ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ – “หาดใหญ่โพล” สำรวจความเห็นคน 6 จังหวัดภาคใต้ตอนล่างเรื่อง “รัฐบาลอภิสิทธิ์กับการรับมือไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009” เผยประชาชนถึง 64.8% มีความวิตกกังวลกับสถานการณ์ของการระบาด และความมั่นใจต่อมาตรการป้องกันของกระทรวงสาธารณสุขมีแค่ 50.3% ขณะที่ 43.2% เห็นว่า การระบาดของโรคนี้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจมากที่สุด รองลงมาเป็นผลกระทบต่อด้านการท่องเที่ยว
วันนี้ (19 พ.ค.) หาดใหญ่โพล โดยสำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ได้รายงานการสำรวจเรื่อง “รัฐบาลอภิสิทธิ์กับการรับมือไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009” ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนใน 6 จังหวัดภาคใต้ ประกอบด้วย นราธิวาส ยะลา ปัตตานี สงขลา สตูล พัทลุงและตรัง เกี่ยวกับการรับมือไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 โดยเก็บรวบรวมข้อมูลประชาชน จำนวน 1,285 ตัวอย่าง และใช้แบบสำรวจเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ดำเนินการสำรวจระหว่างวันที่ 16-18 พฤษภาคม 2552 สรุปผลการสำรวจ ได้ดังนี้
ในด้านสถานภาพกลุ่มตัวอย่างนั้น กลุ่มตัวอย่างในการสำรวจครั้งนี้ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 60.0 อายุระหว่าง 31-40 ปี ร้อยละ 52.8 รองลงมามีอายุระหว่าง 21-30 ปี ร้อยละ 31.6 และอายุระหว่าง 41-50 ปี ร้อยละ 9.3 ตามลำดับ และเมื่อพิจารณาสถานภาพด้านอาชีพพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ประกอบกิจการส่วนตัว/ค้าขาย ร้อยละ 48.9 รองลงมาเป็นพนักงานบริษัท/รับจ้าง ร้อยละ 34.8 และมีเพียงร้อยละ 8.9 เป็นนักเรียนและนักศึกษา
สำหรับสรุปผลการสำรวจนั้น ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 64.8 มีความวิตกกังวลกับสถานการณ์ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 มีเพียงร้อยละ 35.2 ไม่วิตกกังวลกับสถานการณ์ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009
ส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับความมั่นใจต่อมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 พบว่า ประชาชนร้อยละ 50.3 มั่นใจต่อมาตรการของกระทรวงสาธารณสุขในการป้องกันการแพร่ระบาดไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 และร้อยละ 43.2 ไม่มั่นใจต่อมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข
นอกจากนี้ ประชาชนร้อยละ 47.1 เห็นว่า การแพร่ระบาดไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ไม่ส่งผลกระทบต่อการจัดกีฬายกน้ำหนักยุวชนในประเทศไทย และร้อยละ 44.7 เห็นว่าจะส่งผลกระทบต่อการจัดกีฬายกน้ำหนักยุวชน มีเพียงร้อยละ 8.2 ไม่แสดงความคิดเห็น
ประชาชนร้อยละ 43.2 เห็นว่า การระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจมากที่สุด รองลงมาส่งผลกระทบต่อปัญหาการท่องเที่ยวและความเชื่อมั่นของประชาชน คิดเป็นร้อยละ 22.8 และ 18.2 ตามลำดับ
ส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหลังจากการระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 พบว่า ประชาชนร้อยละ 45.7 มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยใช้ช้อนกลางในการตักอาหารเพิ่มขึ้นมากที่สุด รองลงมาหันมาดูแลสุขภาพของตัวเองเพิ่มขึ้น ใช้ชีวิตประจำวันตามปกติ และล้างมือบ่อยขึ้น คิดเป็นร้อยละ 20.0, 17.4 และ 12.1 ตามลำดับ
ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 73.1 ทราบข่าวการระบาดของโรคชิคุนกุนยาในพื้นที่ภาคใต้ มีเพียงร้อยละ 26.9 ไม่ทราบข่าวการระบาดของโรคชิคุนกุนยา
ส่วนความพอใจต่อมาตรการป้องกันโรคชิคุนกุนยาของรัฐบาล พบว่า ประชาชนร้อยละ 57.2 พอใจต่อมาตรการป้องกันโรคชิคุนกุนยาของรัฐบาล และร้อยละ 36.0 ไม่พอใจต่อมาตรการของรัฐบาล มีเพียงร้อยละ 6.8 ไม่แสดงความคิดเห็น
นอกจากนี้ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 66.7 เห็นว่า วิธีการกำจัดยุงคือต้องกำจัดน้ำขังบริเวณพื้นที่รอบบ้านมากที่สุด รองลงมาฉีดพ่นสารเคมีกำจัดยุง และติดมุ้งลวดภายในบ้าน คิดเป็นร้อยละ 55.5 และ 34.4 ตามลำดับ
วันนี้ (19 พ.ค.) หาดใหญ่โพล โดยสำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ได้รายงานการสำรวจเรื่อง “รัฐบาลอภิสิทธิ์กับการรับมือไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009” ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนใน 6 จังหวัดภาคใต้ ประกอบด้วย นราธิวาส ยะลา ปัตตานี สงขลา สตูล พัทลุงและตรัง เกี่ยวกับการรับมือไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 โดยเก็บรวบรวมข้อมูลประชาชน จำนวน 1,285 ตัวอย่าง และใช้แบบสำรวจเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ดำเนินการสำรวจระหว่างวันที่ 16-18 พฤษภาคม 2552 สรุปผลการสำรวจ ได้ดังนี้
ในด้านสถานภาพกลุ่มตัวอย่างนั้น กลุ่มตัวอย่างในการสำรวจครั้งนี้ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 60.0 อายุระหว่าง 31-40 ปี ร้อยละ 52.8 รองลงมามีอายุระหว่าง 21-30 ปี ร้อยละ 31.6 และอายุระหว่าง 41-50 ปี ร้อยละ 9.3 ตามลำดับ และเมื่อพิจารณาสถานภาพด้านอาชีพพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ประกอบกิจการส่วนตัว/ค้าขาย ร้อยละ 48.9 รองลงมาเป็นพนักงานบริษัท/รับจ้าง ร้อยละ 34.8 และมีเพียงร้อยละ 8.9 เป็นนักเรียนและนักศึกษา
สำหรับสรุปผลการสำรวจนั้น ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 64.8 มีความวิตกกังวลกับสถานการณ์ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 มีเพียงร้อยละ 35.2 ไม่วิตกกังวลกับสถานการณ์ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009
ส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับความมั่นใจต่อมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 พบว่า ประชาชนร้อยละ 50.3 มั่นใจต่อมาตรการของกระทรวงสาธารณสุขในการป้องกันการแพร่ระบาดไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 และร้อยละ 43.2 ไม่มั่นใจต่อมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข
นอกจากนี้ ประชาชนร้อยละ 47.1 เห็นว่า การแพร่ระบาดไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ไม่ส่งผลกระทบต่อการจัดกีฬายกน้ำหนักยุวชนในประเทศไทย และร้อยละ 44.7 เห็นว่าจะส่งผลกระทบต่อการจัดกีฬายกน้ำหนักยุวชน มีเพียงร้อยละ 8.2 ไม่แสดงความคิดเห็น
ประชาชนร้อยละ 43.2 เห็นว่า การระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจมากที่สุด รองลงมาส่งผลกระทบต่อปัญหาการท่องเที่ยวและความเชื่อมั่นของประชาชน คิดเป็นร้อยละ 22.8 และ 18.2 ตามลำดับ
ส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหลังจากการระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 พบว่า ประชาชนร้อยละ 45.7 มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยใช้ช้อนกลางในการตักอาหารเพิ่มขึ้นมากที่สุด รองลงมาหันมาดูแลสุขภาพของตัวเองเพิ่มขึ้น ใช้ชีวิตประจำวันตามปกติ และล้างมือบ่อยขึ้น คิดเป็นร้อยละ 20.0, 17.4 และ 12.1 ตามลำดับ
ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 73.1 ทราบข่าวการระบาดของโรคชิคุนกุนยาในพื้นที่ภาคใต้ มีเพียงร้อยละ 26.9 ไม่ทราบข่าวการระบาดของโรคชิคุนกุนยา
ส่วนความพอใจต่อมาตรการป้องกันโรคชิคุนกุนยาของรัฐบาล พบว่า ประชาชนร้อยละ 57.2 พอใจต่อมาตรการป้องกันโรคชิคุนกุนยาของรัฐบาล และร้อยละ 36.0 ไม่พอใจต่อมาตรการของรัฐบาล มีเพียงร้อยละ 6.8 ไม่แสดงความคิดเห็น
นอกจากนี้ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 66.7 เห็นว่า วิธีการกำจัดยุงคือต้องกำจัดน้ำขังบริเวณพื้นที่รอบบ้านมากที่สุด รองลงมาฉีดพ่นสารเคมีกำจัดยุง และติดมุ้งลวดภายในบ้าน คิดเป็นร้อยละ 55.5 และ 34.4 ตามลำดับ