ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ – "จุรินทร์"เปิดเวทีระดมความคิดแนวทางการพัฒนาการศึกษาในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เน้นพัฒนาทั้งคุณภาพครูและโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม เตรียมหารือความเป็นไปได้จัดตั้งสำนักงานส่งเสริมการศึกษาเอกชนขึ้นในพื้นที่ตามที่ ศอ.บต.เสนอ ส่วนภาพรวมของการพัฒนาระบบการศึกษาของประเทศ จะเน้นการผลิตครูที่เป็นครูของครู ซึ่งประเมินแล้วว่าในอนาคตจะขาดแคลน
วันนี้ (21 ก.พ.) เมื่อเวลา 09.00 น. ที่โรงแรม เจบี อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา นายจุรินทร์ ลักษณ์วิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดโครงการประชุมสัมมนาระดมความคิดเรื่องนโยบายการพัฒนาการศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ พร้อมกับมอบนโยบายและแนวทางการพัฒนาการศึกษาพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของรัฐบาลและกระทรวงศึกษาธิการ
นายจุรินทร์ กล่าวถึงแนวทางการพัฒนาการศึกษาในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยระบุว่า จะดำเนินไปตามนโยบายแผนพัฒนาการศึกษาระดับกลุ่มจังหวัดที่ตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกซึ่งแบ่งออกเป็น 18 กลุ่มจังหวัด และพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ สงขลา สตูล ปัตตานี ยะลาและนราธิวาส จะเสร็จและสรุปแผนพัฒนาการศึกษาพร้อมเพื่อดำเนินการเป็นกลุ่มแรกของประเทศ จึงได้เชิญผู้บริหารการศึกษาทั้งจากส่วนกลางและท้องถิ่นร่วมระดมความคิดเห็นในครั้งนี้
โดยในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จะเน้นการพัฒนาคุณภาพการศึกษา การสร้างโอกาสให้นักเรียน และการบริหารจัดการศึกษาในพื้นที่ เพราะที่ผ่านมาผลสำฤทธิ์การศึกษาของนักเรียนในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้โดยเฉพาะ ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส ต่ำที่สุดในประเทศจากการสอบโอเน็ตในปีนี้อยู่ลำดับที่ 74,75,76 โดยจากนี้ไปจะต้องเน้นพัฒนาทั้งคุณภาพครูและโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามซึ่งเป็นโรงเรียนส่วนใหญ่ในพื้นที่ และกำลังหารือถึงความเป็นไปได้ในการจัดตั้งสำนักงานส่งเสริมการศึกษาเอกชนขึ้นในพื้นที่ตามที่ ศอ.บต.เสนอ แต่ภาพรวมจะต้องเชื่อมโยงกับวิถีชีวิต วัฒนธรรมและศาสนา รวมทั้งต้องเน้นการเรียนด้านวิชาชีพให้มากขึ้น
อย่างไรก็ตามในปีนี้ ครม.ได้อนุมัติเงินอุดหนุนให้กับโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจำนวน 1,400 ล้านบาท ซึ่งเท่ากับเป็นการช่วยเหลือเด็กต่อหัวจาก 60 บาทเป็น 70 บาท ซึ่งสามารถลดภาระผู้ปกครองจากที่เคยจ่าย 40 ก็เหลือแค่ 30 รวมทั้งจะเพิ่มสวัสดิการต่าง ๆ ให้กับครูเช่นการทำประกันชีวิตครูทั้ง 5 จังหวัด 5 แสนบาทต่อคน การนำระบบประกันตนกลับมาใช้อีกครั้งหลังจากที่ได้ยกเลิกระบบนี้ในกลุ่มครูสังกัดโรงเรียนเอกชนออกไป นอกจากนี้จะมีการนิเทศก์ครูโรงเรียนเอกชนให้มากขึ้นตามที่ได้ร้องขอ
สำหรับภาพรวมของการพัฒนาระบบการศึกษาของประเทศ นายจุรินทร์ ระบุว่า จะเน้นการผลิตครูที่เป็นครูของครู ซึ่งประเมินแล้วว่าในอนาคตจะขาดแคลน รวมทั้งผลิตครูที่มีคุณภาพเพื่อมาสอนนักเรียนรุ่นใหม่ ส่วนในด้านอื่น ๆ ที่อยู่ภายใต้นโยบายของรัฐบาลและกรอบของแผนปฏิรูปการศึกษารอบ 2 ที่จะเน้นในเรื่องของการพัฒนาการศึกษา การให้โอกาสและการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน โดยจะเน้นที่คุณภาพของครูเป็นหลัก นอกจากนี้เป็นเรื่องของนโยบายเรียนฟรีและเงินกู้เพื่อการศึกษาซึ่งปีนี้จะเพิ่มอีก 1 หมื่นล้านบาท จากเดิม 2.6 หมื่นล้านและ 3.6 หมื่นล้าน แต่จะเน้นในเรื่องของการกู้เรียนสายอาชีพเป็นนักเรียนที่มีฐานะยากจนจริง ๆ จะได้รับพิจารณาเป็นพิเศษ รวมถึงเรื่องนมโรงเรียนจากเดิมที่แจกเฉพาะอนุบาลถึง ป.4 แต่ในการศึกษาปี 52 เทอม 2 จะให้ดื่มถึง ป.6
สำหรับปัญหาเรื่องนมโรงเรียนที่ไม่มีคุณภาพนายจุรินทร์ กล่าวเพียงสั้น ๆ ว่าจะต้องดูแลให้มากขึ้นโดยจะประสานให้สำนักงานสาธารณสุขแต่ละจังหวัดเข้าไปตรวจสอบคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
วันนี้ (21 ก.พ.) เมื่อเวลา 09.00 น. ที่โรงแรม เจบี อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา นายจุรินทร์ ลักษณ์วิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดโครงการประชุมสัมมนาระดมความคิดเรื่องนโยบายการพัฒนาการศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ พร้อมกับมอบนโยบายและแนวทางการพัฒนาการศึกษาพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของรัฐบาลและกระทรวงศึกษาธิการ
นายจุรินทร์ กล่าวถึงแนวทางการพัฒนาการศึกษาในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยระบุว่า จะดำเนินไปตามนโยบายแผนพัฒนาการศึกษาระดับกลุ่มจังหวัดที่ตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกซึ่งแบ่งออกเป็น 18 กลุ่มจังหวัด และพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ สงขลา สตูล ปัตตานี ยะลาและนราธิวาส จะเสร็จและสรุปแผนพัฒนาการศึกษาพร้อมเพื่อดำเนินการเป็นกลุ่มแรกของประเทศ จึงได้เชิญผู้บริหารการศึกษาทั้งจากส่วนกลางและท้องถิ่นร่วมระดมความคิดเห็นในครั้งนี้
โดยในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จะเน้นการพัฒนาคุณภาพการศึกษา การสร้างโอกาสให้นักเรียน และการบริหารจัดการศึกษาในพื้นที่ เพราะที่ผ่านมาผลสำฤทธิ์การศึกษาของนักเรียนในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้โดยเฉพาะ ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส ต่ำที่สุดในประเทศจากการสอบโอเน็ตในปีนี้อยู่ลำดับที่ 74,75,76 โดยจากนี้ไปจะต้องเน้นพัฒนาทั้งคุณภาพครูและโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามซึ่งเป็นโรงเรียนส่วนใหญ่ในพื้นที่ และกำลังหารือถึงความเป็นไปได้ในการจัดตั้งสำนักงานส่งเสริมการศึกษาเอกชนขึ้นในพื้นที่ตามที่ ศอ.บต.เสนอ แต่ภาพรวมจะต้องเชื่อมโยงกับวิถีชีวิต วัฒนธรรมและศาสนา รวมทั้งต้องเน้นการเรียนด้านวิชาชีพให้มากขึ้น
อย่างไรก็ตามในปีนี้ ครม.ได้อนุมัติเงินอุดหนุนให้กับโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจำนวน 1,400 ล้านบาท ซึ่งเท่ากับเป็นการช่วยเหลือเด็กต่อหัวจาก 60 บาทเป็น 70 บาท ซึ่งสามารถลดภาระผู้ปกครองจากที่เคยจ่าย 40 ก็เหลือแค่ 30 รวมทั้งจะเพิ่มสวัสดิการต่าง ๆ ให้กับครูเช่นการทำประกันชีวิตครูทั้ง 5 จังหวัด 5 แสนบาทต่อคน การนำระบบประกันตนกลับมาใช้อีกครั้งหลังจากที่ได้ยกเลิกระบบนี้ในกลุ่มครูสังกัดโรงเรียนเอกชนออกไป นอกจากนี้จะมีการนิเทศก์ครูโรงเรียนเอกชนให้มากขึ้นตามที่ได้ร้องขอ
สำหรับภาพรวมของการพัฒนาระบบการศึกษาของประเทศ นายจุรินทร์ ระบุว่า จะเน้นการผลิตครูที่เป็นครูของครู ซึ่งประเมินแล้วว่าในอนาคตจะขาดแคลน รวมทั้งผลิตครูที่มีคุณภาพเพื่อมาสอนนักเรียนรุ่นใหม่ ส่วนในด้านอื่น ๆ ที่อยู่ภายใต้นโยบายของรัฐบาลและกรอบของแผนปฏิรูปการศึกษารอบ 2 ที่จะเน้นในเรื่องของการพัฒนาการศึกษา การให้โอกาสและการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน โดยจะเน้นที่คุณภาพของครูเป็นหลัก นอกจากนี้เป็นเรื่องของนโยบายเรียนฟรีและเงินกู้เพื่อการศึกษาซึ่งปีนี้จะเพิ่มอีก 1 หมื่นล้านบาท จากเดิม 2.6 หมื่นล้านและ 3.6 หมื่นล้าน แต่จะเน้นในเรื่องของการกู้เรียนสายอาชีพเป็นนักเรียนที่มีฐานะยากจนจริง ๆ จะได้รับพิจารณาเป็นพิเศษ รวมถึงเรื่องนมโรงเรียนจากเดิมที่แจกเฉพาะอนุบาลถึง ป.4 แต่ในการศึกษาปี 52 เทอม 2 จะให้ดื่มถึง ป.6
สำหรับปัญหาเรื่องนมโรงเรียนที่ไม่มีคุณภาพนายจุรินทร์ กล่าวเพียงสั้น ๆ ว่าจะต้องดูแลให้มากขึ้นโดยจะประสานให้สำนักงานสาธารณสุขแต่ละจังหวัดเข้าไปตรวจสอบคุณภาพอย่างต่อเนื่อง