ปัตตานี – สาธารณสุขจังหวัดปัตตานีสั่งคุมเข้มโรคชิคุนกุนยา หลังมีแนวโน้นปริมาณผู้ป่วยในช่วง 2 เดือนหลังลดลง พร้อมขอความร่วมมือประชาชนในการร่วมกันกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงในบริเวณบ้าน
วันนี้ (15 พ.ค.) นายแพทย์ยอร์น จิระนคร นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดปัตตานี เปิดเผยว่า ตามที่ได้มีการแพร่ระบาดของโรคชิคุนกุนย่าในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้มาอย่างต่อเนื่อง สำหรับปี 2552 จังหวัดปัตตานีมีจำนวนผู้ป่วยโรคชิคุนกุนยา ตั้งแต่เดือน มกราคม - 9 พฤษภาคม จำนวน2,976 ราย ดังนี้ เดือนมกราคม จำนวน 874 ราย กุมภาพันธ์ จำนวน 1,220 ราย มีนาคม 498 ราย เมษายน 293 ราย และพฤษภาคม 91 ราย ซึ่งมีแนวโน้มว่าพบผู้ป่วยด้วยโรคชิคุนกุนยาลดลง
ในขณะที่จังหวัดใกล้เคียงที่มีพื้นที่ติดต่อกับจังหวัดปัตตานียังมีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานีขอเตือนพี่น้องประชาชนว่าอย่าไว้วางใจสถานการณ์โรคดังกล่าว และสิ่งสำคัญที่สุดในการจะควบคุมป้องกันโรคชิคุนกุนยาได้ผล คือ พลังความร่วมมือของ พี่น้องประชาชนในการร่วมกันกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงในบริเวณบ้าน และรอบบ้านอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอทุก 7 วัน
นายแพทย์ยอร์นกล่าวว่า ในส่วนของการเฝ้าระวังโรคและควบคุมโรคนั้น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานียังคงคุมเข้มในการควบคุมโรคอย่างต่อเนื่อง โดยมีหน่วยเคลื่อนที่เร็วออกสอบสวนโรคทันทีที่พบผู้ป่วยในพื้นที่ พร้อมกับประสานความร่วมมือจากองค์กรส่วนท้องถิ่นในการพ่นสารเคมีเพื่อฆ่ายุงตามคูน้ำ และที่มีน้ำขังในภาชนะต่างๆ อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งได้เน้นย้ำให้หน่วยงานในสังกัดทั้งโรงพยาบาล และสถานีอนามัยทุกแห่ง ตรวจผู้ที่มีอาการสงสัยว่าจะป่วยด้วยโรคชิคุนกุนย่าอย่างละเอียด
วันนี้ (15 พ.ค.) นายแพทย์ยอร์น จิระนคร นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดปัตตานี เปิดเผยว่า ตามที่ได้มีการแพร่ระบาดของโรคชิคุนกุนย่าในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้มาอย่างต่อเนื่อง สำหรับปี 2552 จังหวัดปัตตานีมีจำนวนผู้ป่วยโรคชิคุนกุนยา ตั้งแต่เดือน มกราคม - 9 พฤษภาคม จำนวน2,976 ราย ดังนี้ เดือนมกราคม จำนวน 874 ราย กุมภาพันธ์ จำนวน 1,220 ราย มีนาคม 498 ราย เมษายน 293 ราย และพฤษภาคม 91 ราย ซึ่งมีแนวโน้มว่าพบผู้ป่วยด้วยโรคชิคุนกุนยาลดลง
ในขณะที่จังหวัดใกล้เคียงที่มีพื้นที่ติดต่อกับจังหวัดปัตตานียังมีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานีขอเตือนพี่น้องประชาชนว่าอย่าไว้วางใจสถานการณ์โรคดังกล่าว และสิ่งสำคัญที่สุดในการจะควบคุมป้องกันโรคชิคุนกุนยาได้ผล คือ พลังความร่วมมือของ พี่น้องประชาชนในการร่วมกันกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงในบริเวณบ้าน และรอบบ้านอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอทุก 7 วัน
นายแพทย์ยอร์นกล่าวว่า ในส่วนของการเฝ้าระวังโรคและควบคุมโรคนั้น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานียังคงคุมเข้มในการควบคุมโรคอย่างต่อเนื่อง โดยมีหน่วยเคลื่อนที่เร็วออกสอบสวนโรคทันทีที่พบผู้ป่วยในพื้นที่ พร้อมกับประสานความร่วมมือจากองค์กรส่วนท้องถิ่นในการพ่นสารเคมีเพื่อฆ่ายุงตามคูน้ำ และที่มีน้ำขังในภาชนะต่างๆ อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งได้เน้นย้ำให้หน่วยงานในสังกัดทั้งโรงพยาบาล และสถานีอนามัยทุกแห่ง ตรวจผู้ที่มีอาการสงสัยว่าจะป่วยด้วยโรคชิคุนกุนย่าอย่างละเอียด