พังงา - จังหวัดพังงาจัดประชุมสภาองค์กรชุมชนตำบล หวังสร้างชุมชนเข้มแข็งจัดการตนเองได้อย่างยั่งยืน
วันนี้ (18 ส.ค.) ที่ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดพังงา นายประจวบ อินเจริญศักดิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา เป็นประธานการประชุมสภาองค์กรชุมชนตำบล จังหวัดพังงา ตามที่มี พรบ.สภาองค์กรชุมชน พ.ศ.2551 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2551 เป็นต้นไป โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง สามารถจัดการตนเองได้อย่างยั่งยืน
ทั้งนี้ บทบาทสำคัญในการพัฒนาประเทศ การสร้างระบบประชาธิปไตย และระบบธรรมาภิบาล ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ได้บัญญัติรับรองสิทธิชุมชนและประชาชนให้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาท้องถิ่นตามความหลากหลายของวิถีชีวิตวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น บัดนี้ การดำเนินการจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนตำบลของจังหวัดจัดตั้งแล้ว ทั้งหมด 12 ตำบล ใน 7 อำเภอ โดยสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) สำนักงานปฏิบัติการภาคใต้ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นผู้สนับสนุนตามบทบาทหน้าที่ตราไว้ใน พ.ร.บ.สภาองค์กรชุมชน นอกจากนี้ เครือข่ายขบวนชุมชนจังหวัดพังงา ยังมีการขับเคลื่อนงานประเด็นต่างๆ โดยชาวบ้านเป็นแกนหลัก และมีผลการดำเนินงานที่สำคัญ คือ การจัดตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบล จำนวน 16 ตำบล มีการเข้าไปจัดการที่อยู่อาศัยตามโครงการบ้านมั่นคง จำนวน 2 โครงการ ผู้เดือดร้อนได้รับการช่วยเหลือ จำนวน 106 ครอบครัว เป็นต้น
อาศัยความตามมาตรา 24 พ.ร.บ.สภาองค์กรชุมชน จึงมีการจัดประชุมระดับจังหวัดของสภาองค์กรชุมชนตำบล ซึ่งเป็นการประชุมผู้แทนสภาองค์กรชุมชนตำบล และผู้ทรงคุณวุฒิระดับจังหวัดเป็นครั้งแรก เพื่อให้ที่ประชุมได้เรียนรู้ ทำความเข้าใจกับบทบาท หน้าที่มาตรา 24-29 ของ พ.ร.บ.สภาองค์กรชุมชน และที่สำคัญ เพื่อคัดเลือกสมาชิกสภาพัฒนาการเมือง พ.ร.บ.สภาพัฒนากดารเมือง มาตรา 7(1) กำหนดให้สมาชิกสภาพัฒนาการเมืองมาจากผู้แทนองค์กรประชาธิปไตยในมาตรา 3(1) ซึ่งในที่ประชุมระดับจังหวัดในครั้งนี้ต้องเลือกผู้แทนสภาองค์กรชุมชนจังหวัด 1 คน ไปเป็นสมาชิกสภาพัฒนาการเมือง
วันนี้ (18 ส.ค.) ที่ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดพังงา นายประจวบ อินเจริญศักดิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา เป็นประธานการประชุมสภาองค์กรชุมชนตำบล จังหวัดพังงา ตามที่มี พรบ.สภาองค์กรชุมชน พ.ศ.2551 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2551 เป็นต้นไป โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง สามารถจัดการตนเองได้อย่างยั่งยืน
ทั้งนี้ บทบาทสำคัญในการพัฒนาประเทศ การสร้างระบบประชาธิปไตย และระบบธรรมาภิบาล ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ได้บัญญัติรับรองสิทธิชุมชนและประชาชนให้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาท้องถิ่นตามความหลากหลายของวิถีชีวิตวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น บัดนี้ การดำเนินการจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนตำบลของจังหวัดจัดตั้งแล้ว ทั้งหมด 12 ตำบล ใน 7 อำเภอ โดยสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) สำนักงานปฏิบัติการภาคใต้ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นผู้สนับสนุนตามบทบาทหน้าที่ตราไว้ใน พ.ร.บ.สภาองค์กรชุมชน นอกจากนี้ เครือข่ายขบวนชุมชนจังหวัดพังงา ยังมีการขับเคลื่อนงานประเด็นต่างๆ โดยชาวบ้านเป็นแกนหลัก และมีผลการดำเนินงานที่สำคัญ คือ การจัดตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบล จำนวน 16 ตำบล มีการเข้าไปจัดการที่อยู่อาศัยตามโครงการบ้านมั่นคง จำนวน 2 โครงการ ผู้เดือดร้อนได้รับการช่วยเหลือ จำนวน 106 ครอบครัว เป็นต้น
อาศัยความตามมาตรา 24 พ.ร.บ.สภาองค์กรชุมชน จึงมีการจัดประชุมระดับจังหวัดของสภาองค์กรชุมชนตำบล ซึ่งเป็นการประชุมผู้แทนสภาองค์กรชุมชนตำบล และผู้ทรงคุณวุฒิระดับจังหวัดเป็นครั้งแรก เพื่อให้ที่ประชุมได้เรียนรู้ ทำความเข้าใจกับบทบาท หน้าที่มาตรา 24-29 ของ พ.ร.บ.สภาองค์กรชุมชน และที่สำคัญ เพื่อคัดเลือกสมาชิกสภาพัฒนาการเมือง พ.ร.บ.สภาพัฒนากดารเมือง มาตรา 7(1) กำหนดให้สมาชิกสภาพัฒนาการเมืองมาจากผู้แทนองค์กรประชาธิปไตยในมาตรา 3(1) ซึ่งในที่ประชุมระดับจังหวัดในครั้งนี้ต้องเลือกผู้แทนสภาองค์กรชุมชนจังหวัด 1 คน ไปเป็นสมาชิกสภาพัฒนาการเมือง