เมื่อลูกน้อยเริ่มเข้าเรียนชั้นอนุบาล มีสิ่งใดบ้างที่ควรส่งเสริมให้ลูกได้เรียนรู้ แล้วกระแสในเรื่องความรุนแรงต่างๆ ตามที่ปรากฏตามหน้าหนังสือพิมพ์ หรือบทบาทของโรงเรียนในเรื่องการปลูกฝังคุณธรรมควรเป็นไปในทิศทางใด
ปัญหาต่างๆ เหล่านี้น่าจะเป็นส่วนหนึ่งที่กวนใจคุณพ่อคุณแม่ในยุคที่ข้าวสารราคาแพงมาโดยตลอด
ดร.สุจินดา ขจรรุ่งศิลป์ จากสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ให้คำแนะนำเกี่ยวกับเรื่องนี้ ว่า เด็กที่เริ่มเข้าเรียนในชั้นอนุบาล อย่างแรกควรหัดให้เขาพึ่งตัวเองก่อน อย่าไปเร่งรีบว่าไปโรงเรียนแล้วจะต้องเขียน-อ่านเป็นเลยทันที พ่อแม่บางคนถึงขนาดว่าต้องกำหนดให้เรียนภาษาอื่นตามไปด้วย
เด็กในวัยนี้ยังคงชอบเล่นอยู่ การที่เขาได้เล่นกับผู้อื่นเพราะธรรมชาติของเด็กคือหนีไม่พ้นการเล่น แต่จะเล่นอย่างไรให้สมกับวัยเขา ตรงกับพัฒนาการและได้การเรียนรู้ ในเด็กทั่วไปถ้าได้เล่นตามธรรมชาติ เด็กก็จะได้ค้นหาในระดับหนึ่ง แต่ถ้าไม่มีการปูพื้นฐานที่ถูกต้องในการเรียนรู้ ให้เล่นเป็น เด็กก็จะเล่นในตามสัญชาตญาณของเขา ตามความต้องการเบื้องต้นของเขา คือให้สนุกสนาน, เล่นด้วยความแปลกใหม่ แต่เขาอาจจะไม่มีทิศทาง
ดังนั้น ครูอนุบาลในฐานะนักการศึกษาปฐมวัยต้องเข้าไปมีบทบาท มีปฏิสัมพันธ์ด้วยการตั้งคำถามหรือตั้งเป้าหมายว่า เล่นแล้วเด็กจะได้อะไร แต่ขณะเดียวกันก็ต้องไม่มุ่งมาดให้เด็กเป็นไปตามที่เราคาดหวัง ต้องดูทิศทางเด็กว่าเล่นไปทางทิศไหนผสมผสานกัน เด็กริเริ่ม ผู้ใหญ่คอยดูและสนับสนุน
อีกเรื่องที่ควรส่งเสริมตั้งแต่ในวัยอนุบาล คือ การบริโภคด้วยปัญญาที่ต้องปลูกฝังหล่อหลอมตั้งแต่เด็ก โดยที่ครูอนุบาลไม่ควรสอนเด็กตรงๆ ด้วยการพูดเพียงอย่างเดียว แต่จะควบคู่ไปกับการทำกิจกรรม เพราะจะนำไปสู่การวิเคราะห์ พูดคุย การสังเคราะห์ เด็กก็จะเข้าไปสู่การเรียนรู้ และนำไปสู่การหล่อหลอมนิสัยพื้นฐานของเด็กให้เกิดอุปนิสัย นำไปสู่การเกิดคุณธรรม
“สำหรับเรื่องกระแสความรุนแรงต่างๆ ตามที่ปรากฏตามหน้าหนังสือพิมพ์นั้น แม้เป็นเรื่องที่ค่อนข้างไกลตัว แต่สถานศึกษาในระดับอนุบาลต้องฝึกฝนในกิจวัตร ให้เด็กดูแลตัวเอง ช่วยเหลือตัวเองในลำดับแรก โดยแทรกให้เขารู้คุณค่าในสิ่งที่เขาบริโภค กิน อยู่ แม้กระทั่งการบริโภคสื่อ ซึ่งในขณะนี้หลายๆ โรงเรียนน่าเป็นห่วง เพราะบางโรงเรียนมีการเปิดวิดีโอให้เด็กดู แทนการทำกิจกรรมเรียนรู้ ในหลายๆ โรงเรียนฆ่าเวลาโดยให้เด็กดูทีวี หรือวิดีโอแทน”ดร.สุจินดา ให้ข้อมูล
ด้าน สุวรรณี เรวัตบวรวงศ์ บรรณาธิการบริหารนิตยสาร Kids and School อธิบายเพิ่มเติมว่า ที่ปัจจุบันเด็กมีนิสัยก้าวร้าวขึ้นมาจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมจากหลายสาเหตุ เช่น เด็กเข้าถึงโทรทัศน์ และอินเทอร์เน็ตมากขึ้นโดยไม่ได้รับการอธิบาย เด็กพวกนี้จะมีความก้าวร้าว อารมณ์รุนแรงมากขึ้น เพราะถูกอิทธิพลจากสื่อภายนอกเข้ามาสอนพวกเขา อีกด้านหนึ่งคือพ่อแม่ในปัจจุบันมีเวลาในการเลี้ยงลูกน้อยกว่าในสมัยก่อนเลยต้องฝากความหวังไว้กับโรงเรียนโดยไม่ได้คำนึงถึงสื่อภายนอก เด็กจึงไม่รู้ว่า สิ่งไหนดี สิ่งไหนไม่ดี
“พ่อแม่คือจุดเริ่มต้นที่ดีที่สุดสำหรับลูกในการเฝ้าระวังดูแล สอนลูกว่าอะไรถูก อะไรผิด และต้องส่งเสริมโดยผ่านกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน และมากกว่านั้น มีการส่งเสริมกิจกรรมต่างๆ การมีมารยาททางสังคม การเคารพผู้ใหญ่และอีกหลายๆ อย่าง เพื่อสอนให้เด็กเติบโตไปในทางที่สังคมต้องการ และเติบโตเป็นอนาคตของชาติที่ดีในอนาคต”สุวรรณี สรุปทิ้งท้าย
ปัญหาต่างๆ เหล่านี้น่าจะเป็นส่วนหนึ่งที่กวนใจคุณพ่อคุณแม่ในยุคที่ข้าวสารราคาแพงมาโดยตลอด
ดร.สุจินดา ขจรรุ่งศิลป์ จากสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ให้คำแนะนำเกี่ยวกับเรื่องนี้ ว่า เด็กที่เริ่มเข้าเรียนในชั้นอนุบาล อย่างแรกควรหัดให้เขาพึ่งตัวเองก่อน อย่าไปเร่งรีบว่าไปโรงเรียนแล้วจะต้องเขียน-อ่านเป็นเลยทันที พ่อแม่บางคนถึงขนาดว่าต้องกำหนดให้เรียนภาษาอื่นตามไปด้วย
เด็กในวัยนี้ยังคงชอบเล่นอยู่ การที่เขาได้เล่นกับผู้อื่นเพราะธรรมชาติของเด็กคือหนีไม่พ้นการเล่น แต่จะเล่นอย่างไรให้สมกับวัยเขา ตรงกับพัฒนาการและได้การเรียนรู้ ในเด็กทั่วไปถ้าได้เล่นตามธรรมชาติ เด็กก็จะได้ค้นหาในระดับหนึ่ง แต่ถ้าไม่มีการปูพื้นฐานที่ถูกต้องในการเรียนรู้ ให้เล่นเป็น เด็กก็จะเล่นในตามสัญชาตญาณของเขา ตามความต้องการเบื้องต้นของเขา คือให้สนุกสนาน, เล่นด้วยความแปลกใหม่ แต่เขาอาจจะไม่มีทิศทาง
ดังนั้น ครูอนุบาลในฐานะนักการศึกษาปฐมวัยต้องเข้าไปมีบทบาท มีปฏิสัมพันธ์ด้วยการตั้งคำถามหรือตั้งเป้าหมายว่า เล่นแล้วเด็กจะได้อะไร แต่ขณะเดียวกันก็ต้องไม่มุ่งมาดให้เด็กเป็นไปตามที่เราคาดหวัง ต้องดูทิศทางเด็กว่าเล่นไปทางทิศไหนผสมผสานกัน เด็กริเริ่ม ผู้ใหญ่คอยดูและสนับสนุน
อีกเรื่องที่ควรส่งเสริมตั้งแต่ในวัยอนุบาล คือ การบริโภคด้วยปัญญาที่ต้องปลูกฝังหล่อหลอมตั้งแต่เด็ก โดยที่ครูอนุบาลไม่ควรสอนเด็กตรงๆ ด้วยการพูดเพียงอย่างเดียว แต่จะควบคู่ไปกับการทำกิจกรรม เพราะจะนำไปสู่การวิเคราะห์ พูดคุย การสังเคราะห์ เด็กก็จะเข้าไปสู่การเรียนรู้ และนำไปสู่การหล่อหลอมนิสัยพื้นฐานของเด็กให้เกิดอุปนิสัย นำไปสู่การเกิดคุณธรรม
“สำหรับเรื่องกระแสความรุนแรงต่างๆ ตามที่ปรากฏตามหน้าหนังสือพิมพ์นั้น แม้เป็นเรื่องที่ค่อนข้างไกลตัว แต่สถานศึกษาในระดับอนุบาลต้องฝึกฝนในกิจวัตร ให้เด็กดูแลตัวเอง ช่วยเหลือตัวเองในลำดับแรก โดยแทรกให้เขารู้คุณค่าในสิ่งที่เขาบริโภค กิน อยู่ แม้กระทั่งการบริโภคสื่อ ซึ่งในขณะนี้หลายๆ โรงเรียนน่าเป็นห่วง เพราะบางโรงเรียนมีการเปิดวิดีโอให้เด็กดู แทนการทำกิจกรรมเรียนรู้ ในหลายๆ โรงเรียนฆ่าเวลาโดยให้เด็กดูทีวี หรือวิดีโอแทน”ดร.สุจินดา ให้ข้อมูล
ด้าน สุวรรณี เรวัตบวรวงศ์ บรรณาธิการบริหารนิตยสาร Kids and School อธิบายเพิ่มเติมว่า ที่ปัจจุบันเด็กมีนิสัยก้าวร้าวขึ้นมาจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมจากหลายสาเหตุ เช่น เด็กเข้าถึงโทรทัศน์ และอินเทอร์เน็ตมากขึ้นโดยไม่ได้รับการอธิบาย เด็กพวกนี้จะมีความก้าวร้าว อารมณ์รุนแรงมากขึ้น เพราะถูกอิทธิพลจากสื่อภายนอกเข้ามาสอนพวกเขา อีกด้านหนึ่งคือพ่อแม่ในปัจจุบันมีเวลาในการเลี้ยงลูกน้อยกว่าในสมัยก่อนเลยต้องฝากความหวังไว้กับโรงเรียนโดยไม่ได้คำนึงถึงสื่อภายนอก เด็กจึงไม่รู้ว่า สิ่งไหนดี สิ่งไหนไม่ดี
“พ่อแม่คือจุดเริ่มต้นที่ดีที่สุดสำหรับลูกในการเฝ้าระวังดูแล สอนลูกว่าอะไรถูก อะไรผิด และต้องส่งเสริมโดยผ่านกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน และมากกว่านั้น มีการส่งเสริมกิจกรรมต่างๆ การมีมารยาททางสังคม การเคารพผู้ใหญ่และอีกหลายๆ อย่าง เพื่อสอนให้เด็กเติบโตไปในทางที่สังคมต้องการ และเติบโตเป็นอนาคตของชาติที่ดีในอนาคต”สุวรรณี สรุปทิ้งท้าย