ยะลา – ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา สั่งสาธารณสุข เร่งแก้ปัญหาโรคชิคุนกุนยาระบาดโดยใช้กลยุทธการมีส่วนร่วมในศักยภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชนในพื้นที่ร่วมสร้างความรู้ ความเข้าใจ ร่วมดำเนินการ ในการป้องกันโรค
วันนี้ (11 มี.ค.) นายธีระ มินทราศักดิ์ ผวจ.ยะลา กล่าวถึงโรคไข้ปวดข้อยุงลาย หรือ (โรคชิคุนกุนยา) ที่แพร่ระบาดหนักในพื้นที่ จ.ยะลา ในขณะนี้ เนื่องจากพื้นที่ จ.ยะลา มีเขตที่ติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านคือประเทศมาเลเซีย และยังเป็นพื้นที่ป่าเขา ซึ่งมีความมีเหมาะกับการเพาะเชื่อโรคชิคุนกุนยา หรือการเพาะพันธ์ของยุงลาย เป็นจำนวนมาก
โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกิดขึ้นในพื้นที่ จ.ยะลา มีอยู่ประมาณ 2-3 อำเภอ คือ อ.บันนังสตา, ยะหา และ ธารโต ซึ่งเป็นอำเภอที่ติดภูเขา และ มีแม่น้ำปัตตานี ในส่วนของ อ.รามัน ประชาชนที่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำสายบุรี ขณะนี้ทาง จ.ยะลา ได้มีการตรวจพบประชาชนที่เป็นโรคชิคุนกุนยา จำนวนหลายราย ทางสาธารณสุขจังหวัดยะลาได้ร่วมมือกับทางจังหวัดยะลา ได้ไปดำเนินการป้องกันไม่ว่าจะเป็นการฉีดวัคซีน ในพื้นที่ให้มีการครอบคลุม
ซึ่งในขณะนี้จะได้ดำเนินการไปยัง 8 อำเภอของ จ.ยะลา เป็นการประกาศของจังหวัด ที่จะเข้าไปดูแล ให้พี่น้องประชาชนได้มีความระมัดระวัง และมีวิธีการในการป้องกันอย่างถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของยา หรือว่าการอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้น ซึ่งหลังจากมีการกำจัดแหล่งเพาะเชื้อโรค และมีการรณรงค์ให้กับประชาชนอย่างต่อเนื่อง ในการป้องกันโรคไข้เลือดออก หรือโรคชิกุนคุนยา คาดว่าโรคชิกุนคุนยา จะมีแนวโน้มที่ลดลง และหมดไปอย่างแน่นอน
ผวจ.ยะลา กล่าวอีกว่า ความร่วมมือร่วมใจ ของภาคประชาชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรม จริงจังและต่อเนื่อง เปรียบประดุจอาวุธที่สำคัญในการป้องปราบโรคไข้ปวดข้อยุงลาย (ชิคุนกุนยา) ให้ทุเลาเบาบาง และหมดไปจากพื้นที่จังหวัดยะลาในที่สุด
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา รายงานข้อมูลสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไข้ปวดข้อยุงลาย (ชิคุนกุนยา) ในจังหวัดยะลา ว่าได้รับรายงานพบผู้ป่วยครั้งแรก ในเดือนตุลาคม ปี 2551 จำนวน 3 ราย และเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ และในปี 2552 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2552 ถึง วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2552 ได้รับรายงานผู้ป่วยโรคไข้ปวดข้อยุงลาย จำนวนทั้งสิ้น 365 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 77.78 ต่อแสนประชากร
ส่วนใหญ่อยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) 344 ราย ในเขตเทศบาล 21 ราย กลุ่มอายุที่พบสูงสุด คือกลุ่มอายุ 35 - 44 ปี รองลงมาคือกลุ่มอายุ 25 -34 ปี และพบผู้ป่วยอาชีพเกษตรกรรมมากที่สุด รองลงมา คือนักเรียน และอาชีพรับจ้างตามลำดับ และอำเภอที่มีอัตราป่วยต่อประชากรแสนคนสูงสุด คือ อำเภอยะหา 320.06 ต่อประชากรแสนคน 162 ราย รองลงมา คือ อำเภอเบตง 144.28 ต่อประชากรแสนคน 82 ราย
จากการแพร่ระบาดของโรคไข้ปวดข้อยุงลาย (ชิคุนกุนยา) ดังกล่าว ส่งผลกระทบต่อสภาวะสุขภาพของประชาชน ทั้งทางร่างกาย จิตใจ และเศรษฐกิจรายได้ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลาและเครือข่ายบริการสุขภาพจังหวัดยะลา ตระหนักถึงความสำคัญในการควบคุม และป้องกันปัญหาโรคดังกล่าวจึงต้องเร่งรัดดำเนินการอย่างรวดเร็ว และครอบคลุมทุกพื้นที่ในจังหวัดยะลา
โดยใช้กลยุทธ์การมีส่วนร่วมในศักยภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชนในพื้นที่ร่วมสร้างความรู้ ความเข้าใจ ร่วมดำเนินการในการป้องกันโรค และสร้างสุขภาพโดย พลังภาคีเครือข่ายในพื้นที่ชุมชนเอง ร่วมจัดกิจกรรมรณรงค์แก้ปัญหาการระบาดของโรคไข้ปวดข้อยุงลาย (ชิคุนกุนยา)
วันนี้ (11 มี.ค.) นายธีระ มินทราศักดิ์ ผวจ.ยะลา กล่าวถึงโรคไข้ปวดข้อยุงลาย หรือ (โรคชิคุนกุนยา) ที่แพร่ระบาดหนักในพื้นที่ จ.ยะลา ในขณะนี้ เนื่องจากพื้นที่ จ.ยะลา มีเขตที่ติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านคือประเทศมาเลเซีย และยังเป็นพื้นที่ป่าเขา ซึ่งมีความมีเหมาะกับการเพาะเชื่อโรคชิคุนกุนยา หรือการเพาะพันธ์ของยุงลาย เป็นจำนวนมาก
โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกิดขึ้นในพื้นที่ จ.ยะลา มีอยู่ประมาณ 2-3 อำเภอ คือ อ.บันนังสตา, ยะหา และ ธารโต ซึ่งเป็นอำเภอที่ติดภูเขา และ มีแม่น้ำปัตตานี ในส่วนของ อ.รามัน ประชาชนที่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำสายบุรี ขณะนี้ทาง จ.ยะลา ได้มีการตรวจพบประชาชนที่เป็นโรคชิคุนกุนยา จำนวนหลายราย ทางสาธารณสุขจังหวัดยะลาได้ร่วมมือกับทางจังหวัดยะลา ได้ไปดำเนินการป้องกันไม่ว่าจะเป็นการฉีดวัคซีน ในพื้นที่ให้มีการครอบคลุม
ซึ่งในขณะนี้จะได้ดำเนินการไปยัง 8 อำเภอของ จ.ยะลา เป็นการประกาศของจังหวัด ที่จะเข้าไปดูแล ให้พี่น้องประชาชนได้มีความระมัดระวัง และมีวิธีการในการป้องกันอย่างถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของยา หรือว่าการอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้น ซึ่งหลังจากมีการกำจัดแหล่งเพาะเชื้อโรค และมีการรณรงค์ให้กับประชาชนอย่างต่อเนื่อง ในการป้องกันโรคไข้เลือดออก หรือโรคชิกุนคุนยา คาดว่าโรคชิกุนคุนยา จะมีแนวโน้มที่ลดลง และหมดไปอย่างแน่นอน
ผวจ.ยะลา กล่าวอีกว่า ความร่วมมือร่วมใจ ของภาคประชาชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรม จริงจังและต่อเนื่อง เปรียบประดุจอาวุธที่สำคัญในการป้องปราบโรคไข้ปวดข้อยุงลาย (ชิคุนกุนยา) ให้ทุเลาเบาบาง และหมดไปจากพื้นที่จังหวัดยะลาในที่สุด
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา รายงานข้อมูลสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไข้ปวดข้อยุงลาย (ชิคุนกุนยา) ในจังหวัดยะลา ว่าได้รับรายงานพบผู้ป่วยครั้งแรก ในเดือนตุลาคม ปี 2551 จำนวน 3 ราย และเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ และในปี 2552 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2552 ถึง วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2552 ได้รับรายงานผู้ป่วยโรคไข้ปวดข้อยุงลาย จำนวนทั้งสิ้น 365 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 77.78 ต่อแสนประชากร
ส่วนใหญ่อยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) 344 ราย ในเขตเทศบาล 21 ราย กลุ่มอายุที่พบสูงสุด คือกลุ่มอายุ 35 - 44 ปี รองลงมาคือกลุ่มอายุ 25 -34 ปี และพบผู้ป่วยอาชีพเกษตรกรรมมากที่สุด รองลงมา คือนักเรียน และอาชีพรับจ้างตามลำดับ และอำเภอที่มีอัตราป่วยต่อประชากรแสนคนสูงสุด คือ อำเภอยะหา 320.06 ต่อประชากรแสนคน 162 ราย รองลงมา คือ อำเภอเบตง 144.28 ต่อประชากรแสนคน 82 ราย
จากการแพร่ระบาดของโรคไข้ปวดข้อยุงลาย (ชิคุนกุนยา) ดังกล่าว ส่งผลกระทบต่อสภาวะสุขภาพของประชาชน ทั้งทางร่างกาย จิตใจ และเศรษฐกิจรายได้ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลาและเครือข่ายบริการสุขภาพจังหวัดยะลา ตระหนักถึงความสำคัญในการควบคุม และป้องกันปัญหาโรคดังกล่าวจึงต้องเร่งรัดดำเนินการอย่างรวดเร็ว และครอบคลุมทุกพื้นที่ในจังหวัดยะลา
โดยใช้กลยุทธ์การมีส่วนร่วมในศักยภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชนในพื้นที่ร่วมสร้างความรู้ ความเข้าใจ ร่วมดำเนินการในการป้องกันโรค และสร้างสุขภาพโดย พลังภาคีเครือข่ายในพื้นที่ชุมชนเอง ร่วมจัดกิจกรรมรณรงค์แก้ปัญหาการระบาดของโรคไข้ปวดข้อยุงลาย (ชิคุนกุนยา)