ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - หาดใหญ่โพลระบุผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนใน 14 จังหวัดภาคใต้ เกี่ยวกับทางออกของการเมืองไทย พบว่ารัฐบาลสมชายได้คะแนนแก้ไขปัญหาในภาคใต้ รวมทั้ง 3 จังหวัดชายแดนตกต่ำเฉลี่ย 3.9 คะแนนจากจำนวนเต็ม 10 และสะท้อนความอ่อนแอจริยธรรมต่อคลิปฉาวที่มีเสียงให้ลาออก เพื่อแสดงสปิริตถึง 52% ส่วนความเห็นเกี่ยวกับการแก้ปัญหาโดยการปฏิวัติ/รัฐประหาร ร้อยละ 47.2 เห็นว่าการปฏิวัติ/รัฐประหาร ไม่สามารถทำให้บ้านเมืองเกิดความสงบสุขได้ และร้อยละ 43.5 เห็นว่าการปฏิวัติ/รัฐประหาร ทำให้บ้านเมืองเกิดความสงบสุขได้
หาดใหญ่โพล โดยสำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ สำรวจความคิดเห็นของประชาชนใน 14 จังหวัดภาคใต้ เกี่ยวกับทางออกของการเมืองไทย เรื่อง “ ทางออกของการเมืองไทย จริยธรรมหรือรัฐประหาร ?” โดยเก็บรวบรวมข้อมูลประชาชน จำนวน 1,208 ตัวอย่าง และใช้แบบสำรวจเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ดำเนินการสำรวจระหว่างวันที่ 19-22 พฤศจิกายน 2551 ต่อความคิดเห็นหัวข้อต่างๆ ดังนี้
1.ข่าวเหตุการณ์การเมืองปัจจุบัน ประชาชนร้อยละ 48.6 เห็นว่าข่าวการหย่าของ พ.ต.ท.ดร. ทักษิณ ชินวัตร กับคุณหญิงพจมาน ชินวัตร มาจากความต้องการต่อสู้ในคดีอายัติเงิน 76,000 ล้านบาท มากที่สุด รองลงมา เห็นว่าการหย่า เนื่องจากความคิดเห็นไม่ตรงกันในเรื่องการเมือง ต้องการต่อสู้ทางการเมืองอีกครั้ง และเป็นการกุข่าวการหย่า แต่สภาพจริงไม่หย่า คิดเป็นร้อยละ 19.1 15.5 และ15.2 ตามลำดับ
ส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับการโฟนอินของ พ.ต.ท.ดร. ทักษิณ ชินวัตร พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 86.1 เห็นว่าการโฟนอินของ พ.ต.ท.ดร. ทักษิณ ชินวัตร ไม่มีความเหมาะสมกับสถานการณ์การเมืองไทยในปัจจุบัน โดยให้เหตุว่าอาจมีการปราศรัยละเมิดอำนาจศาลและหมิ่นพระราชอำนาจ อย่างต่อเนื่อง (ร้อยละ 50.3) รองลงมา ทำให้ประชาชนเกิดความแตกแยกกันภายในสังคม และละเมิดสิทธิส่วนบุคคล คิดเป็นร้อยละ 29.8 และ 18.9 ตามลำดับ
มีเพียงร้อยละ 13.9 ที่เห็นว่าการโฟนอินของ พ.ต.ท.ดร. ทักษิณ ชินวัตร มีความเหมาะสมกับสถานการณ์การเมืองในปัจจุบัน โดยให้เหตุผลว่า เป็นการเปิดโอกาสให้ พ.ต.ท.ดร. ทักษิณ ชินวัตร ได้ชี้แจงข้อมูล (ร้อยละ 59.6) และเพื่อให้ประชาชนรับทราบข้อเท็จจริง (ร้อยละ 38.0)
ทั้งนี้ ประชาชนร้อยละ 51.3 เห็นว่าหลังจากการโฟนอินของ พ.ต.ท.ดร. ทักษิณ ชินวัตร ในรายการความจริงวันนี้แล้ว จะไม่เกิดความรุนแรงขึ้น และร้อยละ 40.0 คาดว่าอาจเกิดความรุนแรงในสังคมได้ มีเพียงร้อยละ 8.7 ไม่แสดงความคิดเห็น และเห็นว่าการจัดความจริงวันนี้ที่วัดสวนแก้วไม่มีความเหมาะสม (ร้อยละ 65.8) มีเพียงร้อยละ 23.5 ที่เห็นว่ามีความเหมาะสมในการจัดงานความจริงวันนี้ที่วัดสวนแก้ว
ส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับการตั้งมูลนิธิสร้างอนาคตที่ดีกว่า พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 38.4 เห็นว่าการตั้งมูลนิธิสร้างอนาคตที่ดีกว่า จะส่งผลกระทบต่อการเมืองระหว่างประเทศในระดับมากถึงมากที่สุด ร้อยละ 35.4 ส่งผลกระทบต่อการเมืองระหว่างประเทศในระดับปานกลาง และร้อยละ 26.2 ส่งผลกระทบต่อการเมืองระหว่างประเทศในระดับน้อยถึงน้อยที่สุด
ส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงหัวหน้าพรรคเพื่อไทย เป็นพลเอกชัยสิทธิ์ ชินวัตร หรือคุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 73.7 ไม่เห็นด้วยกับการเปลี่ยนแปลงหัวหน้าพรรคเพื่อไทย มาเป็นบุคคลในตระกูลชินวัตร มีเพียงร้อยละ 12.5 ที่เห็นด้วยให้มีการเปลี่ยนแปลงหัวหน้าพรรคเพื่อไทย และร้อยละ 13.8 ไม่แสดงความคิดเห็น นอกจากนี้ประชาชนร้อยละ 47.0 เห็นว่าเป็นไปไม่ได้ที่พลเอกพัลลภ ปิ่นมณี จะเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งผู้ช่วย กอ.รมน. ตามข่าวที่ปรากฏในสื่อต่างๆ และร้อยละ 33.5 เห็นว่ามีความเป็นไปได้ที่พลเอกพัลลภ ปิ่นมณี มาดำรงตำแหน่งผู้ช่วย กอ.รมน. มีเพียงร้อยละ 19.5 ไม่แสดงความคิดเห็น
2. การบริหารประเทศของรัฐบาลสมชาย 1 จากการประเมินผลการบริหารงานของรัฐบาลสมชายในภาพรวม พบว่า ประชาชนใน 14 จังหวัดภาคใต้ มีความพึงพอใจต่อผลการบริหารงาน อยู่ในระดับต่ำ โดยมีค่าเฉลี่ยเพียง 3.90 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน และเมื่อพิจารณาเป็นกลุ่มการบริหารและการแก้ปัญหาต่างๆ พบว่า การดำเนินงานและการแก้ปัญหาด้านต่างๆ อยู่ในระดับใกล้เคียงกันและอยู่ในระดับต่ำทุกภารกิจ
โดยการบริหารงานและแก้ปัญหาเศรษฐกิจและปัญหาสินค้าเกษตรตกต่ำ มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากัน คือ มีค่าเฉลี่ยเพียง 3.76 รองลงมา เป็นการแก้ปัญหาแรงงาน การแก้ปัญหาชายแดนเกี่ยวกับปราสาทพระวิหาร มีค่าเฉลี่ย 3.75 และ 3.74 ตามลำดับ ส่วนการแก้ปัญหาที่ประชาชนมีความพึงพอใจในระดับต่ำที่สุด คือ การแก้ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และการแก้ปัญหาความสมานฉันท์ของคนในสังคม โดยมีค่าเฉลี่ย 3.67 และ 3.73 ตามลำดับ
นอกจากนี้ประชาชนร้อยละ 58.6 เห็นว่าไม่ควรปรับคณะรัฐมนตรี โดยให้เหตุผลว่านายกรัฐมนตรีควรยุบสภา มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 42.5 และร้อยละ 26.0 เห็นว่านายกรัฐมนตรีควรลาออก มีเพียงร้อยละ 31.5 ที่เห็นว่านายกรัฐมนตรีควรให้คณะรัฐมนตรีทำงานต่อ ส่วนกลุ่มที่เห็นว่านายกรัฐมนตรีควรปรับคณะรัฐมนตรี มีเพียงร้อยละ 41.4 โดยให้เหตุผลว่านายกรัฐมนตรีควรปรับคณะรัฐมนตรีที่ไม่มีผลงาน มากที่สุด (ร้อยละ 48.4) รองลงมา เป็นการปรับคณะรัฐมนตรีทั้งคณะ (ร้อยละ 36.0)
ส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับจริยธรรมทางการเมือง ในกรณีคลิปของนายกรัฐมนตรี พบว่า ประชาชน ร้อยละ 52.0 เห็นว่ามีความจำเป็นที่จะต้องแสดงสปิริตทางการเมืองเพื่อเป็นบรรทัดฐานทางการเมืองต่อไป มีเพียงร้อยละ 35.7 ที่เห็นว่าไม่จำเป็นที่จะต้องแสดงสปิริตทางการเมือง และร้อยละ 12.3 ไม่แสดงความคิดเห็น เมื่อพิจารณาเกี่ยวกับจริยธรรมทางการเมืองในการปฏิบัติหน้าที่ของนักการเมือง พบว่า ประชาชนเห็นว่า ส.ส. ฝ่านค้าน มีจริยธรรมทางการเมือง สูงที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย 4.38 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน
รองลงมา เป็น ส.ส.ฝ่ายรัฐบาล และคณะรัฐมนตรี มีค่าเฉลี่ย 3.88 และ 3.70 ตามลำดับ ส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับจริยธรรมทางการเมืองของนายกรัฐมนตรี พบว่า มีค่าเฉลี่ยจากการประเมินผลทางจริยธรรมทางการเมืองต่ำสุด (ค่าเฉลี่ย 3.63) และน้อยกว่าทุกๆตำแหน่ง
ส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับการแก้ปัญหาโดยการปฏิวัติ/รัฐประหาร ประชาชนเห็นว่ามีร้อยละใกล้เคียงกันโดยประชาชนร้อยละ 47.2 เห็นว่าการปฏิวัติ/รัฐประหาร ไม่สามารถทำให้บ้านเมืองเกิดความสงบสุขได้ และร้อยละ 43.5 เห็นว่าการปฏิวัติ/รัฐประหาร สามารถทำให้บ้านเมืองเกิดความสงบสุขได้ มีเพียงร้อยละ 9.3 ไม่แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินการเพื่อให้เกิดความสงบของบ้านเมือง พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 62.7 เห็นว่ารัฐบาลไม่ควรมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ รองลงมา รัฐบาลและผู้เกี่ยวข้องควรหาวิธีการให้พ.ต.ท.ดร. ทักษิณ ชินวัตร เลิกหรือหยุดการโฟนอินและต่อสู้ทางการเมือง รัฐบาลควรแก้ไขปัญหาของประชาชนอย่างจริงจัง รัฐบาลควรมีการเจรจากับกลุ่มพันธมิตรฯ รัฐบาลควรหาวิธีหยุด นปช. ในการสร้างความแตกแยกให้กับสังคม รัฐบาลควรดูแลให้สื่อภายในประเทศนำเสนอข้อมูลข่าวสารอย่างมีหลักการบนความถูกต้องตรงไปตรงมา และรัฐบาลและฝ่ายค้านควรร่วมมือกันทำงาน คิดเป็นร้อยละ 55.7 53.5 48.4 33.5 26.8 และ 9.4 ตามลำดับ
หาดใหญ่โพล โดยสำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ สำรวจความคิดเห็นของประชาชนใน 14 จังหวัดภาคใต้ เกี่ยวกับทางออกของการเมืองไทย เรื่อง “ ทางออกของการเมืองไทย จริยธรรมหรือรัฐประหาร ?” โดยเก็บรวบรวมข้อมูลประชาชน จำนวน 1,208 ตัวอย่าง และใช้แบบสำรวจเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ดำเนินการสำรวจระหว่างวันที่ 19-22 พฤศจิกายน 2551 ต่อความคิดเห็นหัวข้อต่างๆ ดังนี้
1.ข่าวเหตุการณ์การเมืองปัจจุบัน ประชาชนร้อยละ 48.6 เห็นว่าข่าวการหย่าของ พ.ต.ท.ดร. ทักษิณ ชินวัตร กับคุณหญิงพจมาน ชินวัตร มาจากความต้องการต่อสู้ในคดีอายัติเงิน 76,000 ล้านบาท มากที่สุด รองลงมา เห็นว่าการหย่า เนื่องจากความคิดเห็นไม่ตรงกันในเรื่องการเมือง ต้องการต่อสู้ทางการเมืองอีกครั้ง และเป็นการกุข่าวการหย่า แต่สภาพจริงไม่หย่า คิดเป็นร้อยละ 19.1 15.5 และ15.2 ตามลำดับ
ส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับการโฟนอินของ พ.ต.ท.ดร. ทักษิณ ชินวัตร พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 86.1 เห็นว่าการโฟนอินของ พ.ต.ท.ดร. ทักษิณ ชินวัตร ไม่มีความเหมาะสมกับสถานการณ์การเมืองไทยในปัจจุบัน โดยให้เหตุว่าอาจมีการปราศรัยละเมิดอำนาจศาลและหมิ่นพระราชอำนาจ อย่างต่อเนื่อง (ร้อยละ 50.3) รองลงมา ทำให้ประชาชนเกิดความแตกแยกกันภายในสังคม และละเมิดสิทธิส่วนบุคคล คิดเป็นร้อยละ 29.8 และ 18.9 ตามลำดับ
มีเพียงร้อยละ 13.9 ที่เห็นว่าการโฟนอินของ พ.ต.ท.ดร. ทักษิณ ชินวัตร มีความเหมาะสมกับสถานการณ์การเมืองในปัจจุบัน โดยให้เหตุผลว่า เป็นการเปิดโอกาสให้ พ.ต.ท.ดร. ทักษิณ ชินวัตร ได้ชี้แจงข้อมูล (ร้อยละ 59.6) และเพื่อให้ประชาชนรับทราบข้อเท็จจริง (ร้อยละ 38.0)
ทั้งนี้ ประชาชนร้อยละ 51.3 เห็นว่าหลังจากการโฟนอินของ พ.ต.ท.ดร. ทักษิณ ชินวัตร ในรายการความจริงวันนี้แล้ว จะไม่เกิดความรุนแรงขึ้น และร้อยละ 40.0 คาดว่าอาจเกิดความรุนแรงในสังคมได้ มีเพียงร้อยละ 8.7 ไม่แสดงความคิดเห็น และเห็นว่าการจัดความจริงวันนี้ที่วัดสวนแก้วไม่มีความเหมาะสม (ร้อยละ 65.8) มีเพียงร้อยละ 23.5 ที่เห็นว่ามีความเหมาะสมในการจัดงานความจริงวันนี้ที่วัดสวนแก้ว
ส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับการตั้งมูลนิธิสร้างอนาคตที่ดีกว่า พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 38.4 เห็นว่าการตั้งมูลนิธิสร้างอนาคตที่ดีกว่า จะส่งผลกระทบต่อการเมืองระหว่างประเทศในระดับมากถึงมากที่สุด ร้อยละ 35.4 ส่งผลกระทบต่อการเมืองระหว่างประเทศในระดับปานกลาง และร้อยละ 26.2 ส่งผลกระทบต่อการเมืองระหว่างประเทศในระดับน้อยถึงน้อยที่สุด
ส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงหัวหน้าพรรคเพื่อไทย เป็นพลเอกชัยสิทธิ์ ชินวัตร หรือคุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 73.7 ไม่เห็นด้วยกับการเปลี่ยนแปลงหัวหน้าพรรคเพื่อไทย มาเป็นบุคคลในตระกูลชินวัตร มีเพียงร้อยละ 12.5 ที่เห็นด้วยให้มีการเปลี่ยนแปลงหัวหน้าพรรคเพื่อไทย และร้อยละ 13.8 ไม่แสดงความคิดเห็น นอกจากนี้ประชาชนร้อยละ 47.0 เห็นว่าเป็นไปไม่ได้ที่พลเอกพัลลภ ปิ่นมณี จะเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งผู้ช่วย กอ.รมน. ตามข่าวที่ปรากฏในสื่อต่างๆ และร้อยละ 33.5 เห็นว่ามีความเป็นไปได้ที่พลเอกพัลลภ ปิ่นมณี มาดำรงตำแหน่งผู้ช่วย กอ.รมน. มีเพียงร้อยละ 19.5 ไม่แสดงความคิดเห็น
2. การบริหารประเทศของรัฐบาลสมชาย 1 จากการประเมินผลการบริหารงานของรัฐบาลสมชายในภาพรวม พบว่า ประชาชนใน 14 จังหวัดภาคใต้ มีความพึงพอใจต่อผลการบริหารงาน อยู่ในระดับต่ำ โดยมีค่าเฉลี่ยเพียง 3.90 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน และเมื่อพิจารณาเป็นกลุ่มการบริหารและการแก้ปัญหาต่างๆ พบว่า การดำเนินงานและการแก้ปัญหาด้านต่างๆ อยู่ในระดับใกล้เคียงกันและอยู่ในระดับต่ำทุกภารกิจ
โดยการบริหารงานและแก้ปัญหาเศรษฐกิจและปัญหาสินค้าเกษตรตกต่ำ มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากัน คือ มีค่าเฉลี่ยเพียง 3.76 รองลงมา เป็นการแก้ปัญหาแรงงาน การแก้ปัญหาชายแดนเกี่ยวกับปราสาทพระวิหาร มีค่าเฉลี่ย 3.75 และ 3.74 ตามลำดับ ส่วนการแก้ปัญหาที่ประชาชนมีความพึงพอใจในระดับต่ำที่สุด คือ การแก้ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และการแก้ปัญหาความสมานฉันท์ของคนในสังคม โดยมีค่าเฉลี่ย 3.67 และ 3.73 ตามลำดับ
นอกจากนี้ประชาชนร้อยละ 58.6 เห็นว่าไม่ควรปรับคณะรัฐมนตรี โดยให้เหตุผลว่านายกรัฐมนตรีควรยุบสภา มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 42.5 และร้อยละ 26.0 เห็นว่านายกรัฐมนตรีควรลาออก มีเพียงร้อยละ 31.5 ที่เห็นว่านายกรัฐมนตรีควรให้คณะรัฐมนตรีทำงานต่อ ส่วนกลุ่มที่เห็นว่านายกรัฐมนตรีควรปรับคณะรัฐมนตรี มีเพียงร้อยละ 41.4 โดยให้เหตุผลว่านายกรัฐมนตรีควรปรับคณะรัฐมนตรีที่ไม่มีผลงาน มากที่สุด (ร้อยละ 48.4) รองลงมา เป็นการปรับคณะรัฐมนตรีทั้งคณะ (ร้อยละ 36.0)
ส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับจริยธรรมทางการเมือง ในกรณีคลิปของนายกรัฐมนตรี พบว่า ประชาชน ร้อยละ 52.0 เห็นว่ามีความจำเป็นที่จะต้องแสดงสปิริตทางการเมืองเพื่อเป็นบรรทัดฐานทางการเมืองต่อไป มีเพียงร้อยละ 35.7 ที่เห็นว่าไม่จำเป็นที่จะต้องแสดงสปิริตทางการเมือง และร้อยละ 12.3 ไม่แสดงความคิดเห็น เมื่อพิจารณาเกี่ยวกับจริยธรรมทางการเมืองในการปฏิบัติหน้าที่ของนักการเมือง พบว่า ประชาชนเห็นว่า ส.ส. ฝ่านค้าน มีจริยธรรมทางการเมือง สูงที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย 4.38 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน
รองลงมา เป็น ส.ส.ฝ่ายรัฐบาล และคณะรัฐมนตรี มีค่าเฉลี่ย 3.88 และ 3.70 ตามลำดับ ส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับจริยธรรมทางการเมืองของนายกรัฐมนตรี พบว่า มีค่าเฉลี่ยจากการประเมินผลทางจริยธรรมทางการเมืองต่ำสุด (ค่าเฉลี่ย 3.63) และน้อยกว่าทุกๆตำแหน่ง
ส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับการแก้ปัญหาโดยการปฏิวัติ/รัฐประหาร ประชาชนเห็นว่ามีร้อยละใกล้เคียงกันโดยประชาชนร้อยละ 47.2 เห็นว่าการปฏิวัติ/รัฐประหาร ไม่สามารถทำให้บ้านเมืองเกิดความสงบสุขได้ และร้อยละ 43.5 เห็นว่าการปฏิวัติ/รัฐประหาร สามารถทำให้บ้านเมืองเกิดความสงบสุขได้ มีเพียงร้อยละ 9.3 ไม่แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินการเพื่อให้เกิดความสงบของบ้านเมือง พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 62.7 เห็นว่ารัฐบาลไม่ควรมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ รองลงมา รัฐบาลและผู้เกี่ยวข้องควรหาวิธีการให้พ.ต.ท.ดร. ทักษิณ ชินวัตร เลิกหรือหยุดการโฟนอินและต่อสู้ทางการเมือง รัฐบาลควรแก้ไขปัญหาของประชาชนอย่างจริงจัง รัฐบาลควรมีการเจรจากับกลุ่มพันธมิตรฯ รัฐบาลควรหาวิธีหยุด นปช. ในการสร้างความแตกแยกให้กับสังคม รัฐบาลควรดูแลให้สื่อภายในประเทศนำเสนอข้อมูลข่าวสารอย่างมีหลักการบนความถูกต้องตรงไปตรงมา และรัฐบาลและฝ่ายค้านควรร่วมมือกันทำงาน คิดเป็นร้อยละ 55.7 53.5 48.4 33.5 26.8 และ 9.4 ตามลำดับ