ชุมพร - ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร สั่งปิดโรงนม บริษัท นำศรีชล 96 เป็นเวลา 30 วัน หลังตรวจพบเชื้ออีโคไล
ความคืบหน้ากรณีนมโรงเรียน จ.ชุมพร ล่าสุด ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร ลงนามในหนังสือสั่งปิดโรงงานนำศรีชล 96 จำกัด เป็นระยะเวลา 30 วัน หลังผลการตรวจวิเคราะห์ทางเคมี ของศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ (สุราษฎร์ธานี) และจากการสุ่มตรวจตัวอย่างนมโรงเรียน ของโรงเรียนบ้านปากเลข อ.พะโต๊ะ จ.ชุมพร ตั้งแต่เมื่อวันที่ 15 ก.พ.2552 พบว่า มีเชื้อแบคทีเรีย ในนมโรงเรียน
วันนี้ (26 ก.พ.) นายการัณย์ ศุภกิจวิเลขการ ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร กล่าวว่า จากรายงานผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงเบื้องต้น กรณีปัญหาการร้องเรียนนมโรงเรียนไม่ได้คุณภาพมาตรฐาน ที่โรงเรียนบ้านปากเลข อ.พะโต๊ะ จ.ชุมพร ซึ่งในตอนแรกได้มีผลรายงานการวิเคราะห์ ด้านไขมันว่า ไม่ได้มาตรฐานไปแล้ว
ล่าสุด ทางศูนย์วิทยาศาตร์การแพทย์ (สุราษฎร์ธานี) ได้รายงานผลการวิเคราะห์ทางเคมีด้านจุลินทรีย์ จากการเฝ้าระวังสุ่มตรวจตัวอย่างนมโรงเรียนของบริษัทนำศรีชล 96 จำกัด เพิ่มเติมพบว่า ผลการตรวจพบ แบคทีเรีย อีโคไล ซึ่งตามปกติแล้วตามเกณฑ์มาตรฐานจะต้องไม่มีเชื้อดังกล่าว
นายการัณย์ กล่าวต่อว่า ตนจึงได้ลงนามในหนังสือเพื่อแจ้งให้ บริษัท นำศรีชล 96 จำกัด หยุดการผลิตนมเป็นเวลา 30 วัน เพื่อปรับปรุงกระบวนการผลิต ให้ได้มาตรฐาน ซึ่งเป็นไปตาม พรบ.อาหาร พ.ศ.2522 มาตรา 30(2) โดยได้แจ้งให้ นายประคอง ชลสาคร ผู้ได้รับใบอนุญาตจาก อย.มาเซ็นรับทราบให้หยุดการผลิตนมแล้ว
ส่วนการส่งนมโรงเรียนตามสัญญาในช่วงเวลานี้ ทางบริษัทแจ้งว่า จะนำนมสดพาสเจอร์ไรซ์จากสหกรณ์โคนม จ.นครปฐม มาส่งให้โรงเรียนในพื้นที่จังหวัดชุมพรจำนวน 63 แห่ง ศูนย์เด็กเล็กอีกจำนวน 28 แห่ง แทนไปก่อน ทั้งนี้ จนกว่าจะปิดภาคเรียนหรือหมดสัญญา ในขณะเดียวกัน ก็ได้มอบหมายให้ ทาง อย.จังหวัด ได้สุ่มตรวจคุณภาพนมโรงเรียนจากสหกรณ์โคมนมนครปฐมที่ทางบริษัท เป็นผู้จัดส่งตามสัญญาควบคู่กันไปด้วยว่ามีคุณภาพได้มาตรฐานหรือไม่
พญ.อุทุมพร กำภู ณ อยุธยา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดชุมพร กล่าวว่า เชื้ออีโคไล ส่วนใหญ่จะพบในลำไส้ทางเดินอาหาร หรือในอุจจาระของคนหรือสัตว์เท่านั้น เมื่อพบในนมแสดงให้เห็นหรือเป็นตัวบ่งชี้ว่ากระบวนการผลิตไม่สะอาด จึงต้องสั่งให้หยุดการผลิตเพื่อปรับปรุง แม้ว่าเชื้อดังกล่าวจะไม่ทำเกิดอาการอาหารเป็นพิษก็ตาม แต่เมื่อตรวจพบก็ยิ่งเป็นการบ่งชี้ว่ากระบวนการผลิตหรือคนงานปฏิบัติงานไม่ถูกสุขลักษณะ ไม่ได้มาตรฐาน GMP ของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้บริโภคได้
พญ.อุทุมพร กล่าวต่อว่า สำหรับแบคทีเรีย Escherichia coli หรือ อีโคไล นิยมใช้ชื่อย่อ E. coli แบคทีเรียในกลุ่มโคลิฟอร์ม เป็นตัวชี้การปนเปื้อนของอุจจาระในน้ำ มีอยู่ตามธรรมชาติ ในลำไส้ใหญ่ของสัตว์และมนุษย์ แบคทีเรียชนิดนี้ทำให้เกิดอาการท้องเสียบ่อยที่สุด ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ทำให้ถ่ายอุจจาระเหลว หรือเป็นน้ำ แต่อาการมักไม่รุนแรง เพราะทั้งเด็กและผู้ใหญ่มักมีภูมิต้านทานอยู่บ้างแล้ว เนื่องจากได้รับเชื้อนี้เข้าไปทีละน้อยอยู่เรื่อยๆ เชื้อนี้มักปนเปื้อนมากับอาหาร น้ำ หรือมือของผู้ประกอบอาหาร ปกติเชื้อเหล่านี้อาจพบในอุจจาระได้อยู่แล้วแม้จะไม่มีอาการอะไร
ความคืบหน้ากรณีนมโรงเรียน จ.ชุมพร ล่าสุด ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร ลงนามในหนังสือสั่งปิดโรงงานนำศรีชล 96 จำกัด เป็นระยะเวลา 30 วัน หลังผลการตรวจวิเคราะห์ทางเคมี ของศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ (สุราษฎร์ธานี) และจากการสุ่มตรวจตัวอย่างนมโรงเรียน ของโรงเรียนบ้านปากเลข อ.พะโต๊ะ จ.ชุมพร ตั้งแต่เมื่อวันที่ 15 ก.พ.2552 พบว่า มีเชื้อแบคทีเรีย ในนมโรงเรียน
วันนี้ (26 ก.พ.) นายการัณย์ ศุภกิจวิเลขการ ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร กล่าวว่า จากรายงานผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงเบื้องต้น กรณีปัญหาการร้องเรียนนมโรงเรียนไม่ได้คุณภาพมาตรฐาน ที่โรงเรียนบ้านปากเลข อ.พะโต๊ะ จ.ชุมพร ซึ่งในตอนแรกได้มีผลรายงานการวิเคราะห์ ด้านไขมันว่า ไม่ได้มาตรฐานไปแล้ว
ล่าสุด ทางศูนย์วิทยาศาตร์การแพทย์ (สุราษฎร์ธานี) ได้รายงานผลการวิเคราะห์ทางเคมีด้านจุลินทรีย์ จากการเฝ้าระวังสุ่มตรวจตัวอย่างนมโรงเรียนของบริษัทนำศรีชล 96 จำกัด เพิ่มเติมพบว่า ผลการตรวจพบ แบคทีเรีย อีโคไล ซึ่งตามปกติแล้วตามเกณฑ์มาตรฐานจะต้องไม่มีเชื้อดังกล่าว
นายการัณย์ กล่าวต่อว่า ตนจึงได้ลงนามในหนังสือเพื่อแจ้งให้ บริษัท นำศรีชล 96 จำกัด หยุดการผลิตนมเป็นเวลา 30 วัน เพื่อปรับปรุงกระบวนการผลิต ให้ได้มาตรฐาน ซึ่งเป็นไปตาม พรบ.อาหาร พ.ศ.2522 มาตรา 30(2) โดยได้แจ้งให้ นายประคอง ชลสาคร ผู้ได้รับใบอนุญาตจาก อย.มาเซ็นรับทราบให้หยุดการผลิตนมแล้ว
ส่วนการส่งนมโรงเรียนตามสัญญาในช่วงเวลานี้ ทางบริษัทแจ้งว่า จะนำนมสดพาสเจอร์ไรซ์จากสหกรณ์โคนม จ.นครปฐม มาส่งให้โรงเรียนในพื้นที่จังหวัดชุมพรจำนวน 63 แห่ง ศูนย์เด็กเล็กอีกจำนวน 28 แห่ง แทนไปก่อน ทั้งนี้ จนกว่าจะปิดภาคเรียนหรือหมดสัญญา ในขณะเดียวกัน ก็ได้มอบหมายให้ ทาง อย.จังหวัด ได้สุ่มตรวจคุณภาพนมโรงเรียนจากสหกรณ์โคมนมนครปฐมที่ทางบริษัท เป็นผู้จัดส่งตามสัญญาควบคู่กันไปด้วยว่ามีคุณภาพได้มาตรฐานหรือไม่
พญ.อุทุมพร กำภู ณ อยุธยา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดชุมพร กล่าวว่า เชื้ออีโคไล ส่วนใหญ่จะพบในลำไส้ทางเดินอาหาร หรือในอุจจาระของคนหรือสัตว์เท่านั้น เมื่อพบในนมแสดงให้เห็นหรือเป็นตัวบ่งชี้ว่ากระบวนการผลิตไม่สะอาด จึงต้องสั่งให้หยุดการผลิตเพื่อปรับปรุง แม้ว่าเชื้อดังกล่าวจะไม่ทำเกิดอาการอาหารเป็นพิษก็ตาม แต่เมื่อตรวจพบก็ยิ่งเป็นการบ่งชี้ว่ากระบวนการผลิตหรือคนงานปฏิบัติงานไม่ถูกสุขลักษณะ ไม่ได้มาตรฐาน GMP ของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้บริโภคได้
พญ.อุทุมพร กล่าวต่อว่า สำหรับแบคทีเรีย Escherichia coli หรือ อีโคไล นิยมใช้ชื่อย่อ E. coli แบคทีเรียในกลุ่มโคลิฟอร์ม เป็นตัวชี้การปนเปื้อนของอุจจาระในน้ำ มีอยู่ตามธรรมชาติ ในลำไส้ใหญ่ของสัตว์และมนุษย์ แบคทีเรียชนิดนี้ทำให้เกิดอาการท้องเสียบ่อยที่สุด ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ทำให้ถ่ายอุจจาระเหลว หรือเป็นน้ำ แต่อาการมักไม่รุนแรง เพราะทั้งเด็กและผู้ใหญ่มักมีภูมิต้านทานอยู่บ้างแล้ว เนื่องจากได้รับเชื้อนี้เข้าไปทีละน้อยอยู่เรื่อยๆ เชื้อนี้มักปนเปื้อนมากับอาหาร น้ำ หรือมือของผู้ประกอบอาหาร ปกติเชื้อเหล่านี้อาจพบในอุจจาระได้อยู่แล้วแม้จะไม่มีอาการอะไร