ศูนย์ข่าวภูเก็ต - บอร์ด ทอท.เห็นชอบแผนพัฒนาท่าอากาศยานภูเก็ต 5 พันล้านบาท รองรับผู้โดยสารได้ถึง 11.5 ล้านคน ภายในปี 2561 พร้อมบริการที่จอดเครื่องบินส่วนตัว เผยงบลงทุนมาจากงบของ ทอท.และเงินกู้บางส่วน เตรียมส่งแผนเข้าสู่คณะกรรมการด้านการเงินการลงทุนก่อนขอความเห็นชอบจากสภาพัฒน์
นายปิยะพันธ์ จัมปาสุต ประธานคณะกรรมการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย (ทอท.) กล่าวถึงแผนพัฒนาท่าอากาศยานภูเก็ต ในโอกาสเดินทางมาประชุมบอร์ดสัญจร ที่ห้องประชุมท่าอากาศยานภูเก็ตว่า จากรายงานประกอบการพิจารณาแผนพัฒนาท่าอากาศยานภูเก็ต ซึ่งปัจจุบันท่าอากาศยานภูเก็ตสามารถรองรับผู้โดยสารได้เต็มขีดความสามารถประมาณ 6.5 ล้านคนต่อปี แต่ปัจจุบันมีผู้โดยสารเข้ามาใช้บริการท่าอากาศยานภูเก็ตประมาณ 6 ล้านคนต่อปี ซึ่งใกล้เต็มขีดความสามารถที่จะรองรับได้ ดังนั้น จึงต้องรีบจัดทำแผนพัฒนาและดำเนินการโดยเร็ว ซึ่งจะต้องให้แล้วเสร็จในปี 2556 ซึ่งจะขยายขีดความสามารถในการรองรับผู้โดยสารเป็น 11.5 ล้านคนต่อปี และจะรองรับได้ไปจนถึงปี 2561
จากการฟังบรรยายสรุป ตรวจสภาพพื้นที่จริง และคำชี้แจงของผู้อำนวยการท่าอากาศยานภูเก็ตเกี่ยวกับพื้นที่ที่จะทำการก่อสร้างและปรับปรุง บอร์ดฯได้มีมติตามที่ท่าอากาศยานภูเก็ตนำเสนอ แต่จากการปรับปรุงหรือขยาย มีข้อจำกัดของท่าอากาศยานภูเก็ต ซึ่งถูกขนาบด้วยภูเขาและทะเล ทำให้ไม่สามารถที่จะขยายทางวิ่งหรือรันเวย์เพิ่มได้อีก
ทั้งนี้ มีขีดความสามารถรองรับเครื่องบินขึ้นลงได้ที่ 20 เที่ยวบินต่อชั่วโมง หรือเที่ยวบินละ 3 นาที จากข้อจำกัดดังกล่าวเมื่อถึงปี 2561 ซึ่งเต็มขีดความสามารถที่ 11.5 ล้านคน ก็จะยังสามารถขยายได้เพิ่มเติมเล็กน้อย คือ ประมาณ 15 ล้านคนเท่านั้น ซึ่งเมื่อถึงจุดนั้นก็คงต้องหาแนวทางการแก้ไขต่อไป แต่ในแง่ของกายภาพคงทำได้ลำบาก คงต้องใช้ความสามารถในเชิงบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
นายปิยะพันธ์กล่าวต่อว่า นอกจากนั้นบอร์ดเห็นว่าในแผนการพัฒนาดังกล่าวไม่มีจุดในการรองรับการลงจอดของเครื่องบินไพรเวตเจ็ต หรือเครื่องบินส่วนตัว ซึ่งที่ผ่านมามีผู้มาขอใช้บริการปีละประมาณ 100 ลำ และในภูมิภาคนี้มีหลายประเทศที่มีให้บริการจอดเครื่องบินส่วนตัว เช่น ฮ่องกง สิงคโปร์ จึงจำเป็นต้องจัดให้มีการบริการดังกล่าวแล้ว จึงเห็นควรให้เพิ่มในส่วนนี้เข้าไปด้วย เพราะยังมีพื้นที่บางส่วนที่พอจะรองรับได้
นอกจากนี้ บอร์ดยังเห็นว่าสิ่งที่จะต้องทำควบคู่กันไปกับการพัฒนาสนามบินภูเก็ต คือ การพัฒนาพื้นที่เชิงธุรกิจ ในส่วนของร้านค้า และบริการต่างๆ ภายในอาคาร ซึ่งปัจจุบันมีการเติบโตอย่างไร้ทิศทาง โดยให้กำหนดรูปแบบที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน เพื่อให้เกิดความเป็นเอกลักษณ์และสวยงาม สร้างความประทับใจให้แก่ผู้ใช้บริการ ตลอดจนการจัดโซนนิ่ง ซึ่งจะทำให้รายได้ของ ทอท.เพิ่มมากขึ้น รวมทั้งการดำเนินการในส่วนของ ทอท.เชียงใหม่ เชียงรายและหาดใหญ่ต่อไปด้วย
ในเรื่องของงบประมาณในการพัฒนาซึ่งต้องใช้ประมาณ 5,000 ล้านบาทอาจจะมีปัญหาบ้าง โดยแนวทางจะใช้งบของ ทอท.ส่วนหนึ่ง และเป็นเงินกู้อีกส่วนหนึ่ง แต่ขณะนี้ยังไม่ได้มีการกำหนดว่าจะเป็นสัดส่วนอย่างไร โดยได้มอบหมายให้ผู้บริหารไปดูรายละเอียดอีกครั้งหนึ่งว่าจะเป็นอย่างไรเพื่อจะได้ไม่เป็นภาระต่อทอท.มากนัก โดยขณะนี้มีแบบแปลนไว้แล้ว และขั้นตอนต่อไปคือการส่งเรื่องให้คณะกรรมการด้านการเงินการลงทุนของ ทอท.จากนั้นก็จะได้เสนอสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติต่อไป
อย่างไรก็ตาม จากภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันได้ส่งผลกระทบในบางเรื่อง ดังนั้นจึงต้องหาแนวทางในการเพิ่มรายได้และลดรายจ่าย โดยลำดับความสำคัญและจำเป็น ในภาพรวมของ ทอท.ที่อยู่ในความดูแลได้ตัดงบประมาณไปแล้วประมาณ 1,500 ล้านบาท
นายปิยะพันธ์ จัมปาสุต ประธานคณะกรรมการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย (ทอท.) กล่าวถึงแผนพัฒนาท่าอากาศยานภูเก็ต ในโอกาสเดินทางมาประชุมบอร์ดสัญจร ที่ห้องประชุมท่าอากาศยานภูเก็ตว่า จากรายงานประกอบการพิจารณาแผนพัฒนาท่าอากาศยานภูเก็ต ซึ่งปัจจุบันท่าอากาศยานภูเก็ตสามารถรองรับผู้โดยสารได้เต็มขีดความสามารถประมาณ 6.5 ล้านคนต่อปี แต่ปัจจุบันมีผู้โดยสารเข้ามาใช้บริการท่าอากาศยานภูเก็ตประมาณ 6 ล้านคนต่อปี ซึ่งใกล้เต็มขีดความสามารถที่จะรองรับได้ ดังนั้น จึงต้องรีบจัดทำแผนพัฒนาและดำเนินการโดยเร็ว ซึ่งจะต้องให้แล้วเสร็จในปี 2556 ซึ่งจะขยายขีดความสามารถในการรองรับผู้โดยสารเป็น 11.5 ล้านคนต่อปี และจะรองรับได้ไปจนถึงปี 2561
จากการฟังบรรยายสรุป ตรวจสภาพพื้นที่จริง และคำชี้แจงของผู้อำนวยการท่าอากาศยานภูเก็ตเกี่ยวกับพื้นที่ที่จะทำการก่อสร้างและปรับปรุง บอร์ดฯได้มีมติตามที่ท่าอากาศยานภูเก็ตนำเสนอ แต่จากการปรับปรุงหรือขยาย มีข้อจำกัดของท่าอากาศยานภูเก็ต ซึ่งถูกขนาบด้วยภูเขาและทะเล ทำให้ไม่สามารถที่จะขยายทางวิ่งหรือรันเวย์เพิ่มได้อีก
ทั้งนี้ มีขีดความสามารถรองรับเครื่องบินขึ้นลงได้ที่ 20 เที่ยวบินต่อชั่วโมง หรือเที่ยวบินละ 3 นาที จากข้อจำกัดดังกล่าวเมื่อถึงปี 2561 ซึ่งเต็มขีดความสามารถที่ 11.5 ล้านคน ก็จะยังสามารถขยายได้เพิ่มเติมเล็กน้อย คือ ประมาณ 15 ล้านคนเท่านั้น ซึ่งเมื่อถึงจุดนั้นก็คงต้องหาแนวทางการแก้ไขต่อไป แต่ในแง่ของกายภาพคงทำได้ลำบาก คงต้องใช้ความสามารถในเชิงบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
นายปิยะพันธ์กล่าวต่อว่า นอกจากนั้นบอร์ดเห็นว่าในแผนการพัฒนาดังกล่าวไม่มีจุดในการรองรับการลงจอดของเครื่องบินไพรเวตเจ็ต หรือเครื่องบินส่วนตัว ซึ่งที่ผ่านมามีผู้มาขอใช้บริการปีละประมาณ 100 ลำ และในภูมิภาคนี้มีหลายประเทศที่มีให้บริการจอดเครื่องบินส่วนตัว เช่น ฮ่องกง สิงคโปร์ จึงจำเป็นต้องจัดให้มีการบริการดังกล่าวแล้ว จึงเห็นควรให้เพิ่มในส่วนนี้เข้าไปด้วย เพราะยังมีพื้นที่บางส่วนที่พอจะรองรับได้
นอกจากนี้ บอร์ดยังเห็นว่าสิ่งที่จะต้องทำควบคู่กันไปกับการพัฒนาสนามบินภูเก็ต คือ การพัฒนาพื้นที่เชิงธุรกิจ ในส่วนของร้านค้า และบริการต่างๆ ภายในอาคาร ซึ่งปัจจุบันมีการเติบโตอย่างไร้ทิศทาง โดยให้กำหนดรูปแบบที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน เพื่อให้เกิดความเป็นเอกลักษณ์และสวยงาม สร้างความประทับใจให้แก่ผู้ใช้บริการ ตลอดจนการจัดโซนนิ่ง ซึ่งจะทำให้รายได้ของ ทอท.เพิ่มมากขึ้น รวมทั้งการดำเนินการในส่วนของ ทอท.เชียงใหม่ เชียงรายและหาดใหญ่ต่อไปด้วย
ในเรื่องของงบประมาณในการพัฒนาซึ่งต้องใช้ประมาณ 5,000 ล้านบาทอาจจะมีปัญหาบ้าง โดยแนวทางจะใช้งบของ ทอท.ส่วนหนึ่ง และเป็นเงินกู้อีกส่วนหนึ่ง แต่ขณะนี้ยังไม่ได้มีการกำหนดว่าจะเป็นสัดส่วนอย่างไร โดยได้มอบหมายให้ผู้บริหารไปดูรายละเอียดอีกครั้งหนึ่งว่าจะเป็นอย่างไรเพื่อจะได้ไม่เป็นภาระต่อทอท.มากนัก โดยขณะนี้มีแบบแปลนไว้แล้ว และขั้นตอนต่อไปคือการส่งเรื่องให้คณะกรรมการด้านการเงินการลงทุนของ ทอท.จากนั้นก็จะได้เสนอสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติต่อไป
อย่างไรก็ตาม จากภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันได้ส่งผลกระทบในบางเรื่อง ดังนั้นจึงต้องหาแนวทางในการเพิ่มรายได้และลดรายจ่าย โดยลำดับความสำคัญและจำเป็น ในภาพรวมของ ทอท.ที่อยู่ในความดูแลได้ตัดงบประมาณไปแล้วประมาณ 1,500 ล้านบาท