ศูนย์ข่าวภูเก็ต - รมว.สาธารณสุข เตรียมยกระดับโรงพยาบาลของรัฐในภูเก็ตและเมืองท่องเที่ยวให้มีมาตรฐานรับทั้งผู้ป่วยคนไทยและต่างชาติเทียบเท่าเอกชน
เมื่อวานนี้ (11 ม.ค.) ที่โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต นายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นพ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข นพ.ไพจิตร์ วราชิต รองปลัดฯ นพ.สมยศ ดีรัศมี อธิบดีสนับสนุนบริการสุขภาพ และคณะ ได้มาตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต โดยมีนายเรวัต อารีรอบ และนางเฉลิมลักษณ์ เก็บทรัพย์ ส.ส.ภูเก็ต นายปรีชา เรืองจันทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต นายวรพจน์ รัฐสีมา รองผู้ว่าฯ นพ.พงษ์สวัสดิ์ รัตนแสง นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต นพ.เจษฎา จงไพบูลย์พัฒนะ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต คณะแพทย์ พยาบาลและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องให้การต้อนรับ พร้อมบรรยายสรุป และนำเสนอปัญหาเพื่อขอรับความช่วยเหลือ
โดยในส่วนของโรงพยาบาลวชิระ ภูเก็ต นพ.เจษฎา จงไพบูลย์พัฒนะ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลฯ กล่าวถึงความต้องการว่า ขอให้ทางกระทรวงฯ ยกฐานะโรงพยาบาลวชิระภูเก็ตเป็นโรงพยาบาลศูนย์ เพื่อให้มีกำลังเพียงพอรองรับผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้น เพิ่มอัตรากำลังแพทย์ พยาบาล สนับสนุนงบประมาณสร้างที่พักพยาบาลจำนวนประมาณ 60 ล้านบาท อาคารสนับสนุนขนาด 10 ชั้น งบประมาณ 324 ล้านบาท ตลอดจนเพิ่มอัตราค่าตอบแทนแพทย์ พยาบาลและเจ้าหน้าที่อื่นๆ
ในขณะที่ นพ.ศิริชัย ศิลปอาชา รองผู้อำนวยการฝ่ายบริการตติยภูมิโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต กล่าวว่าปัจจุบันโรงพยาบาลของรัฐทั่วประเทศอยู่ในภาวะวิกฤต โดยเฉพาะโรงพยาบาลจังหวัดเนื่องจากจำนวนของผู้ป่วยที่เพิ่มมากขึ้น เช่น โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมามีผู้ป่วยนอกเพิ่มขึ้นจากวันละ 800 คน เป็นวันละ 2,400 คน เป็นต้น แต่จำนวนบุคลากรไม่ได้เพิ่มขึ้น ปัญหาคดีการฟ้องร้องแพทย์ทำให้แพทย์ในโรงพยาบาลชุมชนทั่วประเทศไม่ผ่าตัดและส่งต่อผู้ป่วยมายังโรงพยาบาลจังหวัด ข้อจำกัดเรื่องตำแหน่ง ค่าตอบแทนของภาครัฐที่ต่ำประมาณ 20% ของเอกชน ความเสี่ยงที่ต้องตรวจผู้ป่วยจำนวนมาก ซึ่งอาจผิดพลาดและถูกฟ้องทำให้แพทย์จบใหม่ตัดสินใจลาออกเร็วขึ้น และอายุเฉลี่ยของแพทย์มากกว่า 40 ปี พยาบาลมากกว่า 35 ปี ทำให้อนาคตจะไม่มีบุคลากรทำงานในโรงพยาบาลทั่วประเทศ
แนวทางการแก้ไขภายใต้งบประมาณที่จำกัดในปัจจุบัน โดยการแก้ระเบียบการใช้จ่ายเงินบำรุงให้สามารถจ่ายค่าตอบแทนได้กว้างขึ้น ทั้งในและนอกเวลาราชการ ให้โรงเรียนพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขและสังกัดมหาวิทยาลัยต่างๆ ผลิตพยาบาลเพิ่ม ตลอดจนให้โรงพยาบาลจังหวัดและโรงพยาบาลศูนย์ทั่วประเทศเปิดพื้นที่บริการ 10-20% ของพื้นที่แต่ละโรงพยาบาลจัดบริการให้ผู้ป่วยประกันชีวิตทั้งในและต่างประเทศ เพื่อนำรายได้ส่วนนี้มาเลี้ยงตัวเองได้โดยไม่ต้องพึ่งพางบประมาณ
ทั้งนี้ นายวิทยากล่าวภายหลังการรับฟังบรรยายสรุป ปัญหาและข้อเสนอแนะต่างๆ ว่าจะนำข้อเสนอต่างๆ ไปหาแนวทางแก้ไขต่อไป ซึ่งปัญหาการขาดแคลนบุคลากร ทางกระทรวงฯ เตรียมหารือ กพ.เพื่อขอบรรจุบุคลากรเป็นข้าราชการ เสนอขอใช้งบกลางของรัฐบาลในการแก้ปัญหาสาธารณสุขวงเงินรวมประมาณ 8,200 ล้านบาทใน 4 โครงการใหญ่ ประกอบด้วย โครงการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุข ประจำอำเภอ รวมทั้งการจ่ายค่าตอบแทนให้ อสม.ทั่วประเทศเดือนละ 600 บาท โครงการปรับปรุงสถานีอนามัยทั่วประเทศวงเงิน 2,600 แห่งทั่วประเทศ โครงการสร้างบ้านพักแพทย์พยาบาลทั่วประเทศ และโครงการจ้างแรงงานในท้องถิ่นช่วยงานสาธารณสุข
ในส่วนการพัฒนาระบบสาธารณสุขของจังหวัดภูเก็ตนั้น นายวิทยา กล่าวว่า ตั้งใจจะทำให้โรงพยาบาลภูเก็ตและป่าตองรองรับการรักษาพยาบาลได้ในระดับสากล สามารถดูแลผู้ป่วยคนไทยได้ตามหลักประกันตามกฎหมายรัฐธรรมนูญอย่างมีคุณภาพ และขยายแผนกบริการผู้ป่วยชาวต่างชาติเพื่อเสริมสร้างรายได้ให้กับองค์กร โดยเน้นการพัฒนาโรงพยาบาลที่มีอยู่แล้ว เนื่องจากการสร้างโรงพยาบาลใหม่ต้องใช้งบประมาณมหาศาล ก็จะเร่งดำเนินการให้เร็วที่สุด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการจัดระบบขวัญและกำลังใจของบุคลากรในระบบแพทย์และพยาบาลให้จบเสียก่อน
รูปแบบที่จะดำเนินการนั้นคงเป็นรูปแบบพิเศษเฉพาะของการรักษาพยาบาล เพื่อให้เหมาะกับการเป็นเมืองท่องเที่ยว โดยมีประสิทธิภาพในการรักษาพยาบาลที่สูงขึ้น สามารถเลี้ยงตัวเอง ยกระดับได้ใกล้เคียงกับภาคเอกชน แต่ต้องขอเวลาศึกษาความชัดเจนอีกครั้งว่าจะออกมาในรูปแบบ นอกจากภูเก็ตแล้ว ก็จะขายไปยังเมืองท่องเที่ยวอื่นๆ เช่น เชียงใหม่ ชลบุรี สมุย เป็นต้น
ส่วนของปัญหาที่เกิดขึ้นกับโรงพยาบาลป่าตองนั้น นายวิทยา กล่าวว่า ได้รับรายงานถึงปัญหาที่เกิดขึ้นแล้ว ซึ่งในเบื้องต้นสั่งการให้นำบุคลากรจากที่อื่นๆ มาช่วยเหลือเพื่อเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปก่อน และจะได้วางแผนแก้ปัญหาในระยะยาวต่อ
เมื่อวานนี้ (11 ม.ค.) ที่โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต นายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นพ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข นพ.ไพจิตร์ วราชิต รองปลัดฯ นพ.สมยศ ดีรัศมี อธิบดีสนับสนุนบริการสุขภาพ และคณะ ได้มาตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต โดยมีนายเรวัต อารีรอบ และนางเฉลิมลักษณ์ เก็บทรัพย์ ส.ส.ภูเก็ต นายปรีชา เรืองจันทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต นายวรพจน์ รัฐสีมา รองผู้ว่าฯ นพ.พงษ์สวัสดิ์ รัตนแสง นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต นพ.เจษฎา จงไพบูลย์พัฒนะ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต คณะแพทย์ พยาบาลและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องให้การต้อนรับ พร้อมบรรยายสรุป และนำเสนอปัญหาเพื่อขอรับความช่วยเหลือ
โดยในส่วนของโรงพยาบาลวชิระ ภูเก็ต นพ.เจษฎา จงไพบูลย์พัฒนะ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลฯ กล่าวถึงความต้องการว่า ขอให้ทางกระทรวงฯ ยกฐานะโรงพยาบาลวชิระภูเก็ตเป็นโรงพยาบาลศูนย์ เพื่อให้มีกำลังเพียงพอรองรับผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้น เพิ่มอัตรากำลังแพทย์ พยาบาล สนับสนุนงบประมาณสร้างที่พักพยาบาลจำนวนประมาณ 60 ล้านบาท อาคารสนับสนุนขนาด 10 ชั้น งบประมาณ 324 ล้านบาท ตลอดจนเพิ่มอัตราค่าตอบแทนแพทย์ พยาบาลและเจ้าหน้าที่อื่นๆ
ในขณะที่ นพ.ศิริชัย ศิลปอาชา รองผู้อำนวยการฝ่ายบริการตติยภูมิโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต กล่าวว่าปัจจุบันโรงพยาบาลของรัฐทั่วประเทศอยู่ในภาวะวิกฤต โดยเฉพาะโรงพยาบาลจังหวัดเนื่องจากจำนวนของผู้ป่วยที่เพิ่มมากขึ้น เช่น โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมามีผู้ป่วยนอกเพิ่มขึ้นจากวันละ 800 คน เป็นวันละ 2,400 คน เป็นต้น แต่จำนวนบุคลากรไม่ได้เพิ่มขึ้น ปัญหาคดีการฟ้องร้องแพทย์ทำให้แพทย์ในโรงพยาบาลชุมชนทั่วประเทศไม่ผ่าตัดและส่งต่อผู้ป่วยมายังโรงพยาบาลจังหวัด ข้อจำกัดเรื่องตำแหน่ง ค่าตอบแทนของภาครัฐที่ต่ำประมาณ 20% ของเอกชน ความเสี่ยงที่ต้องตรวจผู้ป่วยจำนวนมาก ซึ่งอาจผิดพลาดและถูกฟ้องทำให้แพทย์จบใหม่ตัดสินใจลาออกเร็วขึ้น และอายุเฉลี่ยของแพทย์มากกว่า 40 ปี พยาบาลมากกว่า 35 ปี ทำให้อนาคตจะไม่มีบุคลากรทำงานในโรงพยาบาลทั่วประเทศ
แนวทางการแก้ไขภายใต้งบประมาณที่จำกัดในปัจจุบัน โดยการแก้ระเบียบการใช้จ่ายเงินบำรุงให้สามารถจ่ายค่าตอบแทนได้กว้างขึ้น ทั้งในและนอกเวลาราชการ ให้โรงเรียนพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขและสังกัดมหาวิทยาลัยต่างๆ ผลิตพยาบาลเพิ่ม ตลอดจนให้โรงพยาบาลจังหวัดและโรงพยาบาลศูนย์ทั่วประเทศเปิดพื้นที่บริการ 10-20% ของพื้นที่แต่ละโรงพยาบาลจัดบริการให้ผู้ป่วยประกันชีวิตทั้งในและต่างประเทศ เพื่อนำรายได้ส่วนนี้มาเลี้ยงตัวเองได้โดยไม่ต้องพึ่งพางบประมาณ
ทั้งนี้ นายวิทยากล่าวภายหลังการรับฟังบรรยายสรุป ปัญหาและข้อเสนอแนะต่างๆ ว่าจะนำข้อเสนอต่างๆ ไปหาแนวทางแก้ไขต่อไป ซึ่งปัญหาการขาดแคลนบุคลากร ทางกระทรวงฯ เตรียมหารือ กพ.เพื่อขอบรรจุบุคลากรเป็นข้าราชการ เสนอขอใช้งบกลางของรัฐบาลในการแก้ปัญหาสาธารณสุขวงเงินรวมประมาณ 8,200 ล้านบาทใน 4 โครงการใหญ่ ประกอบด้วย โครงการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุข ประจำอำเภอ รวมทั้งการจ่ายค่าตอบแทนให้ อสม.ทั่วประเทศเดือนละ 600 บาท โครงการปรับปรุงสถานีอนามัยทั่วประเทศวงเงิน 2,600 แห่งทั่วประเทศ โครงการสร้างบ้านพักแพทย์พยาบาลทั่วประเทศ และโครงการจ้างแรงงานในท้องถิ่นช่วยงานสาธารณสุข
ในส่วนการพัฒนาระบบสาธารณสุขของจังหวัดภูเก็ตนั้น นายวิทยา กล่าวว่า ตั้งใจจะทำให้โรงพยาบาลภูเก็ตและป่าตองรองรับการรักษาพยาบาลได้ในระดับสากล สามารถดูแลผู้ป่วยคนไทยได้ตามหลักประกันตามกฎหมายรัฐธรรมนูญอย่างมีคุณภาพ และขยายแผนกบริการผู้ป่วยชาวต่างชาติเพื่อเสริมสร้างรายได้ให้กับองค์กร โดยเน้นการพัฒนาโรงพยาบาลที่มีอยู่แล้ว เนื่องจากการสร้างโรงพยาบาลใหม่ต้องใช้งบประมาณมหาศาล ก็จะเร่งดำเนินการให้เร็วที่สุด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการจัดระบบขวัญและกำลังใจของบุคลากรในระบบแพทย์และพยาบาลให้จบเสียก่อน
รูปแบบที่จะดำเนินการนั้นคงเป็นรูปแบบพิเศษเฉพาะของการรักษาพยาบาล เพื่อให้เหมาะกับการเป็นเมืองท่องเที่ยว โดยมีประสิทธิภาพในการรักษาพยาบาลที่สูงขึ้น สามารถเลี้ยงตัวเอง ยกระดับได้ใกล้เคียงกับภาคเอกชน แต่ต้องขอเวลาศึกษาความชัดเจนอีกครั้งว่าจะออกมาในรูปแบบ นอกจากภูเก็ตแล้ว ก็จะขายไปยังเมืองท่องเที่ยวอื่นๆ เช่น เชียงใหม่ ชลบุรี สมุย เป็นต้น
ส่วนของปัญหาที่เกิดขึ้นกับโรงพยาบาลป่าตองนั้น นายวิทยา กล่าวว่า ได้รับรายงานถึงปัญหาที่เกิดขึ้นแล้ว ซึ่งในเบื้องต้นสั่งการให้นำบุคลากรจากที่อื่นๆ มาช่วยเหลือเพื่อเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปก่อน และจะได้วางแผนแก้ปัญหาในระยะยาวต่อ