กระบี่ - สธ.กระบี่ ตั้งศูนย์เครือข่ายเฝ้าระวังนมโรงเรียนไม่มีคุณภาพ เผยยังไม่ได้รับการร้องเรียน ด้านท้องถิ่นเรียกประชุม อปท.ทำความเข้าใจการจัดซื้อนม
นายแพทย์บัญชา ค้าของ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดกระบี่ เปิดเผยว่า ตามที่ได้มีข่าวนมโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดชุมพรมีการตรวจพบนมไม่มีคุณภาพ ซึ่งในส่วนของหวัดกระบี่เองก็ได้มีการสั่งเฝ้าระวัง โดยเครือข่ายเฝ้าระวังของสาธารณสุขสาธารณสุขจังหวัดกระบี่ ที่กระจายอยู่ตามอำเภอต่างๆ ทั้ง 8 อำเภอ ยังไม่พบว่ามีการร้องเรียนเรื่องของนมไม่มีคุณภาพ
ทั้งนี้ หากว่าโรงเรียนแห่งใดมีการร้องเรียนเข้ามาให้สาธารสุขฯเข้าไปตรวจสอบคุณภาพนมโรงเรียนทางสาธารณสุขก็จะเข้าไปตรวจสอบให้ แต่ขณะนี้ที่ยังไม่เข้าไปตรวจสอบคุณภาพนมโรงเรียน นอกจากยังไม่ได้รับการร้องเรียนแล้ว ยังรอหนังสือสั่งการจากกระทรวงสาธารณสุขด้วย
นายสุระเดชา ฟุ้งสาคร รองนายกเทศมนตรีเมืองกระบี่ กล่าวว่า เทศบาลเมืองกระบี่มีโรงเรียนอยู่ในสังกัดเทศบาลอยู่จำนวน 4 โรงเรียนด้วยกัน คือ โรงเรียนเทศบาล 1 บ้านตลาดเก่า โรงเรียนเทศบาล 2 ท่าแดง โรงเรียนเทศบาล 3 คลองจิหลาด และโรงเรียนเทศบาล 4 อนุบาลปานุราช
สำหรับการจัดซื้อจัดจ้างนมโรงเรียนในสังกัดเทศบาล ได้ดำเนินการตามระเบียบพัสดุของ องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ทุกอย่าง และที่ผ่านมาจนถึงขณะนี้ก็ยังไม่เคยมีการร้องเรียนเรื่องคุณภาพของนมโรงเรียนไม่ได้มาตรฐาน และยืนยันว่านมทุกถุงที่ทางเทศบาลจัดซื้อมีคุณภาพอย่างแน่นอน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมาทางท้องถิ่นจังหวัดกระบี่ โดยนายอมร วงศ์วรรณ เป็นประธานการประชุมได้มีการเรียกประชุมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและท้องถิ่นอำเภอ ณ ห้องประชุมพระนาง องค์การบริหารส่วนจังหวัดกระบี่
ในระเบียบวาระที่ 3 ของการประชุม ได้นำเรื่องซักซ้อมหลักการและแนวทางการปฎิบัติในการจัดซื้อนมโรงเรียนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้การจัดซื้อนมโรงเรียนเป็นไปด้วยความเรียบร้อย และถูกต้องตามระเบียบของกระทรวงมหาดไทย โดยให้โรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่งตั้งคณะกรรมการอาหารเสริม (นม) ของแต่ละโรงเรียนเพื่อตรวจสอบคุณภาพนมก่อนที่จะรับมอบ รวมทั้งการติดตามการแจกจ่ายและเก็บรักษาเพื่อให้นมมีคุณภาพตามหลักเกณฑ์
ทั้งนี้ หากว่ามีการตรวจพบหรือสงสัยว่านมที่ผู้ประกอบการจัดส่งไม่ได้คุณภาพ ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรายงานโดยตรงต่อองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทยและสำนักงาน อย.กระทรวงสาธารณสุข และให้อำนาจจัดซื้อเป็นหน้าที่ของ อปท.โดยจะเลือกซื้อจากผู้ประกอบการรายใดก็ได้จากผู้มีสิทธิ์จำหน่าย จำนวน 18 ราย ไม่ใช่ 2 ราย ตามที่เป็นข่าว
ส่วนปัญหาการจัดซื้อนมที่ไม่ได้คุณภาพหากเกิดขึ้นที่โรงเรียนใด ในสังกัดของ อปท.ใดก็ให้จังหวัดพิจารณาดำเนินการและสอบสวนหาผู้กระทำผิดและพิจารณาลงโทษตามควรแก่กรณี โดยในที่ประชุมมี อบต.จำนวน 51 แห่ง เทศบาล จำนวน 10 แห่ง และ อบจ. เข้าร่วมประชุม
นายแพทย์บัญชา ค้าของ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดกระบี่ เปิดเผยว่า ตามที่ได้มีข่าวนมโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดชุมพรมีการตรวจพบนมไม่มีคุณภาพ ซึ่งในส่วนของหวัดกระบี่เองก็ได้มีการสั่งเฝ้าระวัง โดยเครือข่ายเฝ้าระวังของสาธารณสุขสาธารณสุขจังหวัดกระบี่ ที่กระจายอยู่ตามอำเภอต่างๆ ทั้ง 8 อำเภอ ยังไม่พบว่ามีการร้องเรียนเรื่องของนมไม่มีคุณภาพ
ทั้งนี้ หากว่าโรงเรียนแห่งใดมีการร้องเรียนเข้ามาให้สาธารสุขฯเข้าไปตรวจสอบคุณภาพนมโรงเรียนทางสาธารณสุขก็จะเข้าไปตรวจสอบให้ แต่ขณะนี้ที่ยังไม่เข้าไปตรวจสอบคุณภาพนมโรงเรียน นอกจากยังไม่ได้รับการร้องเรียนแล้ว ยังรอหนังสือสั่งการจากกระทรวงสาธารณสุขด้วย
นายสุระเดชา ฟุ้งสาคร รองนายกเทศมนตรีเมืองกระบี่ กล่าวว่า เทศบาลเมืองกระบี่มีโรงเรียนอยู่ในสังกัดเทศบาลอยู่จำนวน 4 โรงเรียนด้วยกัน คือ โรงเรียนเทศบาล 1 บ้านตลาดเก่า โรงเรียนเทศบาล 2 ท่าแดง โรงเรียนเทศบาล 3 คลองจิหลาด และโรงเรียนเทศบาล 4 อนุบาลปานุราช
สำหรับการจัดซื้อจัดจ้างนมโรงเรียนในสังกัดเทศบาล ได้ดำเนินการตามระเบียบพัสดุของ องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ทุกอย่าง และที่ผ่านมาจนถึงขณะนี้ก็ยังไม่เคยมีการร้องเรียนเรื่องคุณภาพของนมโรงเรียนไม่ได้มาตรฐาน และยืนยันว่านมทุกถุงที่ทางเทศบาลจัดซื้อมีคุณภาพอย่างแน่นอน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมาทางท้องถิ่นจังหวัดกระบี่ โดยนายอมร วงศ์วรรณ เป็นประธานการประชุมได้มีการเรียกประชุมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและท้องถิ่นอำเภอ ณ ห้องประชุมพระนาง องค์การบริหารส่วนจังหวัดกระบี่
ในระเบียบวาระที่ 3 ของการประชุม ได้นำเรื่องซักซ้อมหลักการและแนวทางการปฎิบัติในการจัดซื้อนมโรงเรียนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้การจัดซื้อนมโรงเรียนเป็นไปด้วยความเรียบร้อย และถูกต้องตามระเบียบของกระทรวงมหาดไทย โดยให้โรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่งตั้งคณะกรรมการอาหารเสริม (นม) ของแต่ละโรงเรียนเพื่อตรวจสอบคุณภาพนมก่อนที่จะรับมอบ รวมทั้งการติดตามการแจกจ่ายและเก็บรักษาเพื่อให้นมมีคุณภาพตามหลักเกณฑ์
ทั้งนี้ หากว่ามีการตรวจพบหรือสงสัยว่านมที่ผู้ประกอบการจัดส่งไม่ได้คุณภาพ ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรายงานโดยตรงต่อองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทยและสำนักงาน อย.กระทรวงสาธารณสุข และให้อำนาจจัดซื้อเป็นหน้าที่ของ อปท.โดยจะเลือกซื้อจากผู้ประกอบการรายใดก็ได้จากผู้มีสิทธิ์จำหน่าย จำนวน 18 ราย ไม่ใช่ 2 ราย ตามที่เป็นข่าว
ส่วนปัญหาการจัดซื้อนมที่ไม่ได้คุณภาพหากเกิดขึ้นที่โรงเรียนใด ในสังกัดของ อปท.ใดก็ให้จังหวัดพิจารณาดำเนินการและสอบสวนหาผู้กระทำผิดและพิจารณาลงโทษตามควรแก่กรณี โดยในที่ประชุมมี อบต.จำนวน 51 แห่ง เทศบาล จำนวน 10 แห่ง และ อบจ. เข้าร่วมประชุม