สธ.เผยผู้หญิง-เด็ก ตกเป็นเหยื่อความรุนแรงมากขึ้น ปี 50 เฉลี่ยชั่วโมงละ 2 ราย ถูกส่งเข้ารับบริการที่ศูนย์พึ่งได้ในโรงพยาบาลใหญ่ทั่วประเทศเกือบ20,000 ราย กว่าครึ่งเป็นเด็ก พบในเด็กหญิงมากกว่าเด็กชาย 3-4 เท่าตัว ปัญหาในผู้ใหญ่พบถูกทุบตีมากสุด ในเด็กถูกละเมิดทางเพศมากสุด ในปี 2552 เร่งขยายบริการของศูนย์พึ่งได้ ลงถึงโรงพยาบาลประจำอำเภอ 729 แห่งทั่วประเทศและนำร่อง 4 สถานีอนามัย
นายวิชาญ มีนชัยนันท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า ในวันที่ 25 พฤศจิกายน ทุกปีองค์การสหประชาชาติกำหนดให้เป็นวันรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีสากลและเรียกร้องให้ทั่วโลกร่วมต่อต้านการทารุณล่วงละเมิดสตรีเพศ ต้องยอมรับว่าขณะนี้ความรุนแรงในเด็กและสตรี เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นทุกวันในสังคมไทยนับวันจะยิ่งทวีความรุนแรงขึ้น จากสถิติการให้บริการของศูนย์พึ่งได้ ในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ประจำจังหวัดทั่วประเทศ 297 แห่ง ในปี 2550 มีเด็กและสตรีที่ถูกกระทำรุนแรงเข้ารับบริการจำนวน 19,068 ราย เฉลี่ยวันละ 52 ราย หรือชั่วโมงละเกือบละ 2 ราย เป็นหญิงอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 9,470 ราย ที่เหลือเป็นเด็กจำนวน 9,598 ราย ซึ่งสถิติมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จากปี 2548 มีผู้หญิงและเด็กถูกทำร้ายเฉลี่ยวันละ 32 ราย เท่านั้น
นายวิชาญ กล่าวต่อว่า ในกลุ่มเด็กที่ถูกทำร้าย พบว่าเป็นเด็กหญิงมากกว่าเด็กชาย 3-4 เท่าตัว ส่วนปัญหาที่พบในกลุ่มเด็กอันดับ 1 คือ การถูกละเมิดทางเพศ พบร้อยละ 64 และยังพบปัญหาจากสื่อลามกได้ร้อยละ 2 ส่วนการบาดเจ็บในกลุ่มผู้หญิงที่อายุ 18 ปีขึ้นไป มักถูกทุบตี ผู้ทำร้ายเป็นผู้ใกล้ชิด เช่น แฟน สามี สาเหตุเกิดจากนอกใจ หึงหวง เมาสุรามากที่สุด ที่น่าสังเกตในปี 2550 มีผู้สูงอายุถูกทอดทิ้ง 109 ราย ซึ่งผลกระทบของความรุนแรงทำให้เกิดความสูญเสียทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และเศรษฐกิจมูลค่ากว่า 36,000 ล้านบาทต่อปี
นายวิชาญ กล่าวต่ออีกว่า สถิติที่พบครั้งนี้เชื่อว่ายังต่ำกว่าความเป็นจริง เนื่องจากความรุนแรงในเด็กและผู้หญิงกว่าร้อยละ 80 เกิดในครอบครัว ซึ่งสังคมไทยยังมีความเชื่อว่าเป็นเรื่องส่วนตัว ไม่ควรเปิดเผยให้ใครทราบ และเด็กมักตกเป็นเหยื่อความรุนแรงได้ง่าย เพราะไม่รู้เท่าทันผู้ใหญ่ ไม่มีประสบการณ์ป้องกันตัวเอง และเด็กมักจะถูกขู่ไม่ให้บอกใคร หรือครอบครัวไม่ยอมให้เปิดเผยเพราะกลัวอับอาย จึงต้องเร่งกระตุ้นให้สังคมไทยเกิดความตระหนัก และร่วมกันแก้ไขป้องกัน
“ในส่วนของกระทรวงสาธารณสุข ขณะนี้ได้เปิดศูนย์พึ่งได้ในโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไปทั่วประเทศแล้ว เปิดรับแจ้งทางหมายเลข 1669 ตลอด 24 ชั่วโมง ในปี 2552 มีนโยบายจะขยายบริการศูนย์พึ่งได้ไปยังโรงพยาบาลชุมชนทั่วประเทศจำนวน 729 แห่ง และนำร่องขยายลงระดับสถานีอนามัยบางจังหวัด ตั้งเป้าครอบคลุมสถานีอนามัยทั่วประเทศ ภายในปี 2555 ซึ่งจะทำให้ระบบการทำงานเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่าย เพื่อให้การดูแลช่วยเหลือเด็ก สตรี ที่ถูกกระทำรุนแรงให้ทันท่วงทีมากขึ้น” นายวิชาญกล่าว
ด้าน นพ.สมยศ ดีรัศมี อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กล่าวว่า กรมสนับสนุนฯได้จัดทำคู่มือแนวทางปฏิบัติเพื่อช่วยเหลือเด็กและสตรีที่ถูกกกระทำรุนแรงในเครือข่ายระดับจังหวัด เพื่อให้การช่วยเหลือผู้ป่วยที่มารับบริการแบบครบวงจร 4 ด้าน ได้แก่ การให้บริการการแพทย์ ด้านสังคมสงเคราะห์ ด้านกฎหมาย รวมทั้งการประสานส่งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การบำบัดฟื้นฟูในระยะยาวตามสภาพปัญหา
สำหรับทิศทางจะดำเนินการในปี 2552 ทางกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ จะขยายระบบการช่วยเหลือเด็กและสตรีที่ถูกกระทำรุนแรงลงในระดับตำบล จะนำร่องใน 4 ตำบลใน 4 จังหวัดได้แก่ ปทุมธานี ขอนแก่น ชุมพร และเชียงใหม่ เพื่อสร้างเครือข่ายระบบการดูแลช่วยเหลือและส่งต่อระหว่างสถานพยาบาลอย่างเป็นระบบมีมาตรฐานและครอบคลุมทั้งจังหวัด นอกจากนี้จะจัดทำฐานข้อมูลความรุนแรงในเด็กและสตรี การพัฒนา องค์ความรู้ด้านนิติเวชแก่บุคลากรผู้ปฏิบัติงาน ในการเก็บวัตถุพยาน รวมทั้งการส่งต่อวัตถุพยานเพื่อช่วยเหลือทางด้านการแพทย์และคดี
ทั้งนี้ หากพบเด็กหรือสตรีถูกทำร้าย หรือพบเห็นเหตุการณ์ที่มีการทำร้ายรุนแรงเกิดขึ้นให้โทรแจ้งไปที่ 1669 ทันทีมีรถพยาบาลออกปฏิบัติการนำผู้ป่วยไปส่งต่อยังโรงพยาบาลเครือข่ายที่ใกล้เคียงที่เกิดเหตุที่สุดภายในเวลา 15 นาที
นายวิชาญ มีนชัยนันท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า ในวันที่ 25 พฤศจิกายน ทุกปีองค์การสหประชาชาติกำหนดให้เป็นวันรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีสากลและเรียกร้องให้ทั่วโลกร่วมต่อต้านการทารุณล่วงละเมิดสตรีเพศ ต้องยอมรับว่าขณะนี้ความรุนแรงในเด็กและสตรี เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นทุกวันในสังคมไทยนับวันจะยิ่งทวีความรุนแรงขึ้น จากสถิติการให้บริการของศูนย์พึ่งได้ ในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ประจำจังหวัดทั่วประเทศ 297 แห่ง ในปี 2550 มีเด็กและสตรีที่ถูกกระทำรุนแรงเข้ารับบริการจำนวน 19,068 ราย เฉลี่ยวันละ 52 ราย หรือชั่วโมงละเกือบละ 2 ราย เป็นหญิงอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 9,470 ราย ที่เหลือเป็นเด็กจำนวน 9,598 ราย ซึ่งสถิติมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จากปี 2548 มีผู้หญิงและเด็กถูกทำร้ายเฉลี่ยวันละ 32 ราย เท่านั้น
นายวิชาญ กล่าวต่อว่า ในกลุ่มเด็กที่ถูกทำร้าย พบว่าเป็นเด็กหญิงมากกว่าเด็กชาย 3-4 เท่าตัว ส่วนปัญหาที่พบในกลุ่มเด็กอันดับ 1 คือ การถูกละเมิดทางเพศ พบร้อยละ 64 และยังพบปัญหาจากสื่อลามกได้ร้อยละ 2 ส่วนการบาดเจ็บในกลุ่มผู้หญิงที่อายุ 18 ปีขึ้นไป มักถูกทุบตี ผู้ทำร้ายเป็นผู้ใกล้ชิด เช่น แฟน สามี สาเหตุเกิดจากนอกใจ หึงหวง เมาสุรามากที่สุด ที่น่าสังเกตในปี 2550 มีผู้สูงอายุถูกทอดทิ้ง 109 ราย ซึ่งผลกระทบของความรุนแรงทำให้เกิดความสูญเสียทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และเศรษฐกิจมูลค่ากว่า 36,000 ล้านบาทต่อปี
นายวิชาญ กล่าวต่ออีกว่า สถิติที่พบครั้งนี้เชื่อว่ายังต่ำกว่าความเป็นจริง เนื่องจากความรุนแรงในเด็กและผู้หญิงกว่าร้อยละ 80 เกิดในครอบครัว ซึ่งสังคมไทยยังมีความเชื่อว่าเป็นเรื่องส่วนตัว ไม่ควรเปิดเผยให้ใครทราบ และเด็กมักตกเป็นเหยื่อความรุนแรงได้ง่าย เพราะไม่รู้เท่าทันผู้ใหญ่ ไม่มีประสบการณ์ป้องกันตัวเอง และเด็กมักจะถูกขู่ไม่ให้บอกใคร หรือครอบครัวไม่ยอมให้เปิดเผยเพราะกลัวอับอาย จึงต้องเร่งกระตุ้นให้สังคมไทยเกิดความตระหนัก และร่วมกันแก้ไขป้องกัน
“ในส่วนของกระทรวงสาธารณสุข ขณะนี้ได้เปิดศูนย์พึ่งได้ในโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไปทั่วประเทศแล้ว เปิดรับแจ้งทางหมายเลข 1669 ตลอด 24 ชั่วโมง ในปี 2552 มีนโยบายจะขยายบริการศูนย์พึ่งได้ไปยังโรงพยาบาลชุมชนทั่วประเทศจำนวน 729 แห่ง และนำร่องขยายลงระดับสถานีอนามัยบางจังหวัด ตั้งเป้าครอบคลุมสถานีอนามัยทั่วประเทศ ภายในปี 2555 ซึ่งจะทำให้ระบบการทำงานเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่าย เพื่อให้การดูแลช่วยเหลือเด็ก สตรี ที่ถูกกระทำรุนแรงให้ทันท่วงทีมากขึ้น” นายวิชาญกล่าว
ด้าน นพ.สมยศ ดีรัศมี อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กล่าวว่า กรมสนับสนุนฯได้จัดทำคู่มือแนวทางปฏิบัติเพื่อช่วยเหลือเด็กและสตรีที่ถูกกกระทำรุนแรงในเครือข่ายระดับจังหวัด เพื่อให้การช่วยเหลือผู้ป่วยที่มารับบริการแบบครบวงจร 4 ด้าน ได้แก่ การให้บริการการแพทย์ ด้านสังคมสงเคราะห์ ด้านกฎหมาย รวมทั้งการประสานส่งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การบำบัดฟื้นฟูในระยะยาวตามสภาพปัญหา
สำหรับทิศทางจะดำเนินการในปี 2552 ทางกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ จะขยายระบบการช่วยเหลือเด็กและสตรีที่ถูกกระทำรุนแรงลงในระดับตำบล จะนำร่องใน 4 ตำบลใน 4 จังหวัดได้แก่ ปทุมธานี ขอนแก่น ชุมพร และเชียงใหม่ เพื่อสร้างเครือข่ายระบบการดูแลช่วยเหลือและส่งต่อระหว่างสถานพยาบาลอย่างเป็นระบบมีมาตรฐานและครอบคลุมทั้งจังหวัด นอกจากนี้จะจัดทำฐานข้อมูลความรุนแรงในเด็กและสตรี การพัฒนา องค์ความรู้ด้านนิติเวชแก่บุคลากรผู้ปฏิบัติงาน ในการเก็บวัตถุพยาน รวมทั้งการส่งต่อวัตถุพยานเพื่อช่วยเหลือทางด้านการแพทย์และคดี
ทั้งนี้ หากพบเด็กหรือสตรีถูกทำร้าย หรือพบเห็นเหตุการณ์ที่มีการทำร้ายรุนแรงเกิดขึ้นให้โทรแจ้งไปที่ 1669 ทันทีมีรถพยาบาลออกปฏิบัติการนำผู้ป่วยไปส่งต่อยังโรงพยาบาลเครือข่ายที่ใกล้เคียงที่เกิดเหตุที่สุดภายในเวลา 15 นาที