ศูนย์ข่าวภูเก็ต - บสย.ร่วมมือกับธนาคารพาณิชย์ค้ำประกันสินเชื่อโครงการค้ำประกันสินเชื่อวงเงินรวม 30,000 ล้านบาท ให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs สนองนโยบายรัฐ โดยมีข้อตกลงในการกำหนดวงเงิน ค้ำประกันให้ธนาคารพาณิชย์เป็นพอร์ต กำหนดตัวเลขหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) และสัดส่วนความรับผิดชอบของ บสย. ช่วยให้ บสย. และธนาคารพาณิชย์สามารถควบคุม NPL ที่จะเกิดขึ้นได้ เพื่อสร้างความมั่นใจให้ธนาคารพาณิชย์ปล่อยสินเชื่อให้ SMEs มากขึ้น
ดร.นริศ ชัยสูตร ประธานกรรมการ บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) กล่าวว่า เพื่อตอบสนองนโยบายรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศภายใต้วิกฤตเศรษฐกิจในปัจจุบัน รวมถึงมาตรการในการแก้ไขปัญหาทางการเงินและเสริมสภาพคล่องของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ให้สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ บสย. ได้ร่วมหารือกับกระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทยและธนาคารพาณิชย์ ในการกำหนดรูปแบบการค้ำประกันที่เหมาะสม เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์มีความมั่นใจในการให้สินเชื่อแก่ SMEs และเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล
บสย.จะค้ำประกันสินเชื่อให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs ผ่านธนาคารพาณิชย์ภายใต้ "โครงการค้ำประกันสินเชื่อแบบ Portfolio Guarantee Scheme วงเงินรวม 30,000 ล้านบาท" เป็นโครงการ ค้ำประกันสินเชื่อที่ บสย.และธนาคารกำหนดพอร์ตการค้ำประกันร่วมกันตั้งแต่ 1,000-5,000 ล้านบาท
โดยธนาคารพิจารณาส่งลูกค้าให้ บสย. ค้ำประกันสินเชื่อภายใน 1 ปี มีอายุการค้ำประกันระยะเวลา 5 ปี อัตราค่าธรรมเนียม 1.75% ต่อปีของวงเงินที่ บสย.ค้ำประกัน ซึ่งหากธนาคารพาณิชย์ร่วมกันปล่อยสินเชื่อให้ SMEs จะช่วยให้มีเงินทุนหมุนเวียนในระบบ 9-10 เท่าหรือประมาณ 300,000 ล้านบาท สามารถช่วยผู้ประกอบการ SMEsได้กว่า 15,000 ราย ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานในภาคอุตสาหกรรมถึง 300,000 ราย
การค้ำประกันสินเชื่อภายใต้โครงการนี้ บสย.สามารถอนุมัติการค้ำประกันได้อย่างรวดเร็วภายใน 3-5 วันทำการ ทำให้ธนาคารสามารถปล่อยสินเชื่อให้ผู้ประกอบการได้เร็วขึ้น และช่วยให้ บสย.และธนาคารสามารถบริหาร NPL ที่จะเกิดขึ้นได้จากการกำหนดสัดส่วนความรับผิดชอบ ตามระดับหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ที่เกิดขึ้น
ทั้งนี้ บสยได้กำหนดเงื่อนไขในการช่วยผู้ประกอบการ SMEs สำหรับการค้ำประกันรูปแบบนี้โดยจะค้ำประกันสินเชื่อใหม่ทุกกลุ่มธุรกิจ และมีรูปแบบการค้ำประกัน 3 รูปแบบ ประกอบด้วย
1.แบบที่มีหลักประกัน ผู้ประกอบการจะต้องมีหลักประกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของสินเชื่อรวม บสย. จะค้ำประกันสูงสุดต่อรายไม่เกิน 20 ล้านบาท
2.แบบไม่มีหลักประกัน ผู้ประกอบการที่ไม่มีหลักประกันหรือมีหลักประกันน้อยกว่าร้อยละ 30 ของสินเชื่อรวม บสย. จะค้ำประกันสูงสุดต่อรายไม่เกิน 20 ล้านบาท
3.ผู้ประกอบการที่เป็น NPL ไม่เกิน 12 เดือน แต่ยังมีศักยภาพในการดำเนินธุรกิจ บสย. จะค้ำประกันสินเชื่อสูงสุดต่อรายไม่เกิน 10 ล้านบาท
นายทวีศักดิ์ ฟุ้งเกียรติเจริญ กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บสย. กล่าวเพิ่มเติมว่า บสย. พร้อมแล้วสำหรับค้ำประกันสินเชื่อให้แก่ SMEs ทุกกลุ่มอุตสาหกรรมผ่านโครงการดังกล่าว และ ได้จัดทีมประสานงานกับธนาคารเพื่อให้คำปรึกษาในเรื่องหลักเกณฑ์การค้ำประกันและตอบข้อสงสัยต่างๆ
สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว โรงแรม รวมถึงธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง ที่ได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของธุรกิจท่องเที่ยว บสย. จะค้ำประกันผ่านโครงการดังกล่าวเช่นกันและลดค่าธรรมเนียมค้ำประกันสินเชื่อจากเดิม 1.75% เหลือ 0.25 % ตามนโยบายรัฐบาล เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวไม่ต้องปิดกิจการในภาวะที่มีปัญหาและช่วยลดความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจ
ดร.นริศ ชัยสูตร ประธานกรรมการ บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) กล่าวว่า เพื่อตอบสนองนโยบายรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศภายใต้วิกฤตเศรษฐกิจในปัจจุบัน รวมถึงมาตรการในการแก้ไขปัญหาทางการเงินและเสริมสภาพคล่องของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ให้สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ บสย. ได้ร่วมหารือกับกระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทยและธนาคารพาณิชย์ ในการกำหนดรูปแบบการค้ำประกันที่เหมาะสม เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์มีความมั่นใจในการให้สินเชื่อแก่ SMEs และเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล
บสย.จะค้ำประกันสินเชื่อให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs ผ่านธนาคารพาณิชย์ภายใต้ "โครงการค้ำประกันสินเชื่อแบบ Portfolio Guarantee Scheme วงเงินรวม 30,000 ล้านบาท" เป็นโครงการ ค้ำประกันสินเชื่อที่ บสย.และธนาคารกำหนดพอร์ตการค้ำประกันร่วมกันตั้งแต่ 1,000-5,000 ล้านบาท
โดยธนาคารพิจารณาส่งลูกค้าให้ บสย. ค้ำประกันสินเชื่อภายใน 1 ปี มีอายุการค้ำประกันระยะเวลา 5 ปี อัตราค่าธรรมเนียม 1.75% ต่อปีของวงเงินที่ บสย.ค้ำประกัน ซึ่งหากธนาคารพาณิชย์ร่วมกันปล่อยสินเชื่อให้ SMEs จะช่วยให้มีเงินทุนหมุนเวียนในระบบ 9-10 เท่าหรือประมาณ 300,000 ล้านบาท สามารถช่วยผู้ประกอบการ SMEsได้กว่า 15,000 ราย ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานในภาคอุตสาหกรรมถึง 300,000 ราย
การค้ำประกันสินเชื่อภายใต้โครงการนี้ บสย.สามารถอนุมัติการค้ำประกันได้อย่างรวดเร็วภายใน 3-5 วันทำการ ทำให้ธนาคารสามารถปล่อยสินเชื่อให้ผู้ประกอบการได้เร็วขึ้น และช่วยให้ บสย.และธนาคารสามารถบริหาร NPL ที่จะเกิดขึ้นได้จากการกำหนดสัดส่วนความรับผิดชอบ ตามระดับหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ที่เกิดขึ้น
ทั้งนี้ บสยได้กำหนดเงื่อนไขในการช่วยผู้ประกอบการ SMEs สำหรับการค้ำประกันรูปแบบนี้โดยจะค้ำประกันสินเชื่อใหม่ทุกกลุ่มธุรกิจ และมีรูปแบบการค้ำประกัน 3 รูปแบบ ประกอบด้วย
1.แบบที่มีหลักประกัน ผู้ประกอบการจะต้องมีหลักประกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของสินเชื่อรวม บสย. จะค้ำประกันสูงสุดต่อรายไม่เกิน 20 ล้านบาท
2.แบบไม่มีหลักประกัน ผู้ประกอบการที่ไม่มีหลักประกันหรือมีหลักประกันน้อยกว่าร้อยละ 30 ของสินเชื่อรวม บสย. จะค้ำประกันสูงสุดต่อรายไม่เกิน 20 ล้านบาท
3.ผู้ประกอบการที่เป็น NPL ไม่เกิน 12 เดือน แต่ยังมีศักยภาพในการดำเนินธุรกิจ บสย. จะค้ำประกันสินเชื่อสูงสุดต่อรายไม่เกิน 10 ล้านบาท
นายทวีศักดิ์ ฟุ้งเกียรติเจริญ กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บสย. กล่าวเพิ่มเติมว่า บสย. พร้อมแล้วสำหรับค้ำประกันสินเชื่อให้แก่ SMEs ทุกกลุ่มอุตสาหกรรมผ่านโครงการดังกล่าว และ ได้จัดทีมประสานงานกับธนาคารเพื่อให้คำปรึกษาในเรื่องหลักเกณฑ์การค้ำประกันและตอบข้อสงสัยต่างๆ
สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว โรงแรม รวมถึงธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง ที่ได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของธุรกิจท่องเที่ยว บสย. จะค้ำประกันผ่านโครงการดังกล่าวเช่นกันและลดค่าธรรมเนียมค้ำประกันสินเชื่อจากเดิม 1.75% เหลือ 0.25 % ตามนโยบายรัฐบาล เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวไม่ต้องปิดกิจการในภาวะที่มีปัญหาและช่วยลดความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจ