หนุนรัฐฯ ให้ทุนครู 5 ปีรุ่น 2 -3 เพื่อเพิ่มมิติใหม่ให้วิชาชีพครู และระบบการศึกษาไทย เตือนการให้ทุนต้องพิจารณาความเข้มแข็ง เอาจริงเอาจังของสถาบันการศึกษาเป็นหลัก เผยผลิตครู 5 ปีรุ่น 3 เพิ่มเป็น 5 พันคน
ศ.ดร.วิรุณ ตั้งเจริญ อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) กล่าวถึงกรณีที่คณะกรรมการบริหารโครงการผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับปริญญาตรี หลักสูตร 5 ปี เห็นชอบให้สานต่อการผลิตครูหลักสูตร 5 ปี รุ่นที่ 2 และ 3 ว่า โดยส่วนตัวแล้วสนับสนุนและเห็นด้วยอย่างยิ่ง เนื่องจากไม่อยากให้เรื่องนี้ถูกมองว่าเป็นผลงานของพรรคใดพรรคหนึ่ง แต่โครงการผลิตครูหลักสูตร 5 ปี ในกลุ่มที่รัฐบาลให้ทุนนั้น อยากให้รัฐบาลไม่ว่าจะเป็นชุดใดก็ตาม เมื่อเข้ามาบริหารประเทศควรจะสานต่อ และสนับสนุนอย่างจริงจัง เพราะอย่าลืมว่าปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นปัญหาศีลธรรรม ปัญหาสังคม เศรษฐกิจ การเมือง สิ่งแวดล้อมต่างๆ ล้วนต้องแก้ด้วยการศึกษาแทบทั้งสิ้น ซึ่งการจะแก้ไขปัญหาต่างๆ นั้นกลไกสำคัญคือการศึกษา กลไกลหลักอยู่ที่บุคลากรครู
“ที่ผ่านมาหากย้อนกลับไปประมาณ 20-30 ปีมาแล้ว เริ่มเกิดวิกฤติในวิชาชีพครูอย่างมาก จนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีรับสั่งเกี่ยวกับวิชาชีพครูว่า เริ่มเข้าสู่ยุคเสื่อม อยากเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการผลิตครูได้หันมาเอาจริงเอาจังในการผลิตครูได้แล้ว จากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทำให้ผมตระหนักในเรื่องนี้เสมอมา”
ศ.ดร.วิรุณ กล่าวอีกว่า ต้องชมสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ลุกขึ้นมาผลักดันครู 5 ปี รุ่นที่ 2 และ 3 เพื่อจะให้ทุนแก่นักเรียนที่มีความตั้งใจอยากเข้าสู่วิชาชีพครู ซึ่งครู 5 ปีที่ได้รับทุนการศึกษาในรุ่นที่ 1 ขณะนี้กำลังเข้าสู่การฝึกงาน รุ่นแรกกระจายอยู่ใน สถาบันการศึกษาที่มีการเรียนในคณะศึกษาศาสตร์และครุศาสตร์ จำนวน 2,500 คน ซึ่งไม่เพียงพอต่อความต้องการของระบบการศึกษา การมีโครงการผลิตครู 5 ปี รุ่น 2 และ 3 เป็นการเพิ่มครูมิติใหม่ให้กับวงการศึกษาถึง 5,000 คน และจะค่อยๆ กระจายออกไปสู่ระบบการศึกษาในวงกว้างต่อไป
อย่างไรก็ตาม งบประมาณที่รัฐต้องจ่ายในการผลิตครูหลักสูตร 5 ปี รุ่นละ 1,000 ล้านบาทนั้น อยากเห็นสกอ. ดำเนินการคัดสรรสถาบันการศึกษาที่เอาจริงเอาจังในการผลิตครู มีการปรับตัวเอง ปรับวิธีการเรียนการสอน ปรับหลักสูตรเพื่อให้ครู 5 ปีเป็นครูมิติใหม่ขึ้นมา แต่เท่าที่รู้มานั้นบางสถาบันยังคงสอนแบบเดิม และหาก สกอ.จะให้ทุกสถาบันการศึกษาผลิต โดยไม่ดูความเข้มข้น เข้มแข็งและเอาจริงเอาจังของสถาบันการศึกษาเป็นหลัก เกรงว่าเราจะได้ครูแบบเดิม ที่ไม่ใช่ครูมิติใหม่หรือครูพันธุ์ใหม่อย่างที่ตั้งใจ
ศ.ดร.วิรุณ ตั้งเจริญ อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) กล่าวถึงกรณีที่คณะกรรมการบริหารโครงการผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับปริญญาตรี หลักสูตร 5 ปี เห็นชอบให้สานต่อการผลิตครูหลักสูตร 5 ปี รุ่นที่ 2 และ 3 ว่า โดยส่วนตัวแล้วสนับสนุนและเห็นด้วยอย่างยิ่ง เนื่องจากไม่อยากให้เรื่องนี้ถูกมองว่าเป็นผลงานของพรรคใดพรรคหนึ่ง แต่โครงการผลิตครูหลักสูตร 5 ปี ในกลุ่มที่รัฐบาลให้ทุนนั้น อยากให้รัฐบาลไม่ว่าจะเป็นชุดใดก็ตาม เมื่อเข้ามาบริหารประเทศควรจะสานต่อ และสนับสนุนอย่างจริงจัง เพราะอย่าลืมว่าปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นปัญหาศีลธรรรม ปัญหาสังคม เศรษฐกิจ การเมือง สิ่งแวดล้อมต่างๆ ล้วนต้องแก้ด้วยการศึกษาแทบทั้งสิ้น ซึ่งการจะแก้ไขปัญหาต่างๆ นั้นกลไกสำคัญคือการศึกษา กลไกลหลักอยู่ที่บุคลากรครู
“ที่ผ่านมาหากย้อนกลับไปประมาณ 20-30 ปีมาแล้ว เริ่มเกิดวิกฤติในวิชาชีพครูอย่างมาก จนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีรับสั่งเกี่ยวกับวิชาชีพครูว่า เริ่มเข้าสู่ยุคเสื่อม อยากเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการผลิตครูได้หันมาเอาจริงเอาจังในการผลิตครูได้แล้ว จากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทำให้ผมตระหนักในเรื่องนี้เสมอมา”
ศ.ดร.วิรุณ กล่าวอีกว่า ต้องชมสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ลุกขึ้นมาผลักดันครู 5 ปี รุ่นที่ 2 และ 3 เพื่อจะให้ทุนแก่นักเรียนที่มีความตั้งใจอยากเข้าสู่วิชาชีพครู ซึ่งครู 5 ปีที่ได้รับทุนการศึกษาในรุ่นที่ 1 ขณะนี้กำลังเข้าสู่การฝึกงาน รุ่นแรกกระจายอยู่ใน สถาบันการศึกษาที่มีการเรียนในคณะศึกษาศาสตร์และครุศาสตร์ จำนวน 2,500 คน ซึ่งไม่เพียงพอต่อความต้องการของระบบการศึกษา การมีโครงการผลิตครู 5 ปี รุ่น 2 และ 3 เป็นการเพิ่มครูมิติใหม่ให้กับวงการศึกษาถึง 5,000 คน และจะค่อยๆ กระจายออกไปสู่ระบบการศึกษาในวงกว้างต่อไป
อย่างไรก็ตาม งบประมาณที่รัฐต้องจ่ายในการผลิตครูหลักสูตร 5 ปี รุ่นละ 1,000 ล้านบาทนั้น อยากเห็นสกอ. ดำเนินการคัดสรรสถาบันการศึกษาที่เอาจริงเอาจังในการผลิตครู มีการปรับตัวเอง ปรับวิธีการเรียนการสอน ปรับหลักสูตรเพื่อให้ครู 5 ปีเป็นครูมิติใหม่ขึ้นมา แต่เท่าที่รู้มานั้นบางสถาบันยังคงสอนแบบเดิม และหาก สกอ.จะให้ทุกสถาบันการศึกษาผลิต โดยไม่ดูความเข้มข้น เข้มแข็งและเอาจริงเอาจังของสถาบันการศึกษาเป็นหลัก เกรงว่าเราจะได้ครูแบบเดิม ที่ไม่ใช่ครูมิติใหม่หรือครูพันธุ์ใหม่อย่างที่ตั้งใจ