สพฐ.เผย มีครูจีนที่จบเอกภาษาจีนเพียง 5 ราย เร่งแก้ปัญหาขาดครูสอนภาษาจีน ให้ทุนบัณฑิตเอกภาษาจีนไปเรียนต่อที่แดนมังกร 1 ปี เพื่อกลับมาเป็นข้าราชการครูประจำโรงเรียน สพฐ.
คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เปิดเผยภายหลังพิธีลงนามความร่วมมือระหว่าง สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กับ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และมหาวิทยาลัยบูรพา จัดการศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต (ป.บัณฑิต) ให้แก่ผู้มีสิทธิรับทุนการสอนภาษาจีน ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมีมาดามผาง ลี่ เลขานุการเอก ฝ่ายการศึกษา สถานเอกอัครราชทูต สาธารณรัฐประชาชนจีน ประจำประเทศไทย ร่วมเป็นสักขีพยาน
การลงนามครั้งนี้ สืบเนื่องมาจาก สพฐ.มีนโยบายส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาจีนและได้ประกาศตามยุทธศาสตร์ส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาจีน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้คนไทยในเวทีระหว่างประเทศ นั้น และคณะรัฐมนตรี (ครม.) มามีมติปี 2551 ส่งผลให้การเรียนการสอนภาษาจีนได้รับความสนในจากนักเรียนเพิ่มสูงขึ้น
โดยก่อนหน้านี้ มีโรงเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานทุกสังกัดเปิดสอนภาษาจีนประมาณ 200 แห่ง มีนักเรียนประมาณ 200,000 คน ส่วนใหญ่เป็นโรงเรียนเอกชนซึ่งเปิดสอนภาษาจีนในระดับประถมศึกษา ขณะนี้มีนักเรียนสนใจเรียนภาษาจีนเกือบ 500,000 คน เฉพาะโรงเรียนสังกัด สพฐ.เปิดสอนภาษาจีนประมาณ 500 แห่ง รวมนักเรียน 200,000 ราย
“มีนักเรียนที่สนใจมาก ส่งผลให้เกิดปัญหาขาดแคลนครู ซึ่งโรงเรียนที่เปิดสอนภาษาจีน ควรมีครูที่จบเอกภาษาจีนประจำอย่างน้อย 1 ถึง 2 คน ขณะที่ สพฐ.มีครูจบเอกภาษาจีนโดยตรงเพียง 5 คน มีครูอาสาที่รัฐบาลจีนส่งมา 380 คน นอกนั้นให้ครูเอกวิชาอื่นไปเข้ารับอบรมการสอนภาษาจีน มาเป็นครูภาษาจีนประจำโรงเรียนแทน โดยบางรายก็สอนควบกับวิชาอื่น”
เพื่อแก้ปัญหาขาดครู สพฐ.ร่วมกับสำนักส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาจีนนานาชาติแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (The Office of Chinese Council International Hanban) จัดโครงการให้ทุนนักศึกษาที่จบเอกภาษาจีนจากครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ อักษรศาสตร์ และศิลปศาสตร์ ไปอบรมภาษาจีนใน 5 มหาวิทยาลัยดังของประเทศจีน ทั้งหมด 300 ทุน ในช่วงเวลา 3ปี (2551-2553 ปีละ 100 คน )เพื่อกลับมารับราชการครูสอนภาษาจีนในโรงเรียนสังกัด สพฐ.โดยได้จัดสรรอัตรากำลังข้าราชการครู เพื่อรองรับนักศึกษาทุนนี้แล้ว และ สพฐ. ได้คัดเลือกนักศึกษาวิชาเอกภาษาจีน และผู้ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด เข้ารับทุนรุ่นแรก 100 คน แต่พบว่าผู้มีสิทธิรับทุนจำนวน 64 คน ไม่ได้จบด้านครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ โดยตรง ซึ่งจะไม่มีสิทธิ์ขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ทาง สพฐ.จับมือกับ รภ.สวนสุนันทา และมหาวิทยาลัยบูรพา เปิดหลักสูตร ป.บัณฑิต ให้คนกลุ่มนี้ เพื่อให้มีคุณสมบัติตรงตามมาตรฐานวิชาชีพครู ที่สำนักงานเลขาธิการคุรุสภากำหนด ก่อนจะเดินทางไปศึกษา ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน 1 ปี โดยจะเดินทางเดือนกันยายนนี้
ด้าน มาดามผาง ลี่ กล่าวว่า ปัจจุบันนี้ภาษาจีนเป็นที่สนใจของคนทั่วโลก สำหรับไทยมีการขยายตัวในการพัฒนาด้านการเรียนการสอนภาษาจีนอย่างรวดเร็ว โดยสาธารณรัฐประชาชนจีน ก็ได้ส่งครูจีนมาช่วยสอนในโรงเรียนสังกัดต่างๆ จำนวน 870 คน แต่ก็ยังไม่เพียงพอกับความต้องการ และการส่งครูจีนมาสอนนั้น ไม่ใช่การช่วยเหลือที่ยั่งยืน ไทยจำเป็นต้องมีครูสอนภาษาจีนของไทยเอง โดยให้ทุนไปเรียนจีนแล้วกลับมาบรรจุเป็นข้าราชการครูสอนภาษาจีนในโรงเรียนต่างๆ
คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เปิดเผยภายหลังพิธีลงนามความร่วมมือระหว่าง สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กับ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และมหาวิทยาลัยบูรพา จัดการศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต (ป.บัณฑิต) ให้แก่ผู้มีสิทธิรับทุนการสอนภาษาจีน ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมีมาดามผาง ลี่ เลขานุการเอก ฝ่ายการศึกษา สถานเอกอัครราชทูต สาธารณรัฐประชาชนจีน ประจำประเทศไทย ร่วมเป็นสักขีพยาน
การลงนามครั้งนี้ สืบเนื่องมาจาก สพฐ.มีนโยบายส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาจีนและได้ประกาศตามยุทธศาสตร์ส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาจีน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้คนไทยในเวทีระหว่างประเทศ นั้น และคณะรัฐมนตรี (ครม.) มามีมติปี 2551 ส่งผลให้การเรียนการสอนภาษาจีนได้รับความสนในจากนักเรียนเพิ่มสูงขึ้น
โดยก่อนหน้านี้ มีโรงเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานทุกสังกัดเปิดสอนภาษาจีนประมาณ 200 แห่ง มีนักเรียนประมาณ 200,000 คน ส่วนใหญ่เป็นโรงเรียนเอกชนซึ่งเปิดสอนภาษาจีนในระดับประถมศึกษา ขณะนี้มีนักเรียนสนใจเรียนภาษาจีนเกือบ 500,000 คน เฉพาะโรงเรียนสังกัด สพฐ.เปิดสอนภาษาจีนประมาณ 500 แห่ง รวมนักเรียน 200,000 ราย
“มีนักเรียนที่สนใจมาก ส่งผลให้เกิดปัญหาขาดแคลนครู ซึ่งโรงเรียนที่เปิดสอนภาษาจีน ควรมีครูที่จบเอกภาษาจีนประจำอย่างน้อย 1 ถึง 2 คน ขณะที่ สพฐ.มีครูจบเอกภาษาจีนโดยตรงเพียง 5 คน มีครูอาสาที่รัฐบาลจีนส่งมา 380 คน นอกนั้นให้ครูเอกวิชาอื่นไปเข้ารับอบรมการสอนภาษาจีน มาเป็นครูภาษาจีนประจำโรงเรียนแทน โดยบางรายก็สอนควบกับวิชาอื่น”
เพื่อแก้ปัญหาขาดครู สพฐ.ร่วมกับสำนักส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาจีนนานาชาติแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (The Office of Chinese Council International Hanban) จัดโครงการให้ทุนนักศึกษาที่จบเอกภาษาจีนจากครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ อักษรศาสตร์ และศิลปศาสตร์ ไปอบรมภาษาจีนใน 5 มหาวิทยาลัยดังของประเทศจีน ทั้งหมด 300 ทุน ในช่วงเวลา 3ปี (2551-2553 ปีละ 100 คน )เพื่อกลับมารับราชการครูสอนภาษาจีนในโรงเรียนสังกัด สพฐ.โดยได้จัดสรรอัตรากำลังข้าราชการครู เพื่อรองรับนักศึกษาทุนนี้แล้ว และ สพฐ. ได้คัดเลือกนักศึกษาวิชาเอกภาษาจีน และผู้ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด เข้ารับทุนรุ่นแรก 100 คน แต่พบว่าผู้มีสิทธิรับทุนจำนวน 64 คน ไม่ได้จบด้านครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ โดยตรง ซึ่งจะไม่มีสิทธิ์ขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ทาง สพฐ.จับมือกับ รภ.สวนสุนันทา และมหาวิทยาลัยบูรพา เปิดหลักสูตร ป.บัณฑิต ให้คนกลุ่มนี้ เพื่อให้มีคุณสมบัติตรงตามมาตรฐานวิชาชีพครู ที่สำนักงานเลขาธิการคุรุสภากำหนด ก่อนจะเดินทางไปศึกษา ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน 1 ปี โดยจะเดินทางเดือนกันยายนนี้
ด้าน มาดามผาง ลี่ กล่าวว่า ปัจจุบันนี้ภาษาจีนเป็นที่สนใจของคนทั่วโลก สำหรับไทยมีการขยายตัวในการพัฒนาด้านการเรียนการสอนภาษาจีนอย่างรวดเร็ว โดยสาธารณรัฐประชาชนจีน ก็ได้ส่งครูจีนมาช่วยสอนในโรงเรียนสังกัดต่างๆ จำนวน 870 คน แต่ก็ยังไม่เพียงพอกับความต้องการ และการส่งครูจีนมาสอนนั้น ไม่ใช่การช่วยเหลือที่ยั่งยืน ไทยจำเป็นต้องมีครูสอนภาษาจีนของไทยเอง โดยให้ทุนไปเรียนจีนแล้วกลับมาบรรจุเป็นข้าราชการครูสอนภาษาจีนในโรงเรียนต่างๆ