xs
xsm
sm
md
lg

มอ.เจ๋ง วิจัยรักษาผู้ป่วยที่กระดูกเบี้ยวผิดรูปสร้างชื่อกระฉ่อนโลก

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - แพทย์ มอ.เจ๋ง วิจัยรักษาผู้ป่วยที่กระดูกเบี้ยวผิดรูป ซึ่งผลงานวิจัยชิ้นนี้ ทำให้ผศ.นพ.สุนทร ได้รับการคัดเลือกให้เป็นตัวแทนประเทศไทย ไปนำเสนอบนเวทีระดับโลก ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา

แพทย์โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ (ม.อ) ประสบความสำเร็จในการทำวิจัยและผ่าตัดรักษาผู้ป่วยที่กระดูกเบี้ยวผิดรูปจนได้รับความสนใจในระดับนานาชาติ โดยเจ้าของผลงานวิจัยชิ้นนี้ คือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์สุนทร วงษ์ศิริ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านมือ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ (ม.อ.) ซึ่งได้ทำการวิจัยเรื่อง “การผ่าตัดหุ่นจำลอง สเหมือนจริงในผู้ป่วยกระดูกเบี้ยวผิดรูป”

ผลงานวิจัยชิ้นนี้ ทำให้ ผศ.นพ.สุนทร ได้รับการคัดเลือกให้เป็นตัวแทนประเทศไทย ไปนำเสนอบนเวทีระดับโลก ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา ในมหาวิทยาลัยชั้นนำอย่าง Pennsylvania State University, New York City Columbia University , Ohio University เป็นต้น

ผศ.นพ.สุนทร อธิบายถึงผลงานวิจัยชิ้นนี้ว่า เป็นการใช้ RP MODEL ร่วมกับโปรแกรมทางคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยในการผ่าตัดโรคกระดูกผิดรูป(Using computerized cutting guide by 3D Program with RP technique for bony deformity) ซึ่งผลจากการรักษาคนไข้ที่มีความผิดปกติเนื่องจากเกิดการโกงงอของกระดูกต้นแขน หรือที่แรกว่า Cubitus Varus จำเป็นต้องมีการผ่าตัดกระดูกเพื่อปรับแก้ไขทิศทางให้ถูกต้อง โดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี CAD และ Rapid Prototype เพื่อใช้ในการออกแบบและวางแผนการผ่าตัดแก้ไข

คนไข้รายนี้มีความผิดปกติที่ต้นแขนซ้าย และทำการผ่าตัดที่โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ในขั้นตอนการออกแบบจะนำข้อมูลของคนไข้ที่ได้มาจากเครื่อง CT SCAN เข้ามาในซอฟแวร์ CAD หลังจากนั้นทำการวัดขนาดและมุมที่แตกต่างกัน ระหว่างข้างที่ปกติและข้างที่ผิดปกติโดยใช้เทคนิคการมินเลอร์ ร่วมกับคอมพิวเตอร์อิมเมจโพเทสซิ่ง ทำการออกแบบตำแหน่งและปรับทิศทางของการปรับแก้ไข โดยประชุมวางแผนผ่าตัดร่วมกับแพทย์ผู้ทำการผ่าตัด

จากนั้นจึงออกแบบอุปกรณ์หรือที่เรียกว่า CUTTING TENPLATE เพื่อใช้เป็นเครื่องมือกำหนดตำแหน่งและทิศทางในการผ่าตัดเพื่อใช้ในขั้นตอนกรผ่าตัด สร้างต้นแบบจำลองของกระดูกที่ต้องการจะทำการผ่าตัดแก้ไข และต้นแบบจำลองของ CUTTING TENPLATE โดยใช้เทคโนโลยี Rapid Prototype เพื่อใช้ในการทำงานและใช้แบบจำลองของ CUTTING TENPLATE เพื่อใช้ในการผลิตชิ้นงานจริงที่จะเอาไปใช้ในขั้นตอนการผ่าตัด ใช้ต้นแบบจำลองของต้นแขนในการเตรียม Taitanium Mesh ที่เข้ารูปกับรูปทรงของกระดูกของคนไข้ เพื่อใช้ในการจับยึดตำแหน่งเพื่อไม่ให้กระดูกที่ทำการผ่าตัดแล้วเคลื่อนที่รวมทั้งเป็นการป้องกันไม่ให้กระดูกที่ถูกตัดหลุดออกจากตำแหน่งที่ปรับแต่งไว้

ในขั้นตอนการผ่าตัด แพทย์ผู้ทำการผ่าตัดทำการผ่าตัดเปิดในตำแหน่งที่ต้องการแก้ไข โดยแบ่งได้เป็น 2 ขั้นตอน คือ ทำการผ่าตัดเปิดด้าน ที่ต้องการแก้ไขซึ่งในคนไข้รายนี้แขนซ้ายด้านนอกลำตัว หลังจากนั้น นำ CUTTING TENPLATE วางแนบกับกระดูกและทำการจัดเย็บแบบชั่วคราวเพื่อกำหนดแนวในการตัดกระดูก จากนั้นเริ่มทำการตัดกระดูกและนำชิ้นส่วนของกระดูกที่ต้องตัดออกมาเตรียม เพื่อแล่ใส่เข้าไปใหม่ในฝั่งตรงข้ามในส่วนที่ขาดหาย หลังจากหมุนปรับแนวของกระดูกให้ถูกต้องตามที่ได้ออกแบบไว้

หลังจากนั้น ทำการเย็บชิ้นกระดูกที่ถูกตัดด้วยลวด และสกูร เพื่อให้กระดูกที่ตัดอยู่กับที่ทำการผ่าตัดเปิดด้านฝั่งตรงข้ามนั้นก็คือแขนซ้ายด้านในลำตัว หลังจากนั้นนำเศษชิ้นกระดูกที่เตรียมไว้มาใส่แทนกระดูกที่ขาดหายไป จากนั้นนำ Taitanium Mesh ที่เตรียมมาเย็บติดกระดูกเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของรอยหัก รวมทั้งเพื่อป้องกันไม่ให้เศษชิ้นกระดูกหลุดออกมา เมื่อเสร็จสิ้นทุกขั้นตอนแล้วทำการเย็บปิดแผล ทำการตรวจสอบท่อนแขนของคนไข้ว่าหลังทำการผ่าตัดแล้วอยู่ในทิศทางและแนวที่ถูกต้อง

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์สุนทร กล่าวว่า สำหรับผู้ป่วยรายนี้พบว่า สามารถแก้มุมจากเดิม 35.3 องศา ได้ถึง 29.7 องศา เมื่อคำนวณเป็นตัวเลขแล้วสามารถแก้ได้ 84% จากการดูรูปร่างจากภายนอกมีความสวยงามคล้ายกับแขนด้านตรงข้าม แสดงให้เห็นว่าการแก้ไขด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทำให้ประสบผลสำเร็จ และยังพบอีกว่าการแก้ไขปัญหาแบบนี้จะช่วยให้การวิเคราะห์การผ่าตัดมีความสะดวกและสบายมากขึ้น ซึ่งวิธีการนี้นับเป็นความก้าวหน้าทางการแพทย์อีกขั้นหนึ่งและได้รับความสนใจจากแพทย์ ในมหาวิทยาลัยชั้นนำให้ ไปนำเสนอบนเวทีระดับโลก ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา ในฐานะตัวแทนของประเทศไทย

สำหรับงานวิจัยชิ้นนี้ ผศ.นพ.สุนทร วงษ์ศิริ จะนำหุ่นจำลองสเหมือนจริงมาแสดงให้ชมพร้อมผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดแล้วสำเร็จด้วยเทคโนโลยีใหม่ชิ้นนี้ จนผู้ป่วยมีลักษณะกระดูกที่สวยงามเหมือนบุคคลทั่วๆ ในงานประชุมวิชาการ ประจำปี 2551 “Towards Excellence and Safety” ระหว่างวันที่ 13-15 สิงหาคม นี้ ณ ห้องทองจันทร์ หงศ์ลดารมภ์ อาคารเรียนรวมฯ คณะแพทยศาสตร์

อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ ผศ.นพ.สุนทร เป็นแพทย์ผู้ซึ่งเคยสร้างประวัติการผ่าตัดต่อมือ 2 ข้างสำเร็จเป็นครั้งแรกของประเทศไทแรกมาแล้ว





กำลังโหลดความคิดเห็น