กระบี่ - หอการค้าเดินหน้าต้านค้าปลีกข้ามชาติ หลังปรับกลยุทธ์ขยายสาขาในลักษณะเอ็กซเพรสสู่ชุมชน เตรียมเสนอคณะอนุกรรมการผังเมืองระดับจังหวัดพิจารณา พร้อมนำประกาศ 4 ข้อของนครศรีธรรมราชสู้
นายกอบกฤต สร้างสกุล รองประธานหอการค้าจังหวัดกระบี่ กล่าวว่า ตามที่ทางจังหวัดกระบี่ได้ดำเนินการออกประกาศกรมโยธาธิการและผังเมือง เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์การใช้ประโยชน์ในทรัพย์สิน เพื่อเป็นประโยชน์ในการวางแผนและการจัดทำผังเมืองรวมในท้องที่จังหวัดกระบี่ พ.ศ.2550 (ค้าปลีกค้าส่ง) ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศ และงานทั่วไป เล่ม 124 ตอนพิเศษ 48 ง ลงวันที่ 14 พ.ค.2550 โดยมีคณะอนุกรรมการผังเมืองระดับจังหวัด เพื่อพิจารณาปรับปรุงหลักเกณฑ์การพิจารณาอนุญาตอาคารพาณิชยกรรมค้าปลีกค้าส่ง
และเนื่องจากประกาศฉบับดังกล่าวจะสิ้นสุดระยะเวลาบังคับใช้ ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะทำการสำรวจเพื่อการวางและจัดทำผังเมืองรวมในท้องที่ 72 จังหวัด พ.ศ.2549 ในวันที่ 29 ส.ค.2552 เพื่อให้ประกาศดังกล่าวบังคับใช้อย่างต่อเนื่อง ทางจังหวัดจึงได้นัดประชุมพิจารณาเพื่อจัดทำประกาศค้าปลีกค้าส่ง วันที่ 28 มกราคม 2552 ที่ห้องประชุมชั้น 2 ศาลากลางจังหวัดกระบี่
นายกอบกฤต กล่าวด้วยว่า เรื่องนี้ถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับจังหวัดกระบี่ ยิ่งที่ตอนนี้ภาวะเศรษฐกิจกำลังอยู่ในช่วงซบเซา และร้านค้าทั่วไปก็มีผลกระทบจากห้างขนาดใหญ่ อย่างไรก็ตาม ก็อยากจะฝากผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมคณะอนุกรรมการผังเมืองระดับจังหวัดด้วย เพื่อหาทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น และกำลังจะเกิดขึ้นในชุมชนทั่วทั้งจังหวัด เพราะห้างค้าปลีกขนาดยักษ์ได้มีการขยายสาขาในลักษณะเอ็กซเพรสไปยังอำเภอ และชุมชนต่างๆ ซึ่งเป็นการเลี่ยงกฎหมายในเรื่องของพื้นที่การใช้สอย ซึ่งขณะนี้ในพื้นที่จังหวัดกระบี่ก็ได้รับทราบข่าวมาบ้างแล้ว เช่นที่อำเภออ่าวลึก อ.เขาพนม อ.คลองท่อม อ.เกาะลันตา และที่ตำบลอ่าวนาง
รองประธานหอฯ กล่าวด้วยว่า ปัญหาดังกล่าวนี้ได้เกิดขึ้นในหลายๆ จังหวัด ซึ่งล่าสุดที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ก็มีปัญหาดังกล่าวด้วย ซึ่ง นายภาณุ อุทัยรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้มีประกาศเรื่องนโยบายการอนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเปลี่ยนการใช้อาคาร เพื่อขยายสาขาของธุรกิจค้าปลีก-ค้าส่งสมัยใหม่ ซึ่งจังหวัดนครศรีฯระบุว่า เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนตามมาตรา 7 แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 เป็นการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและป้องกันความไม่สงบเรียบร้อยอันเกิดจากการร้องเรียนรวมทั้งการประท้วงในพื้นที่ ต่อการเปิดบริการเพื่อขยายสาขาของธุรกิจค้าปลีกค้าส่งสมัยใหม่ซึ่งในประกาศดังกล่าวของจังหวัดนครศรีฯ มี 4 ข้อดังนี้
1.ไม่มีนโยบายให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นอนุญาตให้บริษัท หรือห้างค้าปลีกค้าส่งขนาดใหญ่ทำการก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเปลี่ยนการใช้อาคาร พื้นที่เสมือนอาคารพาณิชย์ ห้องแถว เป็นร้านค้าปลีกค้าส่งในเขตเทศบาล
2.ไม่มีนโยบายเปิดบริการร้านค้าปลีกค้าส่งขนาดใหญ่เป็นขนาดเล็กแบบห้องแถวในพื้นที่ชุมชน ซึ่งเป็นวิถีชีวิตของคนไทยที่ได้ทำมาค้าขายมาตั้งแต่ดั้งเดิม
3.มีนโยบายให้บริษัท หรือร้านค้าปลีกค้าส่งขนาดใหญ่ทำธุรกรรมทางการค้าเปิดบริการร้านค้าปลีกค้าส่งสมัยใหม่ในพื้นที่ด้อยความเจริญ เพื่อเป็นการเร่งพัฒนาความเจริญให้ชุมชน ชานเมือง หรือชนบท เป็นหลัก
และ 4.ก่อนพิจารณาอนุญาตต้องมีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ให้ครบถ้วนทุกกลุ่มของประชากร วิเคราะห์ผลดี ผลเสีย ผลกระทบของผู้ประกอบการอาชีพค้าปลีกค้าส่งรายย่อย ความเป็นธรรมของผู้ประกอบการ ปัญหาจราจรและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น เป็นต้น โดยผลการศึกษาต้องมีความถูกต้องตามหลักวิชาการและน่าเชื่อถือ
“จากการที่เสนอเรื่องนี้ เพราะผู้ประกอบการร้านโชว์ห๋วยท้องถิ่นจังหวัดกระบี่มีความเดือดร้อนมากและหลายฝ่ายกำลังหาวิธีที่จะช่วยเหลือผู้ประกอบการในท้องถิ่นเพื่อที่จะให้พวกเขาเหล่านั้นอยู่ได้ โดยเฉพาะหอการค้าฯได้ทำเรื่องนี้มาตลอด และอยากให้จังหวัดกระบี่เอาแบบอย่างจังหวัดนครศรีธรรมราชเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการในท้องถิ่นด้วย”
นายกอบกฤต สร้างสกุล รองประธานหอการค้าจังหวัดกระบี่ กล่าวว่า ตามที่ทางจังหวัดกระบี่ได้ดำเนินการออกประกาศกรมโยธาธิการและผังเมือง เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์การใช้ประโยชน์ในทรัพย์สิน เพื่อเป็นประโยชน์ในการวางแผนและการจัดทำผังเมืองรวมในท้องที่จังหวัดกระบี่ พ.ศ.2550 (ค้าปลีกค้าส่ง) ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศ และงานทั่วไป เล่ม 124 ตอนพิเศษ 48 ง ลงวันที่ 14 พ.ค.2550 โดยมีคณะอนุกรรมการผังเมืองระดับจังหวัด เพื่อพิจารณาปรับปรุงหลักเกณฑ์การพิจารณาอนุญาตอาคารพาณิชยกรรมค้าปลีกค้าส่ง
และเนื่องจากประกาศฉบับดังกล่าวจะสิ้นสุดระยะเวลาบังคับใช้ ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะทำการสำรวจเพื่อการวางและจัดทำผังเมืองรวมในท้องที่ 72 จังหวัด พ.ศ.2549 ในวันที่ 29 ส.ค.2552 เพื่อให้ประกาศดังกล่าวบังคับใช้อย่างต่อเนื่อง ทางจังหวัดจึงได้นัดประชุมพิจารณาเพื่อจัดทำประกาศค้าปลีกค้าส่ง วันที่ 28 มกราคม 2552 ที่ห้องประชุมชั้น 2 ศาลากลางจังหวัดกระบี่
นายกอบกฤต กล่าวด้วยว่า เรื่องนี้ถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับจังหวัดกระบี่ ยิ่งที่ตอนนี้ภาวะเศรษฐกิจกำลังอยู่ในช่วงซบเซา และร้านค้าทั่วไปก็มีผลกระทบจากห้างขนาดใหญ่ อย่างไรก็ตาม ก็อยากจะฝากผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมคณะอนุกรรมการผังเมืองระดับจังหวัดด้วย เพื่อหาทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น และกำลังจะเกิดขึ้นในชุมชนทั่วทั้งจังหวัด เพราะห้างค้าปลีกขนาดยักษ์ได้มีการขยายสาขาในลักษณะเอ็กซเพรสไปยังอำเภอ และชุมชนต่างๆ ซึ่งเป็นการเลี่ยงกฎหมายในเรื่องของพื้นที่การใช้สอย ซึ่งขณะนี้ในพื้นที่จังหวัดกระบี่ก็ได้รับทราบข่าวมาบ้างแล้ว เช่นที่อำเภออ่าวลึก อ.เขาพนม อ.คลองท่อม อ.เกาะลันตา และที่ตำบลอ่าวนาง
รองประธานหอฯ กล่าวด้วยว่า ปัญหาดังกล่าวนี้ได้เกิดขึ้นในหลายๆ จังหวัด ซึ่งล่าสุดที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ก็มีปัญหาดังกล่าวด้วย ซึ่ง นายภาณุ อุทัยรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้มีประกาศเรื่องนโยบายการอนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเปลี่ยนการใช้อาคาร เพื่อขยายสาขาของธุรกิจค้าปลีก-ค้าส่งสมัยใหม่ ซึ่งจังหวัดนครศรีฯระบุว่า เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนตามมาตรา 7 แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 เป็นการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและป้องกันความไม่สงบเรียบร้อยอันเกิดจากการร้องเรียนรวมทั้งการประท้วงในพื้นที่ ต่อการเปิดบริการเพื่อขยายสาขาของธุรกิจค้าปลีกค้าส่งสมัยใหม่ซึ่งในประกาศดังกล่าวของจังหวัดนครศรีฯ มี 4 ข้อดังนี้
1.ไม่มีนโยบายให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นอนุญาตให้บริษัท หรือห้างค้าปลีกค้าส่งขนาดใหญ่ทำการก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเปลี่ยนการใช้อาคาร พื้นที่เสมือนอาคารพาณิชย์ ห้องแถว เป็นร้านค้าปลีกค้าส่งในเขตเทศบาล
2.ไม่มีนโยบายเปิดบริการร้านค้าปลีกค้าส่งขนาดใหญ่เป็นขนาดเล็กแบบห้องแถวในพื้นที่ชุมชน ซึ่งเป็นวิถีชีวิตของคนไทยที่ได้ทำมาค้าขายมาตั้งแต่ดั้งเดิม
3.มีนโยบายให้บริษัท หรือร้านค้าปลีกค้าส่งขนาดใหญ่ทำธุรกรรมทางการค้าเปิดบริการร้านค้าปลีกค้าส่งสมัยใหม่ในพื้นที่ด้อยความเจริญ เพื่อเป็นการเร่งพัฒนาความเจริญให้ชุมชน ชานเมือง หรือชนบท เป็นหลัก
และ 4.ก่อนพิจารณาอนุญาตต้องมีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ให้ครบถ้วนทุกกลุ่มของประชากร วิเคราะห์ผลดี ผลเสีย ผลกระทบของผู้ประกอบการอาชีพค้าปลีกค้าส่งรายย่อย ความเป็นธรรมของผู้ประกอบการ ปัญหาจราจรและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น เป็นต้น โดยผลการศึกษาต้องมีความถูกต้องตามหลักวิชาการและน่าเชื่อถือ
“จากการที่เสนอเรื่องนี้ เพราะผู้ประกอบการร้านโชว์ห๋วยท้องถิ่นจังหวัดกระบี่มีความเดือดร้อนมากและหลายฝ่ายกำลังหาวิธีที่จะช่วยเหลือผู้ประกอบการในท้องถิ่นเพื่อที่จะให้พวกเขาเหล่านั้นอยู่ได้ โดยเฉพาะหอการค้าฯได้ทำเรื่องนี้มาตลอด และอยากให้จังหวัดกระบี่เอาแบบอย่างจังหวัดนครศรีธรรมราชเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการในท้องถิ่นด้วย”