xs
xsm
sm
md
lg

คกก.สื่อสารฯ ลงสตูลปรามวิทยุเถื่อน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

สตูล - คณะกรรมาธิการสื่อสารและโทรคมนาคม ลงสตูล เร่งจัดสรรกฎหมายห้ามปรามวิทยุเถื่อนตามต่างจังหวัด ซึ่งอาจจะใช้ในทางที่ไม่ถูกต้อง พร้อมให้ประชาสัมพันธ์เร่งเป็นหูเป็นตา



วันนี้ (25 เม.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายสุเมธ ชัยเลิศวณิชกุล ผู้ว่าราชการ จ.สตูล ร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูล จัดการสัมมนาในหัวข้อเรื่อง เทคโนโลยีการสื่อสารกับการป้องกันอุบัติภัย ของคณะกรรมาธิการการสื่อสารและโทรคมนาคม สภาผู้แทนราษฎร มีนายรณฤทธิชัย คานเขต ประธานคณะกรรรมาธิการการสื่อสารและโทรคมนาคม กล่าวเปิดการสัมมนาในครั้งนี้เพื่อได้ตระหนักถึงปัญหาและความสำคัญดังกล่าว ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อชีวิตทรัพย์สินและโครงสร้างทางเศรษฐ์กิจและสังคมโดยรวม จึงเห็นว่า การจัดสัมมนาในครั้งนี้เป็นการสร้างความรู้อย่างถูกต้องของการใช้สื่อต่างๆ และการจัดทำการเตรียมพร้อมหากเกิดภัยพิบัติต่างๆที่ไม่คาดคิด จะได้เตรียมพร้อมและสื่อสารให้กับประชาชนได้ทันท่วงที พร้อมกับจัดเจ้าหน้าที่ดูแลอย่าให้มีสถานีวิทยุชุมชนเถื่อนที่ไม่ได้ขอใบอนุญาตอย่างเข้ม

ในครั้งนี้มี ภาครัฐและเอกชน ผู้ประกอบการท่องเที่ยวในพื้นที่ และ สื่อมวลชน ประชาชนเข้าร่วมฟัง 200 คน ที่ห้องประชุมศูนย์สารสนเทศองค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูล อ.เมือง จ.สตูล

นายรณฤทธิชัย คานเขต ประธานคณะกรรมาธิการการสื่อสารฯลฯ เปิดเผยว่า พระราชบัญญัติเรื่องของคลื่นความถี่ เมื่อของปี 2550 นี้ ได้พูดถึงความเป็นอิสสระของความเป็นสื่อมวลชนและเรื่องของวิทยุชุมชน ซึ่งในขณะนั้นมีผู้แทนที่จะเข้ามาขอคลื่นความถี่จาก 100 % เหลือแค่ 20 % แต่ทางราชบัญญัติไม่ได้ออกกฎนี้ให้ จึงมีคลื่นวิทยุที่ทดลองออกก่อน ดั้งนั้นจึงมีคลื่นวิทยุความถี่เกือบ 5,000 สถานี

ส่วนวิธีการที่จะเข้าไปดูแลซึ่งสมัยก่อน กรมประชาสัมพันธ์เป็นผู้ที่อนุญาต แต่พอมีองค์กรอิสระเกิดขึ้น ทางกรมประชาสัมพันธ์ที่เคยมีอำนาจดูแลก็ต้องไปเป็นของทาง คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ส่วนทาง (กทช.) เองนั้นพระราชบัญญัติยังไม่เสร็จสิ้น จึงทำให้พระราชบัญญัติ ข้อกฎหมายต่างๆ ระเบียบต่างๆ ก็ยังไม่ชัดเจน แต่ถ้าสื่อทดลองการออกอากาศ และไปละเมินดูหมิ่นเบื้องสูง ทาง กทช. สามารถเข้าไปดำเนินการได้ทันที และตรวจสอบพบว่ามีคลื่นวิทยุที่ไม่มีการเสนอลงทะเบียน กว่า 5,000 สถานีทั่วประเทศ

“ในแต่ละจังหวัดนั้น ทางเราได้พูดกับทางการประชุมของกรรมาธิการ และให้ทางกรมประชาสัมพันธ์เข้ามาชี้แจงในเรื่องนี้ ซึ่งในอดีตกรมประชาสัมพันธ์เคยเป็นผู้ที่ดูแลเรื่องนี้ และเป็นคนจัดคลื่นความถี่ให้ และถึงแม้จะไม่มีอำนาจแล้วก็ตาม ควรจะเป็นหูเป็นตาให้รัฐบาลได้ เช่น สถานีวิทยุใช้คลื่นวิทยุออกมาทำให้คนอื่นเสียหายกับบุคคลที่สามก็สามารถฟ้องร้องได้ โดยแจ้งไปทาง กทช. และให้ทางกทช.มาดำเนินการ เพราะกทช.เองมีบุคลากรทั่วถึงที่จะไปเดินตามตรวจสอบ”

อย่างไรก็ตาม ทางกรมประชาสัมพันธ์แต่ละจังหวัดสามรถเข้าไปดูแลแทนได้ และยิ่งเป็นเรื่องการจาบจ้วง หรือ หมิ่นสถาบัน หมิ่นเบื้องสูง เราจะต้องช่วยกันในสถานะที่เป็นคนไทย ถึงจะเป็นใครก็ตามที่ฟังอยู่และได้ยินคำดังกล่าวที่ดูหมิ่นเบื้องสูง ก็สามารถเป็นผู้ที่กล่าวโทษได้ ส่วนทางด้านคณะกรรมการวิสามัญพิจารณาคลื่นความถี่ด้วย และมีเรื่องที่จำเป็นต้องพูดเยอะและเป็นเรื่องละเอียดอ่อน

ที่สำคัญที่สุดเรื่อง พ.ร.บ.คลื่นความถี่ต้องมีความจริงใจในการที่จะทำให้เกิดประโยชน์กับคนซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวข้องทั้งหมด อย่าหวงอำนาจกับตัวเองไว้ ในส่วนที่รับธรรมนูญกำหนด ให้คลื่นความถี่แบ่งสรรให้กับภาคเอกชน 20%ซึ่งมีความจำเป็นต้องทำ เพราะวันนี้วิทยุชุมชนที่เปิดขึ้นมาแล้วนี้จะให้ยกเลิกคงจราจลกันทั้งประเทศแน่เพราะว่าได้ลงทุนกันไปแล้ว และในส่วน 20% นี้มีข้อตกลงไว้ในรัฐธรรมนูญในภาคประชาชนคงต้องจัดสรรให้กับพี่น้องที่ตั้งสถานีวิทยุชุมชนทั่วประเทศ
กำลังโหลดความคิดเห็น