ศูนย์ข่าวภูเก็ต - ปธ.คณะอนุกรรมการวิสามัญศึกษาและติดตามปัญหาประมงชายฝั่ง วุฒิสภา จัดเสริมความรู้ประมงพื้นบ้านทั่วประเทศ รับทราบปัญหาและหาทางออก
วันนี้ (8 ต.ค.) ที่บริเวณอาคารเรียนโรงเรียนวีรสตรีนุสรณ์ อ.ถลาง จ.ภูเก็ต นางสาวสุมล สุตะวิริยะวัฒน์ ประธานคณะอนุกรรมการวิสามัญศึกษาและติดตามปัญหาประมงชายฝั่ง ในคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาปัญหาการประมงในประเทศไทย วุฒิสภา กล่าวในการเป็นประธานเปิดโครงการสัมมนา “ชาวประมงพื้นบ้านชายฝั่งในประเทศไทย สิทธิ ปัญหา และทางออก” ซึ่งจัดขึ้นโดยสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านภาคใต้ ร่วมกับเครือข่ายองค์กรพัฒนาเอกชน โดยมีชาวประมงพื้นบ้านจากจังหวัดต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ จำนวนประมาณ 1,000 คน เข้าร่วม ว่า
ตลอดแนวชายฝั่ง 22 จังหวัดของประเทศไทย นับว่า เป็นแหล่งที่อุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติอันหลากหลาย เป็นทั้งแหล่งที่อยู่อาศัย แหล่งอาหาร แหล่งทำมาหากินของประมงพื้นบ้านนับแสนคน และประมงพื้นบ้านนับเป็นอาชีพที่สืบทอดมาตั้งแต่ครั้งอดีต โดยบรรพบุรุษซึ่งใช้ทักษะความสามารถเฉพาะตัว ชาวประมงพื้นบ้านได้ชื่อว่าเป็นนักล่าแห่งท้องทะเลและเป็นนักอนุรักษ์ไปพร้อมๆ กัน
ทั้งนี้ องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ระบุว่า “ศักยภาพในการทำประมงจากชาวประมงรายย่อยสอดคล้องกับการจับสัตว์น้ำแบบอนุรักษ์ มีความยั่งยืนในการพัฒนากิจการประมงของประเทศ และยังเป็นอาชีพพื้นฐานที่ลดปัญหาความยากจนในชนบท
นอกจากนี้ อาหารจากทะเลเป็นแหล่งโปรตีนคุณภาพดี มีคุณค่าสารอาหารที่มีประโยชน์และจำเป็นต่อร่างกาย ดังนั้นอาหารทะเลจึงเป็นที่ต้องการแพร่หลาย ประเทศไทยส่งออกสินค้าประมงมูลค่าปีละกว่า 2 แสนล้านบาท
อย่างไรก็ตาม ชาวประมงรายย่อย หรือที่เรานิยมใช้คำว่า “ประมงพื้นบ้าน” ยังต้องเผชิญกับอุปสรรคมากมาย ทั้งเรื่องภาวะความยากจน ความไม่มั่นคงในชีวิตและการทำงาน ไม่มีสิทธิในที่อยู่อาศัย และสิทธิในการเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งยังเข้าไม่ถึงบริการทางด้านสุขภาพและการศึกษายังไม่เพียงพอ ขาดสวัสดิการทางสังคม ขาดการมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาของประเทศ ตลอดจนการตัดสินใจในโครงการต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อตนเองและครอบครัว เนื่องจากปัญหาทางด้านโครงสร้างสังคมที่อ่อนแอ
การสัมมนาในครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อเปิดโอกาสให้ชาวชุมชนประมงพื้นบ้านชายฝั่ง ได้แสดงสิทธิในฐานะชาวประมงให้สังคมได้รับรู้ รวมทั้งประกาศจุดยืนในฐานะชาวประมงพื้นบ้านที่ใช้ชีวิตพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติ เป็นแหล่งอาหารเลี้ยงชีพ และเป็นนักอนุรักษ์ไปพร้อมๆ กัน รวมทั้งยังเป็นเวทีรวบรวมข้อเสนอจากชาวประมงพื้นบ้านจากที่ต่างๆ เพื่อใช้ในการนำเสนอต่อเวทีประชุมนานาติ เสนอต่อวุฒิสภาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
วันนี้ (8 ต.ค.) ที่บริเวณอาคารเรียนโรงเรียนวีรสตรีนุสรณ์ อ.ถลาง จ.ภูเก็ต นางสาวสุมล สุตะวิริยะวัฒน์ ประธานคณะอนุกรรมการวิสามัญศึกษาและติดตามปัญหาประมงชายฝั่ง ในคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาปัญหาการประมงในประเทศไทย วุฒิสภา กล่าวในการเป็นประธานเปิดโครงการสัมมนา “ชาวประมงพื้นบ้านชายฝั่งในประเทศไทย สิทธิ ปัญหา และทางออก” ซึ่งจัดขึ้นโดยสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านภาคใต้ ร่วมกับเครือข่ายองค์กรพัฒนาเอกชน โดยมีชาวประมงพื้นบ้านจากจังหวัดต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ จำนวนประมาณ 1,000 คน เข้าร่วม ว่า
ตลอดแนวชายฝั่ง 22 จังหวัดของประเทศไทย นับว่า เป็นแหล่งที่อุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติอันหลากหลาย เป็นทั้งแหล่งที่อยู่อาศัย แหล่งอาหาร แหล่งทำมาหากินของประมงพื้นบ้านนับแสนคน และประมงพื้นบ้านนับเป็นอาชีพที่สืบทอดมาตั้งแต่ครั้งอดีต โดยบรรพบุรุษซึ่งใช้ทักษะความสามารถเฉพาะตัว ชาวประมงพื้นบ้านได้ชื่อว่าเป็นนักล่าแห่งท้องทะเลและเป็นนักอนุรักษ์ไปพร้อมๆ กัน
ทั้งนี้ องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ระบุว่า “ศักยภาพในการทำประมงจากชาวประมงรายย่อยสอดคล้องกับการจับสัตว์น้ำแบบอนุรักษ์ มีความยั่งยืนในการพัฒนากิจการประมงของประเทศ และยังเป็นอาชีพพื้นฐานที่ลดปัญหาความยากจนในชนบท
นอกจากนี้ อาหารจากทะเลเป็นแหล่งโปรตีนคุณภาพดี มีคุณค่าสารอาหารที่มีประโยชน์และจำเป็นต่อร่างกาย ดังนั้นอาหารทะเลจึงเป็นที่ต้องการแพร่หลาย ประเทศไทยส่งออกสินค้าประมงมูลค่าปีละกว่า 2 แสนล้านบาท
อย่างไรก็ตาม ชาวประมงรายย่อย หรือที่เรานิยมใช้คำว่า “ประมงพื้นบ้าน” ยังต้องเผชิญกับอุปสรรคมากมาย ทั้งเรื่องภาวะความยากจน ความไม่มั่นคงในชีวิตและการทำงาน ไม่มีสิทธิในที่อยู่อาศัย และสิทธิในการเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งยังเข้าไม่ถึงบริการทางด้านสุขภาพและการศึกษายังไม่เพียงพอ ขาดสวัสดิการทางสังคม ขาดการมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาของประเทศ ตลอดจนการตัดสินใจในโครงการต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อตนเองและครอบครัว เนื่องจากปัญหาทางด้านโครงสร้างสังคมที่อ่อนแอ
การสัมมนาในครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อเปิดโอกาสให้ชาวชุมชนประมงพื้นบ้านชายฝั่ง ได้แสดงสิทธิในฐานะชาวประมงให้สังคมได้รับรู้ รวมทั้งประกาศจุดยืนในฐานะชาวประมงพื้นบ้านที่ใช้ชีวิตพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติ เป็นแหล่งอาหารเลี้ยงชีพ และเป็นนักอนุรักษ์ไปพร้อมๆ กัน รวมทั้งยังเป็นเวทีรวบรวมข้อเสนอจากชาวประมงพื้นบ้านจากที่ต่างๆ เพื่อใช้ในการนำเสนอต่อเวทีประชุมนานาติ เสนอต่อวุฒิสภาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป