ปัตตานี - เผยผลงานวิจัย นศ.ป.โท มอ.ปัตตานี พบสาเหตุอันดับหนึ่งครูขอย้ายออกเพราะไม่มีภูมิลำเนาในพื้นที่ ร่วมด้วยอีก 4 ตัวแปรคือ การไม่มีทรัพย์สินส่วนตัวในพื้นที่ , การนับถือศาสนา , การใช้ภาษามลายูท้องถิ่นในการสื่อสาร และเรื่องความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
วันนี้ (5ก.ค.) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี (ม.อ.ปัตตานี) จัดการประชุมวิชาการเพื่อนำเสนอผลงานวิจัยประจำปี 2551 ที่โรงแรม ซี.เอส.ปัตตานี โดยนางสาววันนูริดา บินอีซอ นักศึกษาปริญญาโท สาขาวิชาการวัดผลและวิจัยการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มอ.ปัตตานีผู้วิจัยในหัวข้อ การวิเคราะห์ตัวแปรจำแนกการคงอยู่ของข้าราชการครูภายใต้สถานการณ์ความไม่สงบใน จ.นราธิวาส เปิดเผยผลงานวิจัยว่า จากการสุ่มสำรวจครูระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในจังหวัดนราธิวาสจำนวน 475 คน จาก 5,552 คน พบว่ามี 5 ตัวแปรที่ครูต้องการย้ายออกนอกพื้นที่ โดยตัวแปรสำคัญอันดับหนึ่งคือ การไม่ได้มีภูมิลำเนาในพื้นที่ เนื่องจากครูที่เป็นคนต่างพื้นที่ส่วนใหญ่จะมีศาสนา ภาษาและวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน ส่งผลให้การปฎิบัติงานยากลำบากประกอบกับการเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบจึงส่งผลให้ครูขอย้ายออกนอกพื้นที่หรือขอย้ายกลับภูมิลำเนา
ส่วนตัวแปรอื่นประกอบด้วย การไม่มีทรัพย์สินส่วนตัวในพื้นที่ , การนับถือศาสนา , การใช้ภาษามลายูท้องถิ่นในการสื่อสาร และเรื่องความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
สำหรับตัวแปรที่สามารถจำแนกกลุ่มข้าราชการครูที่ต้องการคงอยู่ในพื้นที่ มี 6 ตัวแปร ประกอบด้วย 1.ความพึงพอใจในการปฎิบัติงาน 2.ลักษณะและคุณภาพการปฎิบัติงาน 3.ความสัมพันธ์กับชุมชน 4.ความก้าวหน้าในอาชีพการงาน 5.ความเข้าใจในวัฒนธรรมของชุมชน และ 6.ความสัมพันธ์ระหว่างบุคลากรภายในหน่วยงาน
ผู้วิจัยกล่าวอีกว่า ผลจากการวิจัยครั้งนี้สรุปได้ว่า ในกลุ่มของครูที่ต้องการคงอยู่ในพื้นที่ ยังเชื่อมั่นว่าอาชีพครูเป็นอาชีพที่มีความมั่นคง มีโอกาสก้าวหน้าในอาชีพการงาน มีความสัมพันธ์ที่ดีในองค์กร หน่วยงานและชุมชน ส่งผลให้เกิดความจงรักภักดีต่อองค์กรและมั่นใจทำงานในพื้นที่
ข้อเสนอแนะ จากการศึกษาพบว่า ปัจจัยภายในองค์กรเป็นส่วนสำคัญในการที่จะดึงให้ครูอยู่ในพื้นที่โดยผู้บริหารการศึกษาควรนำปัจจัยดังกล่าวมาเป็นแรงจูงใจให้กับครู ประกอบกับการสร้างความสัมพันธ์กับหน่วยงานองค์กรอื่น ชุมชน ผู้นำศาสนาเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับครูในการทำงานในพื้นที่ เพื่อให้ครูอยู่ในพื้นที่ต่อไป
วันนี้ (5ก.ค.) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี (ม.อ.ปัตตานี) จัดการประชุมวิชาการเพื่อนำเสนอผลงานวิจัยประจำปี 2551 ที่โรงแรม ซี.เอส.ปัตตานี โดยนางสาววันนูริดา บินอีซอ นักศึกษาปริญญาโท สาขาวิชาการวัดผลและวิจัยการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มอ.ปัตตานีผู้วิจัยในหัวข้อ การวิเคราะห์ตัวแปรจำแนกการคงอยู่ของข้าราชการครูภายใต้สถานการณ์ความไม่สงบใน จ.นราธิวาส เปิดเผยผลงานวิจัยว่า จากการสุ่มสำรวจครูระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในจังหวัดนราธิวาสจำนวน 475 คน จาก 5,552 คน พบว่ามี 5 ตัวแปรที่ครูต้องการย้ายออกนอกพื้นที่ โดยตัวแปรสำคัญอันดับหนึ่งคือ การไม่ได้มีภูมิลำเนาในพื้นที่ เนื่องจากครูที่เป็นคนต่างพื้นที่ส่วนใหญ่จะมีศาสนา ภาษาและวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน ส่งผลให้การปฎิบัติงานยากลำบากประกอบกับการเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบจึงส่งผลให้ครูขอย้ายออกนอกพื้นที่หรือขอย้ายกลับภูมิลำเนา
ส่วนตัวแปรอื่นประกอบด้วย การไม่มีทรัพย์สินส่วนตัวในพื้นที่ , การนับถือศาสนา , การใช้ภาษามลายูท้องถิ่นในการสื่อสาร และเรื่องความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
สำหรับตัวแปรที่สามารถจำแนกกลุ่มข้าราชการครูที่ต้องการคงอยู่ในพื้นที่ มี 6 ตัวแปร ประกอบด้วย 1.ความพึงพอใจในการปฎิบัติงาน 2.ลักษณะและคุณภาพการปฎิบัติงาน 3.ความสัมพันธ์กับชุมชน 4.ความก้าวหน้าในอาชีพการงาน 5.ความเข้าใจในวัฒนธรรมของชุมชน และ 6.ความสัมพันธ์ระหว่างบุคลากรภายในหน่วยงาน
ผู้วิจัยกล่าวอีกว่า ผลจากการวิจัยครั้งนี้สรุปได้ว่า ในกลุ่มของครูที่ต้องการคงอยู่ในพื้นที่ ยังเชื่อมั่นว่าอาชีพครูเป็นอาชีพที่มีความมั่นคง มีโอกาสก้าวหน้าในอาชีพการงาน มีความสัมพันธ์ที่ดีในองค์กร หน่วยงานและชุมชน ส่งผลให้เกิดความจงรักภักดีต่อองค์กรและมั่นใจทำงานในพื้นที่
ข้อเสนอแนะ จากการศึกษาพบว่า ปัจจัยภายในองค์กรเป็นส่วนสำคัญในการที่จะดึงให้ครูอยู่ในพื้นที่โดยผู้บริหารการศึกษาควรนำปัจจัยดังกล่าวมาเป็นแรงจูงใจให้กับครู ประกอบกับการสร้างความสัมพันธ์กับหน่วยงานองค์กรอื่น ชุมชน ผู้นำศาสนาเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับครูในการทำงานในพื้นที่ เพื่อให้ครูอยู่ในพื้นที่ต่อไป