ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - หาดใหญ่โพล โดยสำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ออกสำรวจความคิดเห็นประชาชนในพื้นที่ภาคใต้พบว่า ส่วนใหญ่คัดค้านการกลับเข้ามาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้งของ นายสมัคร สุนทรเวช ขณะเดียวกัน มีการเรียกร้องให้ตั้งรัฐบาลแห่งชาติเพื่อแก้วิกฤต ชี้ การเมืองในอนาคตต้องปฏิรูประบบการศึกษาโดยให้ความรู้กฎหมายและการเมืองแก่เยาวชนโดยทั่วถึง
ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 61.7 เห็นว่า สภาพการเมืองปัจจุบันส่งผลกระทบต่อตัวเองในระดับมาก ถึงมากที่สุด ร้อยละ 25.9 เห็นว่า สภาพการเมืองปัจจุบันส่งผลกระทบต่อตัวเองในระดับปานกลาง มีเพียงร้อยละ 12.4 เห็นว่า สภาพการเมืองปัจจุบันส่งผลกระทบต่อตัวเองในระดับน้อยถึงน้อยที่สุด
ส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับการยกเลิก พ.ร.ก.สถานการณ์ฉุกเฉิน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 75.3 เห็นด้วยกับการให้มีการยกเลิก พ.ร.ก.สถานการณ์ฉุกเฉิน มีเพียงร้อยละ 24.7 เห็นควรให้ยังคงมีการประกาศใช้ พ.ร.ก.สถานการณ์ฉุกเฉินอยู่
ส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองไทย หลังศาลรัฐธรรมนูญตัดสินคดีอดีตนายกรัฐมนตรี (สมัคร สุนทรเวช) พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่เห็นควรให้มีการยุบสภาและจัดการเลือกตั้งใหม่ มากที่สุด (ร้อยละ 46.1) รองลงมา คือ สถานการณ์บ้านเมืองมีความสงบสุข ยังคงมีการชุมนุมของพันธมิตรต่อ และให้พรรคประชาธิปัตย์เป็นผู้จัดตั้งรัฐบาล คิดเป็นร้อยละ 23.7 14.2 และ 11.5 ตามลำดับ
ส่วนกรณีความคิดเห็นเกี่ยวกับการที่ ส.ส.พรรคพลังประชาชนและพรรคร่วมรัฐบาลสนับสนุน นายสมัคร สุนทรเวช กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 72.8 ไม่เห็นด้วยกับประเด็นดังกล่าว โดยให้เหตุผลว่า ควรเปิดโอกาสให้พรรคอื่น มีโอกาสจัดตั้งรัฐบาลบ้าง มากที่สุด (ร้อยละ 46.5) รองลงมา จะเกิดความวุ่นวายมากยิ่งขึ้น (ร้อยละ 37.5) และ ส.ส.ควรทำเพื่อประเทศชาติและประชาชนบ้าง (ร้อยละ 9.6) มีเพียงร้อยละ 27.2 ที่เห็นว่า ส.ส.พรรคพลังประชาชนควรเสนอ นายสมัคร สุนทรเวช กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง
ส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดตั้งรัฐบาล โดยพรรคพลังประชาชน เป็นแกนนำอยู่ ผู้ที่มีความเหมาะสมที่จะเป็นนายกรัฐมนตรี เป็น นายบรรหาร ศิลปะอาชา คิดเป็นร้อยละ 41.5 รองลงมา นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี และ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ คิดเป็นร้อยละ 33.7 และ 12.9 ตามลำดับ นอกจากนี้ ประชาชนร้อยละ 55.8 เห็นว่า หากพรรคพลังประชาชนเป็นแกนนำจะสามารถบริหารประเทศได้เพียง 3-12 เดือน มากที่สุด รองลงมา สามารถบริหารประเทศได้ไม่เกิน 3 เดือน (ร้อยละ 28.1)
ความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 62.2 สนับสนุนการจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติ ให้ทำงานเพื่อประเทศชาติ และร้อยละ 24.9 ไม่สนับสนุนการจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติ มีเพียงร้อยละ 12.9 ไม่แสดงความคิดเห็น นอกจากนี้ ประชาชนร้อยละ 61.3 เห็นควรให้มีการปฏิรูปการเมืองอีกครั้ง และร้อยละ 25.6 เห็นว่า ไม่จำเป็นต้องมีการปฏิรูปการเมือง มีเพียงร้อยละ 13.1 ไม่แสดงความคิดเห็น ส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับการปฏิรูปโดยการเปลี่ยนระบบการเลือกตั้ง ส.ส.ใหม่ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 67.6 เห็นด้วยกับการเปลี่ยนระบบการเลือกตั้ง ส.ส.ใหม่ โดยกำหนดคุณสมบัติของ ส.ส.ให้สามารถสมัครได้เฉพาะผู้ที่ไม่มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับการทุจริต มากที่สุด (ร้อยละ 46.2) และการกำหนดมาตรฐานจริยธรรมของ ส.ส.และผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง (ร้อยละ 32.9)
ความคิดเห็นเกี่ยวกับการแก้ไขระบบการเมืองไทยในอนาคต พบว่า ประชาชนเห็นควรให้มีการปฏิรูประบบการศึกษาโดยให้ความรู้กฎหมายและการเมืองแก่เยาวชน มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 63.8 รองลงมา ควรมีการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมให้กับนักเรียนและนักศึกษา อย่างจริงจัง นอกจากนี้ สื่อต่างๆ ควรให้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นจริง ครบถ้วน รอบด้านเพื่อกระตุ้นแนวคิดประชาธิปไตย คิดเป็นร้อยละ 61.4 และ 57.1 ตามลำดับ
ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 61.7 เห็นว่า สภาพการเมืองปัจจุบันส่งผลกระทบต่อตัวเองในระดับมาก ถึงมากที่สุด ร้อยละ 25.9 เห็นว่า สภาพการเมืองปัจจุบันส่งผลกระทบต่อตัวเองในระดับปานกลาง มีเพียงร้อยละ 12.4 เห็นว่า สภาพการเมืองปัจจุบันส่งผลกระทบต่อตัวเองในระดับน้อยถึงน้อยที่สุด
ส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับการยกเลิก พ.ร.ก.สถานการณ์ฉุกเฉิน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 75.3 เห็นด้วยกับการให้มีการยกเลิก พ.ร.ก.สถานการณ์ฉุกเฉิน มีเพียงร้อยละ 24.7 เห็นควรให้ยังคงมีการประกาศใช้ พ.ร.ก.สถานการณ์ฉุกเฉินอยู่
ส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองไทย หลังศาลรัฐธรรมนูญตัดสินคดีอดีตนายกรัฐมนตรี (สมัคร สุนทรเวช) พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่เห็นควรให้มีการยุบสภาและจัดการเลือกตั้งใหม่ มากที่สุด (ร้อยละ 46.1) รองลงมา คือ สถานการณ์บ้านเมืองมีความสงบสุข ยังคงมีการชุมนุมของพันธมิตรต่อ และให้พรรคประชาธิปัตย์เป็นผู้จัดตั้งรัฐบาล คิดเป็นร้อยละ 23.7 14.2 และ 11.5 ตามลำดับ
ส่วนกรณีความคิดเห็นเกี่ยวกับการที่ ส.ส.พรรคพลังประชาชนและพรรคร่วมรัฐบาลสนับสนุน นายสมัคร สุนทรเวช กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 72.8 ไม่เห็นด้วยกับประเด็นดังกล่าว โดยให้เหตุผลว่า ควรเปิดโอกาสให้พรรคอื่น มีโอกาสจัดตั้งรัฐบาลบ้าง มากที่สุด (ร้อยละ 46.5) รองลงมา จะเกิดความวุ่นวายมากยิ่งขึ้น (ร้อยละ 37.5) และ ส.ส.ควรทำเพื่อประเทศชาติและประชาชนบ้าง (ร้อยละ 9.6) มีเพียงร้อยละ 27.2 ที่เห็นว่า ส.ส.พรรคพลังประชาชนควรเสนอ นายสมัคร สุนทรเวช กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง
ส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดตั้งรัฐบาล โดยพรรคพลังประชาชน เป็นแกนนำอยู่ ผู้ที่มีความเหมาะสมที่จะเป็นนายกรัฐมนตรี เป็น นายบรรหาร ศิลปะอาชา คิดเป็นร้อยละ 41.5 รองลงมา นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี และ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ คิดเป็นร้อยละ 33.7 และ 12.9 ตามลำดับ นอกจากนี้ ประชาชนร้อยละ 55.8 เห็นว่า หากพรรคพลังประชาชนเป็นแกนนำจะสามารถบริหารประเทศได้เพียง 3-12 เดือน มากที่สุด รองลงมา สามารถบริหารประเทศได้ไม่เกิน 3 เดือน (ร้อยละ 28.1)
ความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 62.2 สนับสนุนการจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติ ให้ทำงานเพื่อประเทศชาติ และร้อยละ 24.9 ไม่สนับสนุนการจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติ มีเพียงร้อยละ 12.9 ไม่แสดงความคิดเห็น นอกจากนี้ ประชาชนร้อยละ 61.3 เห็นควรให้มีการปฏิรูปการเมืองอีกครั้ง และร้อยละ 25.6 เห็นว่า ไม่จำเป็นต้องมีการปฏิรูปการเมือง มีเพียงร้อยละ 13.1 ไม่แสดงความคิดเห็น ส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับการปฏิรูปโดยการเปลี่ยนระบบการเลือกตั้ง ส.ส.ใหม่ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 67.6 เห็นด้วยกับการเปลี่ยนระบบการเลือกตั้ง ส.ส.ใหม่ โดยกำหนดคุณสมบัติของ ส.ส.ให้สามารถสมัครได้เฉพาะผู้ที่ไม่มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับการทุจริต มากที่สุด (ร้อยละ 46.2) และการกำหนดมาตรฐานจริยธรรมของ ส.ส.และผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง (ร้อยละ 32.9)
ความคิดเห็นเกี่ยวกับการแก้ไขระบบการเมืองไทยในอนาคต พบว่า ประชาชนเห็นควรให้มีการปฏิรูประบบการศึกษาโดยให้ความรู้กฎหมายและการเมืองแก่เยาวชน มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 63.8 รองลงมา ควรมีการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมให้กับนักเรียนและนักศึกษา อย่างจริงจัง นอกจากนี้ สื่อต่างๆ ควรให้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นจริง ครบถ้วน รอบด้านเพื่อกระตุ้นแนวคิดประชาธิปไตย คิดเป็นร้อยละ 61.4 และ 57.1 ตามลำดับ