สงขลา - หาดใหญ่โพล โดยสำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ สำรวจความคิดเห็นของประชาชนใน 14 จังหวัดภาคใต้ เกี่ยวกับภาพลักษณ์และนโยบายของรัฐบาลอภิสิทธิ์ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลประชาชน จำนวน 1,195 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 25-29 ธันวาคม 2551
สรุปผลการสำรวจประเด็นข่าวเหตุการณ์การเมืองปัจจุบัน ประชาชน 14 จังหวัดภาคใต้ร้อยละ 93.1 มีความพึงพอใจในคณะรัฐมนตรีของรัฐบาลอภิสิทธิ์ โดยให้เหตุผลว่าเป็นที่ยอมรับของภาคธุรกิจและต่างประเทศ (ร้อยละ 42.0) เหตุผลรองลงมา เป็นเพราะคณะรัฐมนตรีสามารถแก้ปัญหาให้ประชาชนได้ (ร้อยละ 30.0) และมีผู้นำที่มีความรู้และประสบการณ์ในการทำงาน (ร้อยละ 19.3) ส่วนกลุ่มที่ไม่พึงพอใจ มีเพียงร้อยละ 6.9 โดยให้เหตุผลว่าเป็นรัฐบาลที่มีทหารครอบงำอยู่ (ร้อยละ 48.1) เหตุผลรองลงมา เป็นการแบ่งผลประโยชน์ของการเมืองเก่า (ร้อยละ 24.7)และมีบางกลุ่มที่มีแนวโน้มจะเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ (ร้อยละ 21.0)
ส่วนรัฐมนตรีที่ประชาชนชาวภาคใต้ เห็นว่าควรมีการติดตามการบริหารงานมากที่สุด เรียงตามลำดับ ได้แก่ นางพรทิวา นาคาสัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์(ร้อยละ 41.2) นายวีระชัย วีระเมธีกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (ร้อยละ 39.8) พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ( ร้อยละ 39.4) นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (ร้อยละ 28.6) นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี (ร้อยละ 23.6) นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ (ร้อยละ 23.0) นายชวรัตน์ ชาญวีระกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (ร้อยละ 18.8) นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (ร้อยละ 11.9) และนายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (ร้อยละ 6.6) นอกจากนี้ประชาชนชาวใต้ ยังให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการแต่งตั้งนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ (น้องชายนายเนวิน ชิดชอบ)มาเป็นประธานคณะทำงานกระทรวงมหาดไทยของนายชวรัตน์ ชาญวีระกุล (รมว.มหาดไทย) พบว่า ประชาชนร้อยละ 50.7 เห็นว่าไม่ได้เป็นการสร้างอำนาจและเงินทุนให้กับตระกูล ชิดชอบ มีเพียงร้อยละ 39.2 เห็นว่าเป็นการสร้างอำนาจและเงินทุนของตระกูลชิดชอบ
ส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับการแก้ปัญหาเศรษฐกิจภายใน 6 เดือน ของนายกรณ์ จาติกวณิช พบว่า ประชาชนร้อยละ 51.3 เห็นว่าสามารถแก้ไขได้ มีเพียงร้อยละ 35.5 ที่เห็นว่าไม่สามารถแก้ปัญหาได้ นอกจากนี้ประชาชนร้อยละ 59.0 ไม่เห็นด้วยกับการแต่งตั้งพลตำรวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ กลับมาดำรงตำแหน่ง ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติอีก โดยให้เหตุผลว่า เพราะโดนคดีสอบทุจริตในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ร้อยละ 73.6)เป็นการต่อรองของกลุ่มทหาร (ร้อยละ 13.1) ไม่ดำเนินการคดีต่างๆในขณะดำรงตำแหน่ง (ร้อยละ 7.2) เป็นจำเลยในคดีสั่งฆ่าประชาชน ในวันที่ 7 ตุลาคม 2551 (ร้อยละ 6.0) ส่วนกลุ่มที่เห็นด้วยมีเพียงร้อยละ 41.0 โดยให้เหตุผลว่า มีความรู้และประสบการณ์ในการทำงาน (ร้อยละ 77.0) เป็นการแทรกแซงทางการเมือง (ร้อยละ 20.7)
ส่วนประเด็นแนวทางการดำเนินงานของรัฐบาลอภิสิทธิ์ ประชาชน 14 จังหวัดภาคใต้ ร้อยละ 80.7 เห็นด้วยกับแนวคิดที่จะมีการใช้น้ำไฟฟรีต่ออีก 6 เดือนถึง 1 ปี มีเพียงร้อยละ 12.4 ที่ไม่เห็นด้วย ส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับการตั้งสำนักงานบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ในการแก้ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ พบว่า ประชาชนร้อยละ 76.3 เห็นว่าสามารถแก้ปัญหาได้ มีเพียงร้อยละ 14.0 ที่เห็นว่าไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวนโยบายที่ให้โอกาสทุกคนได้รับการศึกษาฟรี 15 ปีโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพิ่ม พบว่า ประชาชนร้อยละ 48.8 เห็นว่าสามารถเกิดในระดับมากและมากที่สุดในรัฐบาลอภิสิทธิ์ และร้อยละ 44.9 เห็นว่าสามารถเกิดขึ้นได้ในระดับปานกลาง
ส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานของรัฐบาลอภิสิทธิ์สามารถนำไปสู่ความสงบสุขของสังคม พบว่า ประชาชนร้อยละ 51.2 เห็นว่าสามารถทำได้ในระดับมากและมากที่สุด ร้อยละ 46.2 เห็นว่าสามารถนำไปสู่ความสงบสุขในสังคมได้ในระดับปานกลาง ปะชาชน 14 จังหวัดภาคใต้มีความคาดหวังต่อรัฐบาลอภิสิทธิ์ ในประเด็นการสร้างความเป็นธรรม พบว่า สิ่งที่ประชาชนต้องการให้รัฐบาลอภิสิทธิ์สร้างความเป็นธรรมในสังคมในเรื่องการปรับขึ้นราคาค่าไฟฟ้าอย่างเป็นธรรมมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 42.3 รองลงมา ความเป็นธรรมจากการล้างบอร์ด อสมท. และ NBT (ร้อยละ 35.7) การหาผู้รับผิดชอบในคดีสั่งฆ่าประชาชนในวันที่ 7 ตุลาคม 2551 (ร้อยละ 33.6) การทบทวนการกลับมาดำรงตำแหน่งของผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ร้อยละ 33.1) ทบทวนโครงการรถเมล์ NGV (ร้อยละ 31.4) การทบทวนการแปรรูป ปตท.(ร้อยละ 28.3) การตรวจสอบการทุจริตเชิงนโยบายของ พตท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร (ร้อยละ 23.1) คดีหมิ่นพระบรมราชานุภาพ (ร้อยละ 15.3) และการรื้อโครงสร้างสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ร้อยละ 11.9)
ส่วนความคาดหวังในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจในเรื่องการเพิ่มการลงทุนในโครงการประชานิยมมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 45.1 รองลงมา เป็นปัญหาการลดราคาค่าครองชีพของประชาชน (ร้อยละ 44.4) การสร้างความเชื่อมั่นและการส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ (ร้อยละ 40.2) การเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศ (ร้อยละ 33.1) การช่วยเหลือภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจ SME (ร้อยละ 32.0) การเร่งการตลาดใหม่ในการส่งสินค้าออกต่างประเทศ (ร้อยละ 31.9) การสร้างความเข้มแข็งของกองทุนหมู่บ้าน (ร้อยละ 27.3) การชะลอปัญหาการว่างงานและสร้างงานใหม่ (ร้อยละ 16.2) และกลไกราคาพลังงานที่ไม่เป็นธรรม (ร้อยละ 16.0)
นอกจากนี้ประชาชน 14 จังหวัดภาคใต้ต้องการให้รัฐบาลอภิสิทธิ์ดำเนินนโยบายการแก้ปัญหาเรื่องของความสงบสุขของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 61.9 รองลงมาเป็นปัญหาปากท้องของประชาชน (ร้อยละ 43.9) ปัญหาการว่างงาน (ร้อยละ 33.9) ความสมานฉันท์ของคนในสังคม (ร้อยละ 29.7) การป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ร้อยละ 25.1) การแก้ปัญหาคอร์รัปชั่น (ร้อยละ 22.4) ปัญหาหนี้สินและความยากจนของเกษตรกร (ร้อยละ 19.7) การปฏิรูปการเมือง (ร้อยละ 16.9) และคุณภาพการศึกษา (ร้อยละ 15.0)
สรุปผลการสำรวจประเด็นข่าวเหตุการณ์การเมืองปัจจุบัน ประชาชน 14 จังหวัดภาคใต้ร้อยละ 93.1 มีความพึงพอใจในคณะรัฐมนตรีของรัฐบาลอภิสิทธิ์ โดยให้เหตุผลว่าเป็นที่ยอมรับของภาคธุรกิจและต่างประเทศ (ร้อยละ 42.0) เหตุผลรองลงมา เป็นเพราะคณะรัฐมนตรีสามารถแก้ปัญหาให้ประชาชนได้ (ร้อยละ 30.0) และมีผู้นำที่มีความรู้และประสบการณ์ในการทำงาน (ร้อยละ 19.3) ส่วนกลุ่มที่ไม่พึงพอใจ มีเพียงร้อยละ 6.9 โดยให้เหตุผลว่าเป็นรัฐบาลที่มีทหารครอบงำอยู่ (ร้อยละ 48.1) เหตุผลรองลงมา เป็นการแบ่งผลประโยชน์ของการเมืองเก่า (ร้อยละ 24.7)และมีบางกลุ่มที่มีแนวโน้มจะเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ (ร้อยละ 21.0)
ส่วนรัฐมนตรีที่ประชาชนชาวภาคใต้ เห็นว่าควรมีการติดตามการบริหารงานมากที่สุด เรียงตามลำดับ ได้แก่ นางพรทิวา นาคาสัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์(ร้อยละ 41.2) นายวีระชัย วีระเมธีกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (ร้อยละ 39.8) พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ( ร้อยละ 39.4) นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (ร้อยละ 28.6) นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี (ร้อยละ 23.6) นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ (ร้อยละ 23.0) นายชวรัตน์ ชาญวีระกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (ร้อยละ 18.8) นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (ร้อยละ 11.9) และนายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (ร้อยละ 6.6) นอกจากนี้ประชาชนชาวใต้ ยังให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการแต่งตั้งนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ (น้องชายนายเนวิน ชิดชอบ)มาเป็นประธานคณะทำงานกระทรวงมหาดไทยของนายชวรัตน์ ชาญวีระกุล (รมว.มหาดไทย) พบว่า ประชาชนร้อยละ 50.7 เห็นว่าไม่ได้เป็นการสร้างอำนาจและเงินทุนให้กับตระกูล ชิดชอบ มีเพียงร้อยละ 39.2 เห็นว่าเป็นการสร้างอำนาจและเงินทุนของตระกูลชิดชอบ
ส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับการแก้ปัญหาเศรษฐกิจภายใน 6 เดือน ของนายกรณ์ จาติกวณิช พบว่า ประชาชนร้อยละ 51.3 เห็นว่าสามารถแก้ไขได้ มีเพียงร้อยละ 35.5 ที่เห็นว่าไม่สามารถแก้ปัญหาได้ นอกจากนี้ประชาชนร้อยละ 59.0 ไม่เห็นด้วยกับการแต่งตั้งพลตำรวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ กลับมาดำรงตำแหน่ง ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติอีก โดยให้เหตุผลว่า เพราะโดนคดีสอบทุจริตในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ร้อยละ 73.6)เป็นการต่อรองของกลุ่มทหาร (ร้อยละ 13.1) ไม่ดำเนินการคดีต่างๆในขณะดำรงตำแหน่ง (ร้อยละ 7.2) เป็นจำเลยในคดีสั่งฆ่าประชาชน ในวันที่ 7 ตุลาคม 2551 (ร้อยละ 6.0) ส่วนกลุ่มที่เห็นด้วยมีเพียงร้อยละ 41.0 โดยให้เหตุผลว่า มีความรู้และประสบการณ์ในการทำงาน (ร้อยละ 77.0) เป็นการแทรกแซงทางการเมือง (ร้อยละ 20.7)
ส่วนประเด็นแนวทางการดำเนินงานของรัฐบาลอภิสิทธิ์ ประชาชน 14 จังหวัดภาคใต้ ร้อยละ 80.7 เห็นด้วยกับแนวคิดที่จะมีการใช้น้ำไฟฟรีต่ออีก 6 เดือนถึง 1 ปี มีเพียงร้อยละ 12.4 ที่ไม่เห็นด้วย ส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับการตั้งสำนักงานบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ในการแก้ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ พบว่า ประชาชนร้อยละ 76.3 เห็นว่าสามารถแก้ปัญหาได้ มีเพียงร้อยละ 14.0 ที่เห็นว่าไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวนโยบายที่ให้โอกาสทุกคนได้รับการศึกษาฟรี 15 ปีโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพิ่ม พบว่า ประชาชนร้อยละ 48.8 เห็นว่าสามารถเกิดในระดับมากและมากที่สุดในรัฐบาลอภิสิทธิ์ และร้อยละ 44.9 เห็นว่าสามารถเกิดขึ้นได้ในระดับปานกลาง
ส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานของรัฐบาลอภิสิทธิ์สามารถนำไปสู่ความสงบสุขของสังคม พบว่า ประชาชนร้อยละ 51.2 เห็นว่าสามารถทำได้ในระดับมากและมากที่สุด ร้อยละ 46.2 เห็นว่าสามารถนำไปสู่ความสงบสุขในสังคมได้ในระดับปานกลาง ปะชาชน 14 จังหวัดภาคใต้มีความคาดหวังต่อรัฐบาลอภิสิทธิ์ ในประเด็นการสร้างความเป็นธรรม พบว่า สิ่งที่ประชาชนต้องการให้รัฐบาลอภิสิทธิ์สร้างความเป็นธรรมในสังคมในเรื่องการปรับขึ้นราคาค่าไฟฟ้าอย่างเป็นธรรมมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 42.3 รองลงมา ความเป็นธรรมจากการล้างบอร์ด อสมท. และ NBT (ร้อยละ 35.7) การหาผู้รับผิดชอบในคดีสั่งฆ่าประชาชนในวันที่ 7 ตุลาคม 2551 (ร้อยละ 33.6) การทบทวนการกลับมาดำรงตำแหน่งของผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ร้อยละ 33.1) ทบทวนโครงการรถเมล์ NGV (ร้อยละ 31.4) การทบทวนการแปรรูป ปตท.(ร้อยละ 28.3) การตรวจสอบการทุจริตเชิงนโยบายของ พตท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร (ร้อยละ 23.1) คดีหมิ่นพระบรมราชานุภาพ (ร้อยละ 15.3) และการรื้อโครงสร้างสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ร้อยละ 11.9)
ส่วนความคาดหวังในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจในเรื่องการเพิ่มการลงทุนในโครงการประชานิยมมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 45.1 รองลงมา เป็นปัญหาการลดราคาค่าครองชีพของประชาชน (ร้อยละ 44.4) การสร้างความเชื่อมั่นและการส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ (ร้อยละ 40.2) การเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศ (ร้อยละ 33.1) การช่วยเหลือภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจ SME (ร้อยละ 32.0) การเร่งการตลาดใหม่ในการส่งสินค้าออกต่างประเทศ (ร้อยละ 31.9) การสร้างความเข้มแข็งของกองทุนหมู่บ้าน (ร้อยละ 27.3) การชะลอปัญหาการว่างงานและสร้างงานใหม่ (ร้อยละ 16.2) และกลไกราคาพลังงานที่ไม่เป็นธรรม (ร้อยละ 16.0)
นอกจากนี้ประชาชน 14 จังหวัดภาคใต้ต้องการให้รัฐบาลอภิสิทธิ์ดำเนินนโยบายการแก้ปัญหาเรื่องของความสงบสุขของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 61.9 รองลงมาเป็นปัญหาปากท้องของประชาชน (ร้อยละ 43.9) ปัญหาการว่างงาน (ร้อยละ 33.9) ความสมานฉันท์ของคนในสังคม (ร้อยละ 29.7) การป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ร้อยละ 25.1) การแก้ปัญหาคอร์รัปชั่น (ร้อยละ 22.4) ปัญหาหนี้สินและความยากจนของเกษตรกร (ร้อยละ 19.7) การปฏิรูปการเมือง (ร้อยละ 16.9) และคุณภาพการศึกษา (ร้อยละ 15.0)