สพฐ.จับมือ “สวนดุสิต-บูรพา” จัดหลักสูตร ป.บัณฑิต สำหรับผู้รับทุนสอนภาษาจีน เหตุผู้มีสิทธิ์รับทุนส่วนใหญ่ จำนวน 64 คน ยังไม่เคยศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครูมาก่อน
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้ร่วมกับสำนักส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาจีนนานาชาติแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (The Office of Chinese Council International Hanban) จัดทำโครงการให้ทุนการศึกษาแก่นักศึกษาที่ศึกษาวิชาเอกภาษาจีน เพื่อกลับมารับราชการเป็นครูสอนภาษาจีน ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามยุทธศาสตร์ส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาจีน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้แก่คนไทยในเวทีระหว่างประเทศ ซึ่ง ครม.ได้มีมติอนุมัติหลักการจัดสรรอัตรากำลังข้าราชการครู เพื่อรองรับนักศึกษาที่ได้รับทุนการสอนภาษาจีนจำนวน 300 อัตรา ในช่วงระยะเวลา 3 ปี (พ.ศ.2551-2553) นั้น
คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยว่า ในปี 2551 สพฐ.ได้ดำเนินการคัดเลือกนักศึกษาวิชาเอกภาษาจีนและได้ผู้ที่มีคุณสมบัติ ตามเกณฑ์ที่กำหนดเข้ารับทุนด้านการสอนภาษาจีน ณ สาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นเวลา 1 ปี จำนวน 100 ทุน แต่เนื่องจากผู้มีสิทธิ์รับทุนส่วนใหญ่ จำนวน 64 คน ยังไม่เคยศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู มาก่อน จึงจำเป็นต้องศึกษาหลักสูตรดังกล่าวให้เสร็จสิ้นก่อนที่จะเดินทางไปศึกษาที่สาธารณรัฐประชาชนจีนในเดือนกันยายน 2551 เพื่อที่จะให้ผู้รับทุนทั้งหมดมีคุณวุฒิ และคุณสมบัติครบถ้วนตามมาตรฐานวิชาชีพครู ที่สำนักงานเลขาธิการคุรุสภากำหนด
สพฐ.จึงได้ประสานกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และมหาวิทยาลัยบูรพา เพื่อขอความอนุเคราะห์เป็นหน่วยจัดการศึกษาหลักสูตร ป.บัณฑิต ให้แก่ผู้มีสิทธิ์รับทุนดังกล่าว โดยหลักสูตรดังกล่าวจะจัดระหว่างเดือนเมษายน-สิงหาคม 2551 ก่อนผู้รับทุนจะเดินทางไปประเทศจีน และระหว่างเดือนกรกฎาคม-กันยายน 2552 หลังกลับจากศึกษาที่ประเทศจีน เพื่อให้ทันการบรรจุลงตำแหน่งข้าราชการครูสอนภาษาจีนในโรงเรียนสังกัด
“สพฐ.รู้สึกยินดีและขอขอบคุณมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และมหาวิทยาลัยบูรพา ที่ให้ความอนุเคราะห์และร่วมมือด้วยดีในการจัดหลักสูตร ป.บัณฑิต ซึ่งผู้รับทุนทุกคน จะต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนตามมาตรฐานวิชาชีพครู ในการที่จะบรรจุเข้ารับราชการครูต่อไป”
“สพฐ.ตระหนักถึงความสำคัญและจำเป็นในการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาจีนของประเทศไทย ในปัจจุบัน รวมทั้งได้ปรับปรุงการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทย เสริมความพร้อมและความเข้มแข็ง โดยการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาจีนให้มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับความต้องการ และก้าวสู่มาตรฐานอันเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการสร้างสังคมฐานเศรษฐกิจที่อาศัยภาษาจีนเป็นเครื่องมือของการสื่อสารต่อไปในอนาคต” เลขาธิการ กพฐ.กล่าว
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้ร่วมกับสำนักส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาจีนนานาชาติแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (The Office of Chinese Council International Hanban) จัดทำโครงการให้ทุนการศึกษาแก่นักศึกษาที่ศึกษาวิชาเอกภาษาจีน เพื่อกลับมารับราชการเป็นครูสอนภาษาจีน ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามยุทธศาสตร์ส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาจีน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้แก่คนไทยในเวทีระหว่างประเทศ ซึ่ง ครม.ได้มีมติอนุมัติหลักการจัดสรรอัตรากำลังข้าราชการครู เพื่อรองรับนักศึกษาที่ได้รับทุนการสอนภาษาจีนจำนวน 300 อัตรา ในช่วงระยะเวลา 3 ปี (พ.ศ.2551-2553) นั้น
คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยว่า ในปี 2551 สพฐ.ได้ดำเนินการคัดเลือกนักศึกษาวิชาเอกภาษาจีนและได้ผู้ที่มีคุณสมบัติ ตามเกณฑ์ที่กำหนดเข้ารับทุนด้านการสอนภาษาจีน ณ สาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นเวลา 1 ปี จำนวน 100 ทุน แต่เนื่องจากผู้มีสิทธิ์รับทุนส่วนใหญ่ จำนวน 64 คน ยังไม่เคยศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู มาก่อน จึงจำเป็นต้องศึกษาหลักสูตรดังกล่าวให้เสร็จสิ้นก่อนที่จะเดินทางไปศึกษาที่สาธารณรัฐประชาชนจีนในเดือนกันยายน 2551 เพื่อที่จะให้ผู้รับทุนทั้งหมดมีคุณวุฒิ และคุณสมบัติครบถ้วนตามมาตรฐานวิชาชีพครู ที่สำนักงานเลขาธิการคุรุสภากำหนด
สพฐ.จึงได้ประสานกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และมหาวิทยาลัยบูรพา เพื่อขอความอนุเคราะห์เป็นหน่วยจัดการศึกษาหลักสูตร ป.บัณฑิต ให้แก่ผู้มีสิทธิ์รับทุนดังกล่าว โดยหลักสูตรดังกล่าวจะจัดระหว่างเดือนเมษายน-สิงหาคม 2551 ก่อนผู้รับทุนจะเดินทางไปประเทศจีน และระหว่างเดือนกรกฎาคม-กันยายน 2552 หลังกลับจากศึกษาที่ประเทศจีน เพื่อให้ทันการบรรจุลงตำแหน่งข้าราชการครูสอนภาษาจีนในโรงเรียนสังกัด
“สพฐ.รู้สึกยินดีและขอขอบคุณมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และมหาวิทยาลัยบูรพา ที่ให้ความอนุเคราะห์และร่วมมือด้วยดีในการจัดหลักสูตร ป.บัณฑิต ซึ่งผู้รับทุนทุกคน จะต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนตามมาตรฐานวิชาชีพครู ในการที่จะบรรจุเข้ารับราชการครูต่อไป”
“สพฐ.ตระหนักถึงความสำคัญและจำเป็นในการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาจีนของประเทศไทย ในปัจจุบัน รวมทั้งได้ปรับปรุงการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทย เสริมความพร้อมและความเข้มแข็ง โดยการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาจีนให้มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับความต้องการ และก้าวสู่มาตรฐานอันเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการสร้างสังคมฐานเศรษฐกิจที่อาศัยภาษาจีนเป็นเครื่องมือของการสื่อสารต่อไปในอนาคต” เลขาธิการ กพฐ.กล่าว