความไม่สงบลดลงจากปีก่อนจำนวน 1,238 ครั้ง คิอจากการคำนวณเหตุการณ์ในช่วงปี 2547-2550 ที่มีสถิติเหตุการณ์เฉลี่ยรายปีประมาณ 1,956 ครั้ง เมื่อคิดมูลค่าการใช้เงินงบประมาณที่รัฐบาลทุ่มเทลงไปในพื้นที่ชายแดนใต้เพื่อลดเหตุการณ์ความไม่สงบ พบว่า สามารถคิดเป็นต้นทุนทุถูกใช้เพื่อการลดเหตุการณ์ต่อ 1 คดีมีมูลค่าสูงถึง 88.28 ล้านบาท/เหตุการณ์
ผู้อำนวยการศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ของ มอ.ปัตตานี ระบุว่า ดังนั้นถ้ารัฐจะใช้นโยบายเดิมเพื่อลดเหตุการณ์ทั้งหมดได้ก็ต้องใช้เงินลงทุนที่เป็นงบประมาณของรัฐเท่าเดิม เพื่อรักษาฐานเดิมของความมั่นคงขณะนี้ และต้องเพิ่มเงินอีกประมาณ 235,984 ล้านบาท หรือรวมแล้วประมาณ 345,280.68 ล้านบาท หรือต้องเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัวเพื่อให้เหตุการณ์ความไม่สงบอยู่กลับสู่ภาวะปกติ
“การคำนวณนี้ตั้งอยู่บนฐานคติที่ว่า รัฐจะยังคงใช้นโยบายที่เน้นการทหารเป็นหลักอย่างเช่นที่ผ่านมา และมีการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นตัวเสริม เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของพื้นที่ซึ่งความรุนแรงลดลง ซึ่งรัฐจะต้องใช้เงินลงทุนอีกเท่าตัวเพื่อมิให้เหตุการณ์ความรุนแรงย้อนกลับมาอีก” ผศ.ดร.ศรีสมภพ กล่าวและว่า
นอกจากนี้ ฐานการคิดคำนวณดังกล่าว อยู่ตรงที่ต้นทุนของการรักษาความมั่นคงจากตัวเลขที่เป็นทางการจำนวนเท่ากับกว่าแสนล้านบาท ซึ่งเป็นตัวเลขที่มีการเปิดเผย แต่ในความเป็นจริงแล้วถ้าต้นทุนจริงที่ไม่เปิดเผยสูงกว่านี้ประมาณ 1-2 เท่าตัว ตัวเลขการลงทุนในอนาคตก็จะสูงกว่านี้มากขึ้นอีกประมาณค่ามิได้ สิ่งที่ต้องคิดด้วยก็คือการวิเคราะห์นี้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขทางจิตวิทยาสังคมของประชาชนในพื้นที่ ซึ่งจะอดทนได้หรือไม่กับการได้รับความกดดันจากทางการทหาร และปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมจากรัฐ ซึ่งอาจจะเป็นความคลาดเคลื่อนที่เกิดขึ้นได้ในบางครั้ง
แนวโน้ม 52 เหตุรุนแรงขึ้น
เมื่อรัฐยังคงมีการกดดันทางการทหารด้วยการทุ่มกำลังเพื่อปิดล้อม ตรวจค้นจับกุมผู้ต้องสงสัยมากขึ้น แม้จะสามารถลดพื้นที่และอิสระในการเคลื่อนไหวทางการทหารของอีกฝ่าย แต่รัฐบาลก็ยังไม่สามารถเอาชนะด้วยงานการเมืองและการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง
ซึ่งหากมีความผิดพลาดทั้งที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจของกำลังฝ่ายความมั่นคง ผู้ก่อเหตุความไม่สงลบอาจจะหันไปใช้วิธีการโจมตีที่รุแรง อาจจะในรูปแบบที่สร้างความสูญเสียและสะเทือนขวัญมากขึ้น เช่น คาร์บอม หรือวิธีความรุนแรงอื่นๆ ที่ใช้ในต่างประเทศ เพื่อรักษาระดับความรุนแรง และใช้ความรุนแรงนี้เป็นการสื่อสารทางการเมืองแบบหนึ่ง หรือเพื่อหาทางออกจากการถูกกดดันทางการทหาร ซึ่งหากรัฐยังคงตีความไม่ออกว่าสัญลักษณ์การต่อสู้ที่ผ่านมาต้องการอะไร การแก้ไขปัญหาความรุนแรงก็ยากขึ้น
ดังนั้น ทางออกในปัจจุบันคือพยายามใช้ความยุติธรรมในการแก้ไข ใช้การเมืองนำการทหารอย่างแท้จริง
หวั่นงบ 6.3หมื่นล้านละลายแม่น้ำ
ผศ.ดร.ศรีสมภพ กล่าวต่อด้วยว่า จากการใช้งบประมาณใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ที่นำเสนอข้างต้นในส่วนของการพัฒนาเศรษฐกิจนั้น ทั้งความยากจน คุณภาพชีวิต การว่างงานนั้น ถือว่าไม่ประสบผลสำเร็จ แต่มีข้อดีเพียงอย่างเดียวคือการเพิ่มรายจ่ายของภาครัฐช่วยกระตุ้น GDP ค้ำเศรษฐกิจของ 3 จังหวัดให้คงอยู่ แต่ผลการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างนั้นไม่มี และรัฐบาลที่รัฐบาลชุดนี้กำลังดำเนินการทุ่มงบประมาณอีก 6.3 หมื่นล้านบาท เพื่อพัฒนาพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนใต้ โดยขยายพื้นที่เพิ่มอีก 2 จังหวัด ก็ต้องทบทวนในเรื่องนี้ด้วยเช่นกันและปรับเปลี่ยนการใช้เงินมีประสิทธิภาพกับเม็ดเงินที่ให้ไป
ด้านนายพิทักษ์ ก่อเกียรติพิทักษ์ นายกเทศมนตรีเมืองปัตตานี กล่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า การเร่งรัดพัฒนาด้านเศรษฐกิจท่ามกลางสถานการณ์ที่ประเทศประสบภาวะทางการเงิน ควรจะให้ความสำคัญในการสนับสนุนเศรษฐกิจของ 3 จังหวัดชายแดนใต้ให้ได้มากกว่าที่อื่น และช่วยเหลือเมืองหาดใหญ่ซึ่งเป็นเส้นเลือดหล่อใหญ่หล่อเลี้ยงภาคธุรกิจด้วย ซึ่งทราบว่ามีเพียง 4 อำเภอของ จ.สงขลาที่จะได้รับผลประโยชน์ เมื่อสถานการณ์คลังประเทศดีค่อยขยายสู่พื้นที่ใกล้เคียง
“รัฐจะช่วยแล้วต้องเกาให้ถูกที่คัน ใช้เงินให้คุ้มค่า แต่ถ้าจะให้ทั้ง 5 จังหวัดก็ควรจะจัดระดับการให้ความช่วยเหลือให้สอดคล้องกับความเดือดร้อน อย่าหว่านไปทั้งหมดเท่ากันเพราะ เมื่อจะมีการลงทุนเขาก็ไม่เข้า 3 จังหวัดอยู่ดี” นายพิทักษ์กล่าว
พร้อมกล่าวต่อว่า ถ้าทำได้อย่างนี้คนก็จะไม่โยกย้ายถ่ายเท ปัญหาที่แก้ไม่ได้เพราะมีค่อยมีใครกล้าพูดความจริงกัน และอยากให้พิจารณาด้วยว่าภาษีที่จัดเก็บจะลดได้เท่าไหร่ กับการที่ต้องทุ่มเทงบประมาณส่งเสริมอาชีพ แก้ไขปัญหาความไม่สงบทั้งความเสียหายทรัพย์สิน พืชผลการเกษตร สูญเสียชีวิต การเยียวยาหมดไปเท่าไหร่ และคนที่อยู่ดั้งเดิมเท่าไหร่ อพยพไปแล้วเท่ากับ กับการที่ข้อเสนอให้ 3 จชต.เป็นเศรษฐกิจพิเศษปลอดภาษี แล้วมาลองดูว่านักลงทุนจะเข้ามาไหม
แนะรัฐใจปั้มปั้น 3 จชต.ปลอดภาษี
นายพิทักษ์ กล่าวต่อว่า ตนเสนอให้รัฐใจป้ำให้ 3 จังหวัดชายแดนใต้เป็นเขตปลอดภาษี ยกเว้นภาษีเงินได้ส่วนบุคคลทั้งข้าราชการและประชาชน เพื่อจูงใจให้เกิดการลงทุนและประชาชนอยู่ในพื้นที่เพื่อรักษาดินแดนแห่งนี้เอาไว้ให้คงไว้ซึ่งการค้าการลงทุนระหว่างที่เหตุความไม่สงบไม่คลี่คลาย แต่ไม่ได้หมายความว่าจะไม่ทำหน้าที่พลเมืองที่ดี เพราะคนอยู่ในพื้นที่นี้ก็เสียภาษีอยู่ในตัวจากการจับจ่ายซื้อสินค้าอยู่แล้ว
ในส่วนของการลงทุนนั้นมีวัตถุดิบทั้ง อาหารทะเล สัตว์น้ำ ยางพารา มะพร้าว ผลไม้ ซึ่งนักลงทุนให้ความสนใจอยู่แล้ว ถ้าให้สิทธิพิเศษจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย แต่รัฐต้องประกันเรื่องความปลอดภัยในการลงทุน อาจจะให้สามารถหิ้วกระเป๋าแล้วเข้ามาทำธุรกิจได้เลย เมื่อไม่มีปัญหาความไม่สงบแล้วก็ให้จ่ายภาษีแก่รัฐ
“เพื่อรักษาพื้นที่นี้เอาไว้ รัฐก็ต้องคิดนอกกรอบบ้าง ถ้ามัวมองว่ากฎหมายไม่เปิดช่อง ยกเว้นคิดตามหลังโจร ที่ผ่านมาสิ่งที่รัฐให้ไม่ค่อยตรงกับความต้องการและความเดือดร้อนของประชาชนจริงๆ หรือจะต้องให้คนที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการแก้ไขความไม่สงบและเศรษฐกิจสร้างบ้านอยู่ใน 3 จังหวัดเลยถึงจะแก้ไขปัญหาถูกที่ อย่าเอาแบบเกิดเหตุแล้วยกขโยงมาแล้วบอกว่ารู้แล้วๆ เพราะเป็นแบบนี้มา 4-5 ปี รู้ไม่จริงสักที คนในพื้นที่เริ่มอึดอัด แต่ไม่แน่ใจแล้วว่ารัฐบาลแก้ไขปัญหาโดยใช้อะไรเป็นข้อมูล หรือแก้ปัญหาด้วยความตั้งใจจริงหรือไม่ รัฐบาลต้องกล้าตัดสินใจ เชื่อว่าจะมีคนมาลงทุน งบที่ต้องใช้ดับไฟใต้ก็จะลดลง มีความคุ้มค่ากว่าการเยอะ” นายพิทักษ์กล่าวต่อและว่า
ถ้าทุกรัฐบาลมีข้อมูลดีและแก้ไขอย่างจริงใจคงไม่ยึดเยื้อบานปลายจนถึงทุกวันนี้ที่มีคนบาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมาก ซ้ำรายทำให้ไทยพุทธและไทยมุสลิมเกิดความระแวงซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ดี คนเราต่างกันที่การนับถือศาสนาเท่านั้น ทุกคนเป็นคนไทยทั้งหมด เกิดที่นี่ หวงแหนแผ่นดิน อยู่ด้วยกันได้ท่ามกลางความหลากหลาย คนบางคนจะหยิบยกเรื่องเหล่านี้มาแสวงหาอำนาจ ผลประโยชน์หรือไม่ ผมเชื่อว่ารัฐบาลจะมีข้อมูลที่ดีอยู่แล้ว แต่ขึ้นอยู่กับว่าเขาจะทำหรือไม่ทำ
ตั้ง สบ.จช.ต้องมาจากความจริงใจ
สำหรับการเปลี่ยนโครงสร้างพัฒนาโดยการผลักดันตั้งสำนักบริการจังหวัดชายแดนภาคใต้ (สบ.จช) นายพิทักษ์ กล่าวว่า ขอให้อย่าเอาโครงสร้างนี้มาสร้างภาพทำให้ประชาชนรู้สึกว่าได้รับการแก้ไขด้วย ครม.ไฟใต้ แต่ขอให้ทำด้วยความจริงใจ อย่าทำเหมือนที่ผ่านๆ มา ซึ่งมีหลายคณะลงพื้นที่ แต่ไม่เห็นว่าเหตุการณ์จะคลี่คลายอย่างที่คาดหวัง
“ ผมเชื่อว่าวันนี้ทั้งไทยพุทธ ไทยมุสลิมอยากให้เหตุการณ์สงบโดยเร็ว แต่วันนี้เขาไม่กล้าแสดงออกเพราะภาครัฐยังอ่อนแอ แต่ถ้าภาครัฐเข้มแข็งเขาจะกล้าแสดงออก” นายพิทักษ์กล่าว