นครศรีธรรมราช - โครงการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเทศบาลนครนครศรีธรรมราชปั่นป่วน ผู้สูงอายุ บุกเทศบาลร้องเรียนอีก 2,499 คน รายไม่มีรายชื่อ หลังจากมีกลุ่มคนอ้างชื่อนายกรัฐมนตรีเปิดศูนย์รับลงทะเบียนผู้สูงอายุทั้งๆ ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง นายกเทศมนตรีรับกรรมประกาศไม่ยอมให้ผู้สูงอายุเสียสิทธิ์ระดม จนท.ตรวจสอบหาบรุ่งหาบค่ำ
วันนี้ (16 มี.ค.) ที่เทศบาลนครนครศรีธรรมราช ได้มีผู้สูงอายุจำนวนหนึ่งเดินทางเข้าไปสอบถามความคืบหน้ากรณีนโยบายจ่ายเบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุ ที่มีอายุ 60 ปี ขึ้นไปคนละ 500 บาทต่อเดือน หลังจากเมื่อวานนี้ (15 มี.ค. )เป็นวันสุดท้ายในการลงทะเบียน แต่จากการตรวจสอบรายชื่อผู้ที่ลงทะเบียนกับเทศบาลปรากฏว่าไม่มีรายชื่อผู้สูงอายุเหล่านั้นแต่อย่างใด เมื่อตรวจสอบกับรายชื่อผู้สูงอายุในเขตเทศบาลพบว่ามีผู้สูงอายุจำนวนมากถึง 2,500 คนที่ไม่ได้ลงทะเบียนขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุตามนโยบายของรัฐบาล
ในขณะที่ผู้สูงอายุจำนวนมากทราบข่าวว่าตัวเองไม่มีรายชื่อจึงแห่เดินทางมายังกองสวัสดิการและสังคมเทศบาลนครนครศรีธรรมราช และมีการโวยวายจนชุลมุนวุ่นวายปั่นป่วนไปทั้งเทศบาล โดยนำแผ่นปลิวของศูนย์ช่วยเหลือประชาชน (ผศ.เชาวน์วัศ แสนพงค์ ) ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ )
จากการสอบถามผู้สูงอายุที่ไม่มีรายชื่อลงทะเบียนกับเทศบาล ทราบว่าหลังจากรัฐบาลมีมติ ครม.อนุมัติเงินเบี้ยยังชีพช่วยเหลือผู้สูงอายุ ในวันที่ 13 ม.ค.2552 ในเขตเทศบาลนคร นครศรีธรรมราชได้มีกลุ่มนักการเมืองท้องถิ่นกลุ่มหนึ่งการแอบอ้างจัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือประชาชนของสำนักนายกรัฐมนตรีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เปิดรับลงทะเบียนผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครนครศรีธรรมราช ตามโครงการนี้ พร้อมแจกจ่ายใบปลิวเชิญชวนประชาชนให้ไปลงทะเบียน อ้างว่าจะประสานงานกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นการภายในเพื่อช่วยเหลือให้ประชาชนได้รับสิทธิ์รับเงินเดือนละ 500 บาทตามโครงการของรัฐบาลต่อไป พร้อมกับระบุชื่อบุคคล สถานที่ เบอร์โทรศัพท์ ของบุคคลที่เป็นผู้รับผิดชอบในเขตเทศบาล 4 จุดในพื้นที่ทั้ง 4 เขตของเทศบาลนคร นครศรีธรรมราช
ทั้งยังระบุว่าหากไปลงทะเบียนกับทางเทศบาลนครนครศรีธรรมราชอาจจะไม่ได้รับการพิจารณาให้ได้รับเงินเดือนละ 500 บาท เนื่องจากเทศบาล จะพิจารณาคัดเลือกเอาคนของตัวเองหรือหัวคะแนนให้ได้รับสิทธิ์ ทำให้ประชาชนจำนวน 2,449 คนดังกล่าวหลงเชื่อไปลงทะเบียนกับกลุ่มคนดังกล่าว จึงไม่มีรายชื่อลงทะเบียนกับทางเทศบาลนคร นครศรีธรรมราช
นายเจริญ ทวีทอง อายุ 62 ปี และนางกิ้มเซ่ง แซ่เบ้า อายุ 64 ปี กล่าวว่า หลังมีใบแผ่นปลิวเชิญชวนให้ผู้สูงอายุไปลงทะเบียนกับศูนย์ช่วยเหลือประชาชนสำนักนายกรัฐมนตรี จากนั้นได้มีคนตระเวนเก็บรวบรวมเอกสารของผู้สูงอายุทั่วเขตเทศบาล ผู้สูงอายุส่วนใหญ่จึงหลงเชื่อเพราะมีการแอบอ้างว่าเป็นศูนย์ช่วยเหลือประชาชนของเจ้าหน้าที่ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และระบุชื่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีอย่างชัดเจน ผู้สูงอายุจะรู้ได้อย่างไรว่ามีเบื้องหน้าเบื้องหลังอย่างไร และเมื่อเป็นเช่นนี้ใครจะรับผิดชอบ
ในขณะที่ นายปิ่น เอื้อตระการวิวัฒน์ ผอ.กองสวัสดิการและสังคมเทศบาลนคร นครศรีธรรมราช กล่าวว่า เจ้าหน้าที่พยายามอธิบายชี้แจงกับผู้สูงอายุเป็นรายบุคคลถึงปัญหาที่เกิดขึ้น โดยไม่ใช่ความผิดของเทศบาลเลย ที่ผ่านมาเทศบาลทราบว่ามีบุคคลที่อ้างว่าตัวเองเป็นข้าราชการการเมือง ประจำสำนักนายกรัฐมนตรีและแอบอ้างนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ตั้งศูนย์ช่วยเหลือประชาชนและเปิดรับลงทะเยียนผู้สูงอายุในช่วงแรกมีคนแห่ไปลงทะเบียนหลายพันคนจากผู้สูงอายุที่อยู่ในข่ายที่จะได้รับสิทธิ์ในเขตเทศบาลประมาณ 12,000 ราย
เทศบาลจึงได้ประชาสัมพันธ์ผ่านทางสื่อวิทยุ และเอกสาร เพื่อชี้แจงและแจ้งให้ผู้สูงอายุทราบลำดับขั้นตอนและวิธีการปฏิบัติ รวมทั้งสถานที่ที่รับลงทะเบียน จนมีผู้สูงอายุที่ไปลงทะเบียนกับศูนย์ช่วยเหลือประชาชนจำนวนหนึ่งต้องมาลงทะเบียนกับทางเทศบาลอีกครั้งหนึ่ง แต่ยังเหลืออีกเกือบ 2,500 คนไม่ได้มาลงทะเบียนกับเทศบาลเพราะเข้าใจผิดว่าลงทะเบียนกับศูนย์ช่วยเหลือประชาชนแล้ว ทำให้เกิดปัญหาขึ้นดังกล่าว
“อย่างไรก็ตาม รายชื่อทั้ง 2,449 คน ทราบว่าได้มีเจ้าหน้าที่ของศูนย์ช่วยเหลือประชาชนได้รวบรวมเอกสารหลักฐานผู้สูงอายุ 2,449 คนดังกล่าวไปส่งมอบโดยตรงกับนายภาณุ อุทัยรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อช่วงสายของวันที่ 15 มี.ค.2552 ซึ่งถือเป็นวันสุดท้าย ทางนายภาณุ อุทัยรัตน์ จึงได้รวบรวมเอกสารหลักฐานทั้งหมดพร้อมแนบหนังสือคำสั่งส่งมายังนายสมนึก เกตุชาติ นายกเทศมนตรีนครนครศรีธรรมราช เพื่อดำเนินการต่อไป”
นายสมนึก เกตุชาติ กล่าวว่า ยอมรับว่าเรื่องที่เกิดขึ้นทำให้เกิดความยุ่งยากวุ่นวายปั่นป่วนไปหมด และอาจจะทำให้ผู้สูงอายุ 2,449 คน ที่ไม่ได้ลงทะเบียนกับเทศบาลแต่ไปลงทะเบียนกับศูนย์ช่วยเหลือประชาชน สำนักนายกรัฐมนตรีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ตามที่มีการประกาศเชิญชวนเสียสิทธิ์ได้ แต่ตนได้สั่งกำชับเจ้าหน้าที่ว่าจะต้องช่วยเหลือประชาชนทุกคนให้ได้รับสิทธิ์นี้ โดยระดมกำลังเจ้าหน้าที่ทั่งเทศบาลมาช่วยกันตรวจสอบ ความถูกต้องของเอกสารหลักฐานทั้ง 2,449 ราย โดยจะต้องทำงานกันหาบรุ่งหามค่ำทั้งกลางวันและกลางคืน
และใน เวลา 15.00 น.วันนี้ (16 มี.ค.) จะเรียกประชุมประธานชุมชนเทศบาลทั้ง 44 ชุมชนมาประชุมเพื่อให้ช่วยตรวจสอบเอกสารหลักฐานของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในแต่ละชุมชนทั้ง 2,449 รายว่าถูกต้องหรือไม่ และจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 18 มี.ค. หลังจากนั้นจะรวบรวมส่งให้กับทางจังหวัด ในขณะที่ทางจังหวัดจะตรวจสอบความถูกต้องอีกครั้งหนึ่งเป็นครั้งสุดท้ายก่อนส่งให้กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ภายในวันที่ 20 มี.ค. 2552
“ใครจะอ้างใคร เพื่อหวังประโยชน์ทางการเมือง หวังดิสเครดิตทำลายชื่อเสียงและความเชื่อถือของผมและเทศบาลนคร นครศรีธรรมราช ผมรับได้แม้จะหนักหนาสาหัสสากรรก็ตา และผมคิดว่าไม่ใช่ความผิดของประชาชน ดังนั้นผู้สูงอายุที่มีปัญหา 2,449 คน จะเสียสิทธิ์ไม่ได้ ตนจะระดมกำลังเจ้าหน้าที่มาทำงานทั้งกลางวันและกลางคืนเพื่อรักษาสิทธิ์ของผู้สูงอายุทั้งหมดไว้ให้ได้” นายสมนึก กล่าวในที่สุด
วันนี้ (16 มี.ค.) ที่เทศบาลนครนครศรีธรรมราช ได้มีผู้สูงอายุจำนวนหนึ่งเดินทางเข้าไปสอบถามความคืบหน้ากรณีนโยบายจ่ายเบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุ ที่มีอายุ 60 ปี ขึ้นไปคนละ 500 บาทต่อเดือน หลังจากเมื่อวานนี้ (15 มี.ค. )เป็นวันสุดท้ายในการลงทะเบียน แต่จากการตรวจสอบรายชื่อผู้ที่ลงทะเบียนกับเทศบาลปรากฏว่าไม่มีรายชื่อผู้สูงอายุเหล่านั้นแต่อย่างใด เมื่อตรวจสอบกับรายชื่อผู้สูงอายุในเขตเทศบาลพบว่ามีผู้สูงอายุจำนวนมากถึง 2,500 คนที่ไม่ได้ลงทะเบียนขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุตามนโยบายของรัฐบาล
ในขณะที่ผู้สูงอายุจำนวนมากทราบข่าวว่าตัวเองไม่มีรายชื่อจึงแห่เดินทางมายังกองสวัสดิการและสังคมเทศบาลนครนครศรีธรรมราช และมีการโวยวายจนชุลมุนวุ่นวายปั่นป่วนไปทั้งเทศบาล โดยนำแผ่นปลิวของศูนย์ช่วยเหลือประชาชน (ผศ.เชาวน์วัศ แสนพงค์ ) ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ )
จากการสอบถามผู้สูงอายุที่ไม่มีรายชื่อลงทะเบียนกับเทศบาล ทราบว่าหลังจากรัฐบาลมีมติ ครม.อนุมัติเงินเบี้ยยังชีพช่วยเหลือผู้สูงอายุ ในวันที่ 13 ม.ค.2552 ในเขตเทศบาลนคร นครศรีธรรมราชได้มีกลุ่มนักการเมืองท้องถิ่นกลุ่มหนึ่งการแอบอ้างจัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือประชาชนของสำนักนายกรัฐมนตรีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เปิดรับลงทะเบียนผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครนครศรีธรรมราช ตามโครงการนี้ พร้อมแจกจ่ายใบปลิวเชิญชวนประชาชนให้ไปลงทะเบียน อ้างว่าจะประสานงานกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นการภายในเพื่อช่วยเหลือให้ประชาชนได้รับสิทธิ์รับเงินเดือนละ 500 บาทตามโครงการของรัฐบาลต่อไป พร้อมกับระบุชื่อบุคคล สถานที่ เบอร์โทรศัพท์ ของบุคคลที่เป็นผู้รับผิดชอบในเขตเทศบาล 4 จุดในพื้นที่ทั้ง 4 เขตของเทศบาลนคร นครศรีธรรมราช
ทั้งยังระบุว่าหากไปลงทะเบียนกับทางเทศบาลนครนครศรีธรรมราชอาจจะไม่ได้รับการพิจารณาให้ได้รับเงินเดือนละ 500 บาท เนื่องจากเทศบาล จะพิจารณาคัดเลือกเอาคนของตัวเองหรือหัวคะแนนให้ได้รับสิทธิ์ ทำให้ประชาชนจำนวน 2,449 คนดังกล่าวหลงเชื่อไปลงทะเบียนกับกลุ่มคนดังกล่าว จึงไม่มีรายชื่อลงทะเบียนกับทางเทศบาลนคร นครศรีธรรมราช
นายเจริญ ทวีทอง อายุ 62 ปี และนางกิ้มเซ่ง แซ่เบ้า อายุ 64 ปี กล่าวว่า หลังมีใบแผ่นปลิวเชิญชวนให้ผู้สูงอายุไปลงทะเบียนกับศูนย์ช่วยเหลือประชาชนสำนักนายกรัฐมนตรี จากนั้นได้มีคนตระเวนเก็บรวบรวมเอกสารของผู้สูงอายุทั่วเขตเทศบาล ผู้สูงอายุส่วนใหญ่จึงหลงเชื่อเพราะมีการแอบอ้างว่าเป็นศูนย์ช่วยเหลือประชาชนของเจ้าหน้าที่ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และระบุชื่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีอย่างชัดเจน ผู้สูงอายุจะรู้ได้อย่างไรว่ามีเบื้องหน้าเบื้องหลังอย่างไร และเมื่อเป็นเช่นนี้ใครจะรับผิดชอบ
ในขณะที่ นายปิ่น เอื้อตระการวิวัฒน์ ผอ.กองสวัสดิการและสังคมเทศบาลนคร นครศรีธรรมราช กล่าวว่า เจ้าหน้าที่พยายามอธิบายชี้แจงกับผู้สูงอายุเป็นรายบุคคลถึงปัญหาที่เกิดขึ้น โดยไม่ใช่ความผิดของเทศบาลเลย ที่ผ่านมาเทศบาลทราบว่ามีบุคคลที่อ้างว่าตัวเองเป็นข้าราชการการเมือง ประจำสำนักนายกรัฐมนตรีและแอบอ้างนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ตั้งศูนย์ช่วยเหลือประชาชนและเปิดรับลงทะเยียนผู้สูงอายุในช่วงแรกมีคนแห่ไปลงทะเบียนหลายพันคนจากผู้สูงอายุที่อยู่ในข่ายที่จะได้รับสิทธิ์ในเขตเทศบาลประมาณ 12,000 ราย
เทศบาลจึงได้ประชาสัมพันธ์ผ่านทางสื่อวิทยุ และเอกสาร เพื่อชี้แจงและแจ้งให้ผู้สูงอายุทราบลำดับขั้นตอนและวิธีการปฏิบัติ รวมทั้งสถานที่ที่รับลงทะเบียน จนมีผู้สูงอายุที่ไปลงทะเบียนกับศูนย์ช่วยเหลือประชาชนจำนวนหนึ่งต้องมาลงทะเบียนกับทางเทศบาลอีกครั้งหนึ่ง แต่ยังเหลืออีกเกือบ 2,500 คนไม่ได้มาลงทะเบียนกับเทศบาลเพราะเข้าใจผิดว่าลงทะเบียนกับศูนย์ช่วยเหลือประชาชนแล้ว ทำให้เกิดปัญหาขึ้นดังกล่าว
“อย่างไรก็ตาม รายชื่อทั้ง 2,449 คน ทราบว่าได้มีเจ้าหน้าที่ของศูนย์ช่วยเหลือประชาชนได้รวบรวมเอกสารหลักฐานผู้สูงอายุ 2,449 คนดังกล่าวไปส่งมอบโดยตรงกับนายภาณุ อุทัยรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อช่วงสายของวันที่ 15 มี.ค.2552 ซึ่งถือเป็นวันสุดท้าย ทางนายภาณุ อุทัยรัตน์ จึงได้รวบรวมเอกสารหลักฐานทั้งหมดพร้อมแนบหนังสือคำสั่งส่งมายังนายสมนึก เกตุชาติ นายกเทศมนตรีนครนครศรีธรรมราช เพื่อดำเนินการต่อไป”
นายสมนึก เกตุชาติ กล่าวว่า ยอมรับว่าเรื่องที่เกิดขึ้นทำให้เกิดความยุ่งยากวุ่นวายปั่นป่วนไปหมด และอาจจะทำให้ผู้สูงอายุ 2,449 คน ที่ไม่ได้ลงทะเบียนกับเทศบาลแต่ไปลงทะเบียนกับศูนย์ช่วยเหลือประชาชน สำนักนายกรัฐมนตรีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ตามที่มีการประกาศเชิญชวนเสียสิทธิ์ได้ แต่ตนได้สั่งกำชับเจ้าหน้าที่ว่าจะต้องช่วยเหลือประชาชนทุกคนให้ได้รับสิทธิ์นี้ โดยระดมกำลังเจ้าหน้าที่ทั่งเทศบาลมาช่วยกันตรวจสอบ ความถูกต้องของเอกสารหลักฐานทั้ง 2,449 ราย โดยจะต้องทำงานกันหาบรุ่งหามค่ำทั้งกลางวันและกลางคืน
และใน เวลา 15.00 น.วันนี้ (16 มี.ค.) จะเรียกประชุมประธานชุมชนเทศบาลทั้ง 44 ชุมชนมาประชุมเพื่อให้ช่วยตรวจสอบเอกสารหลักฐานของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในแต่ละชุมชนทั้ง 2,449 รายว่าถูกต้องหรือไม่ และจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 18 มี.ค. หลังจากนั้นจะรวบรวมส่งให้กับทางจังหวัด ในขณะที่ทางจังหวัดจะตรวจสอบความถูกต้องอีกครั้งหนึ่งเป็นครั้งสุดท้ายก่อนส่งให้กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ภายในวันที่ 20 มี.ค. 2552
“ใครจะอ้างใคร เพื่อหวังประโยชน์ทางการเมือง หวังดิสเครดิตทำลายชื่อเสียงและความเชื่อถือของผมและเทศบาลนคร นครศรีธรรมราช ผมรับได้แม้จะหนักหนาสาหัสสากรรก็ตา และผมคิดว่าไม่ใช่ความผิดของประชาชน ดังนั้นผู้สูงอายุที่มีปัญหา 2,449 คน จะเสียสิทธิ์ไม่ได้ ตนจะระดมกำลังเจ้าหน้าที่มาทำงานทั้งกลางวันและกลางคืนเพื่อรักษาสิทธิ์ของผู้สูงอายุทั้งหมดไว้ให้ได้” นายสมนึก กล่าวในที่สุด