ศูนย์ข่าวภูเก็ต - บสย.สาขาสุราษฎร์ธานีเผยไตรมาสแรกปีนี้เข้าไปค้ำประกันสินเชื่อให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีแค่ 20 ล้านบาท จากที่ช่วงเดียวกันปีที่แล้วกว่า 100 ล้านบาท จากพิษเศรษฐกิจทำให้การลงทุนในพื้นที่หดตัวอย่างหนัก ธนาคารเข้มงวดปล่อยสินเชื่อ คาดสิ้นไตรมาส 2 ดันยอดค้ำประกันทะลุ 400 ล้าน จากที่ บสย.จับมือแบงก์พาณิชย์ปล่อยสินเชื่อ 30,000 ล้านบาท
นายสุทธิเดช ช่วยคล้าย ผู้ช่วยผู้จัดการ สำนักงานจังหวัดสุราษฎร์ธานี บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม หรือ บสย.เปิดเผยต่อ “ASTV ผู้จัดการ” ถึงการเข้าไปค้ำประกันสินเชื่อให้กับผู้ประกอบการขนาดย่อมในพื้นที่ภาคใต้ตอนบนในช่วงไตรมาสแรกของปี 2552 นี้ว่า ตั้งแต่เดือนมกราคม-มีนาคม 2552 นี้ บสย.สาขาสุราษฎร์ธานี ซึ่งรับผิดชอบพื้นที่ภาคใต้ตอนบนได้เข้าไปค้ำประกันสินเชื่อให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี 20 ล้านบาทเท่านั้น ซึ่งถือว่าต่ำมาก หากเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ที่ไตรมาสแรกทาง บสย.สาขาสุราษฎร์ธานีได้เข้าไปค้ำประกันสินเชื่อกว่า 100 ล้านบาท
ทั้งนี้ เนื่องจากการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ให้กับผู้ประกอบการในพื้นที่ค่อนข้างที่จะเข้มงวด ทางธนาคารเน้นการรักษาสภาพคล่องของผู้ประกอบการที่เป็นลูกหนี้รายเดิมให้มีความสามารถในการชำระหนี้มากกว่าการปล่อยสินเชื่อให้กับผู้ประกอบการรายใหม่ รวมทั้งมีการปรับโครงสร้างหนี้เพื่อให้ลูกค้าพ้นวิกฤตช่วงนี้ไปได้ ประกอบกับการลงทุนใหม่ๆเกิดขึ้นน้อยจาก ผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจของไทยที่ชะลอตัว ทำให้นักลงทุนชะลอการตัดสินใจลงขยายการลงทุนและลงทุนใหม่ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการส่งออกมีการชะลอตัวจากออเดอร์ในต่างประเทศมีลดน้อยลง รวมทั้งความไม่สงบทางด้านการเมืองตั้งแต่การปิดสนามบินสุวรรณภูมิ ตลอดมาจนถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงสงกรานต์ที่ผ่านมา ทำให้ภาพรวมการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ให้กับผู้ประกอบการไม่สูงมากนักการส่งต่อสินเชื่อมาให้ทาง บสย.ค้ำประกันก็ต่ำตามไปด้วย
อย่างไรก็ตาม ในจำนวน 20 ล้านบาทที่ทาง บสย.เข้าไปค้ำประกันแล้วนั้น เป็นผู้ประกอบการจำนวน 12 ราย ซึ่งจะอยู่ในภาคอุตสาหกรรมแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร อุตสาหกรรมแปรรูปสัตว์น้ำ และอุตสาหกรรมบริการและท่องเที่ยว ในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ระนอง สุราษฎร์ธานี เป็นต้น
นายสุทธิเดช เผยอีกว่า โดยภาพรวมแล้วปีนี้ทาง บสย.ได้รับเป้าหมายในการค้ำประกันสินเชื่อให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีประมาณ 30,000 ล้านบาท โดยเมื่อเร็วๆนี้ ทางบสย.ได้จับมือกับธนาคารพาณิชย์ทั้ง 16 แห่งในการเข้าไปค้ำประกันสินเชื่อให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ตามโครงการค้ำประกันสินเชื่อแบบ Profolio Guarantee Scheme วงเงินรวม 30,000 ล้านบาท โดยทางธนาคารพิจารณาส่งลูกค้าให้ บสย.ค้ำประกันสินเชื่อภายใน 1 ปี มีอายุค้ำประกันระยะเวลา 5 ปี อัตราค่าธรรมเนียม 1.75% ต่อปีของวงเงินที่ บสย.ค้ำประกัน ซึ่งโครงการดังกล่าวเกิดขึ้นเพื่อตอบสนองนโยบายรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจและเพื่อเป็นการเพิ่มสภาพคล่องให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีให้สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้
โดยในส่วนของภาคใต้ตอนบนเป้าหมายเราคาดว่าในสิ้นสุดไตรมาส 2 จะเข้าไปค้ำประกันสินเชื่อให้กับผู้ประกอบการอยู่ที่ 400 ล้านบาท และในส่วนของผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาการปิดสนามบินที่ทางรัฐบาลได้อนุมัติวงเงินช่วยเหลือ 5,000 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นผ่านทางธนาคารพาณิชย์ 3,000 ล้านบาท และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม 2,000 ล้านบาทนั้น ทาง บสย.จะเข้าไปค้ำประกันไม่เกิน 750 ล้านบาท ด้วยค่าธรรมเนียมค้ำประกันสินเชื่อเดิมจาก 1.75% เหลือเพียง 0.25% ตามนโยบายรัฐบาลที่ต้องการช่วยเหลือผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวไม่ต้องปิดกิจการในช่วงที่มีปัญหา
ขณะที่ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้การเข้าไปสนับสนุนการลงทุนของบีโอไอ.ในพื้นที่ภาคใต้ตอนบนก็ชะลอตัวเช่นเดียวกัน โดยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2552 นี้ ตั้งแต่เดือนมกราคม-31 มีนาคม 2552 นี้ มีโครงการที่ได้รับการอนุมัติส่งเสริมการลงทุนไปทั้งสิ้น 14 โครงการ เงินลงทุน 2,163 ล้านบาทเท่านั้น
นายสุทธิเดช ช่วยคล้าย ผู้ช่วยผู้จัดการ สำนักงานจังหวัดสุราษฎร์ธานี บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม หรือ บสย.เปิดเผยต่อ “ASTV ผู้จัดการ” ถึงการเข้าไปค้ำประกันสินเชื่อให้กับผู้ประกอบการขนาดย่อมในพื้นที่ภาคใต้ตอนบนในช่วงไตรมาสแรกของปี 2552 นี้ว่า ตั้งแต่เดือนมกราคม-มีนาคม 2552 นี้ บสย.สาขาสุราษฎร์ธานี ซึ่งรับผิดชอบพื้นที่ภาคใต้ตอนบนได้เข้าไปค้ำประกันสินเชื่อให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี 20 ล้านบาทเท่านั้น ซึ่งถือว่าต่ำมาก หากเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ที่ไตรมาสแรกทาง บสย.สาขาสุราษฎร์ธานีได้เข้าไปค้ำประกันสินเชื่อกว่า 100 ล้านบาท
ทั้งนี้ เนื่องจากการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ให้กับผู้ประกอบการในพื้นที่ค่อนข้างที่จะเข้มงวด ทางธนาคารเน้นการรักษาสภาพคล่องของผู้ประกอบการที่เป็นลูกหนี้รายเดิมให้มีความสามารถในการชำระหนี้มากกว่าการปล่อยสินเชื่อให้กับผู้ประกอบการรายใหม่ รวมทั้งมีการปรับโครงสร้างหนี้เพื่อให้ลูกค้าพ้นวิกฤตช่วงนี้ไปได้ ประกอบกับการลงทุนใหม่ๆเกิดขึ้นน้อยจาก ผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจของไทยที่ชะลอตัว ทำให้นักลงทุนชะลอการตัดสินใจลงขยายการลงทุนและลงทุนใหม่ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการส่งออกมีการชะลอตัวจากออเดอร์ในต่างประเทศมีลดน้อยลง รวมทั้งความไม่สงบทางด้านการเมืองตั้งแต่การปิดสนามบินสุวรรณภูมิ ตลอดมาจนถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงสงกรานต์ที่ผ่านมา ทำให้ภาพรวมการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ให้กับผู้ประกอบการไม่สูงมากนักการส่งต่อสินเชื่อมาให้ทาง บสย.ค้ำประกันก็ต่ำตามไปด้วย
อย่างไรก็ตาม ในจำนวน 20 ล้านบาทที่ทาง บสย.เข้าไปค้ำประกันแล้วนั้น เป็นผู้ประกอบการจำนวน 12 ราย ซึ่งจะอยู่ในภาคอุตสาหกรรมแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร อุตสาหกรรมแปรรูปสัตว์น้ำ และอุตสาหกรรมบริการและท่องเที่ยว ในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ระนอง สุราษฎร์ธานี เป็นต้น
นายสุทธิเดช เผยอีกว่า โดยภาพรวมแล้วปีนี้ทาง บสย.ได้รับเป้าหมายในการค้ำประกันสินเชื่อให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีประมาณ 30,000 ล้านบาท โดยเมื่อเร็วๆนี้ ทางบสย.ได้จับมือกับธนาคารพาณิชย์ทั้ง 16 แห่งในการเข้าไปค้ำประกันสินเชื่อให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ตามโครงการค้ำประกันสินเชื่อแบบ Profolio Guarantee Scheme วงเงินรวม 30,000 ล้านบาท โดยทางธนาคารพิจารณาส่งลูกค้าให้ บสย.ค้ำประกันสินเชื่อภายใน 1 ปี มีอายุค้ำประกันระยะเวลา 5 ปี อัตราค่าธรรมเนียม 1.75% ต่อปีของวงเงินที่ บสย.ค้ำประกัน ซึ่งโครงการดังกล่าวเกิดขึ้นเพื่อตอบสนองนโยบายรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจและเพื่อเป็นการเพิ่มสภาพคล่องให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีให้สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้
โดยในส่วนของภาคใต้ตอนบนเป้าหมายเราคาดว่าในสิ้นสุดไตรมาส 2 จะเข้าไปค้ำประกันสินเชื่อให้กับผู้ประกอบการอยู่ที่ 400 ล้านบาท และในส่วนของผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาการปิดสนามบินที่ทางรัฐบาลได้อนุมัติวงเงินช่วยเหลือ 5,000 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นผ่านทางธนาคารพาณิชย์ 3,000 ล้านบาท และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม 2,000 ล้านบาทนั้น ทาง บสย.จะเข้าไปค้ำประกันไม่เกิน 750 ล้านบาท ด้วยค่าธรรมเนียมค้ำประกันสินเชื่อเดิมจาก 1.75% เหลือเพียง 0.25% ตามนโยบายรัฐบาลที่ต้องการช่วยเหลือผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวไม่ต้องปิดกิจการในช่วงที่มีปัญหา
ขณะที่ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้การเข้าไปสนับสนุนการลงทุนของบีโอไอ.ในพื้นที่ภาคใต้ตอนบนก็ชะลอตัวเช่นเดียวกัน โดยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2552 นี้ ตั้งแต่เดือนมกราคม-31 มีนาคม 2552 นี้ มีโครงการที่ได้รับการอนุมัติส่งเสริมการลงทุนไปทั้งสิ้น 14 โครงการ เงินลงทุน 2,163 ล้านบาทเท่านั้น