คุรุสภา ครวญ งานเพิ่มหลังปรับหลักสูตรครู 5 ปี ต้องพิจารณาเนื้อหาหลักสูตร และลุยตรวจถึงสถาบัน พร้อมรับมีภาระออกใบประกอบวิชาชีพครู ซึ่งมีจ่อคิวสูงถึง 8.6 แสนคน
ศ.เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์ ประธานคณะกรรมการคุรุสภา กล่าวถึงการดำเนินการรับรองหลักสูตรและมาตรฐานการผลิตนักศึกษาคณะครุศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ของมหาวิทยาลัย ที่เปิดสอนในหลักสูตร 5 ปี ว่า คุรุสภากำลังประสบปัญหาอย่างหนัก หลังปรับหลักสูตรครู 5 ปี จากเดิมหน้าที่ในการรับรองหลักสูตรเป็นหน้าของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) แต่เมื่อมีการปรับเป็นหลักสูตร สกอ.ได้ปัดให้คุรุสภาทำหน้าที่รับรองหลักสูตร รวมถึงรับรองมาตรฐานการผลิตบัณฑิต ตั้งแต่ระดับปริญญาตรี จนถึงปริญญาเอก ดังนั้น คุรุสภาจึงมีหน้าที่รับรองผู้จบการศึกษาและออกใบประกอบวิชาชีพครู ซึ่งปัจจุบันนี้มีผู้ยื่นคำร้องขอใบประกอบวิชาชีพครูมากถึง 8.6 แสนคน นับว่าเป็นภาระที่หนักอยู่แล้ว
“หลักสูตรครู 5 ปี มหาวิทยาลัยหลายแห่งเปิดสอนมาตั้งแต่ปี 2547 ตอนนั้นคุรุสภายังไม่มีคณะอนุกรรมการที่ทำหน้าที่ในการตรวจสอบ เพิ่งจะมีการแต่งตั้งเมื่อปี 2549 ทำให้การตรวจสอบล่าช้าและทำได้น้อย เพราะการรับรองนอกจากจะดูเนื้อหาของหลักสูตร เจ้าหน้าที่ยังต้องดูถึงสถาบันการศึกษา ซึ่งขั้นตอนเหล่านี้ต้องใช้เวลาในการดำเนินนาน”
ทั้งนี้ ข้อมูล ณ วันที่ 11 ก.พ.พบว่า มีมหาวิทยาลัย 62 แห่ง เสนอหลักสูตรให้คุรุสภาพิจารณาและรับรอง 92 หลักสูตร แต่คุรุสภาสามารถรับรองได้เพียงบางหลักสูตร ได้แก่ ปริญญาครุศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต 2 สาขา คือ การศึกษาปฐมวัย และการศึกษาพิเศษ ปริญญาครุศาสตรบัณฑิต มรภ.สุราษฎร์ธานี 7 สาขา คือ การศึกษาปฐมวัย คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ วิทยาศาสตร์ ภาษาไทย สังคมศึกษา และศิลปกรรม ปริญญาครุศาสตรบัณฑิต มรภ.กำแพงเพชร คือ หลักสูตรภาษาจีน อย่างไรก็ตาม จนถึงบัดนี้ยังมีมหาวิทยาลัยหลายแห่งไม่เสนอหลักสูตรมาให้พิจารณา
ด้านนายบุญลือ ประเสริฐโสภา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังมอบนโยบายและติดตามการดำเนินงานของคณะกรรมการคุรุสภา ว่า คุรุสภาเป็นหน่วยงานสำคัญในการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตนได้เน้นย้ำการเสริมสร้างทักษะข้าราชการครูให้ตื่นตัวในเรื่องการเรียนการสอนอย่างมีคุณภาพ โดยเฉพาะการออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู แต่ละปีต้องใช้งบประมาณ 200 ล้านบาท เฉลี่ยคนละ 15-16 บาท หากต้องการให้รัฐบาลสนับสนุนงบประมาณ ต้องพิจารณาความจำเป็นอีกครั้ง เพราะงบมีอยู่อย่างจำกัด
ทั้งนี้ งบประมาณโดยรวมของ ศธ.ตกประมาณ 3 แสนล้านบาท งบประมาณส่วนใหญ่เป็นเงินเดือนประจำตำแหน่งของข้าราชการครู นายจักรพรรดิ วะทา เลขาธิการคุรุสภา กล่าวว่า ตามกฎหมายต้องเก็บค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูจำนวน 300 บาท หากรัฐบาลสนับสนุนงบให้ข้าราชการครูที่มีรายชื่อจะขอต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูปี 2552 ประมาณ 6.7 แสนคน จะช่วยแบ่งเบาภาระให้ข้าราชการครู ได้ ซึ่งตนจะนำเสนอเรื่องดังกล่าวกับ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รัฐมนตรีว่าการ ศธ.จากนั้นจะนำเสนอที่ประชุมคุรุสภาต่อไป
ศ.เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์ ประธานคณะกรรมการคุรุสภา กล่าวถึงการดำเนินการรับรองหลักสูตรและมาตรฐานการผลิตนักศึกษาคณะครุศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ของมหาวิทยาลัย ที่เปิดสอนในหลักสูตร 5 ปี ว่า คุรุสภากำลังประสบปัญหาอย่างหนัก หลังปรับหลักสูตรครู 5 ปี จากเดิมหน้าที่ในการรับรองหลักสูตรเป็นหน้าของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) แต่เมื่อมีการปรับเป็นหลักสูตร สกอ.ได้ปัดให้คุรุสภาทำหน้าที่รับรองหลักสูตร รวมถึงรับรองมาตรฐานการผลิตบัณฑิต ตั้งแต่ระดับปริญญาตรี จนถึงปริญญาเอก ดังนั้น คุรุสภาจึงมีหน้าที่รับรองผู้จบการศึกษาและออกใบประกอบวิชาชีพครู ซึ่งปัจจุบันนี้มีผู้ยื่นคำร้องขอใบประกอบวิชาชีพครูมากถึง 8.6 แสนคน นับว่าเป็นภาระที่หนักอยู่แล้ว
“หลักสูตรครู 5 ปี มหาวิทยาลัยหลายแห่งเปิดสอนมาตั้งแต่ปี 2547 ตอนนั้นคุรุสภายังไม่มีคณะอนุกรรมการที่ทำหน้าที่ในการตรวจสอบ เพิ่งจะมีการแต่งตั้งเมื่อปี 2549 ทำให้การตรวจสอบล่าช้าและทำได้น้อย เพราะการรับรองนอกจากจะดูเนื้อหาของหลักสูตร เจ้าหน้าที่ยังต้องดูถึงสถาบันการศึกษา ซึ่งขั้นตอนเหล่านี้ต้องใช้เวลาในการดำเนินนาน”
ทั้งนี้ ข้อมูล ณ วันที่ 11 ก.พ.พบว่า มีมหาวิทยาลัย 62 แห่ง เสนอหลักสูตรให้คุรุสภาพิจารณาและรับรอง 92 หลักสูตร แต่คุรุสภาสามารถรับรองได้เพียงบางหลักสูตร ได้แก่ ปริญญาครุศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต 2 สาขา คือ การศึกษาปฐมวัย และการศึกษาพิเศษ ปริญญาครุศาสตรบัณฑิต มรภ.สุราษฎร์ธานี 7 สาขา คือ การศึกษาปฐมวัย คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ วิทยาศาสตร์ ภาษาไทย สังคมศึกษา และศิลปกรรม ปริญญาครุศาสตรบัณฑิต มรภ.กำแพงเพชร คือ หลักสูตรภาษาจีน อย่างไรก็ตาม จนถึงบัดนี้ยังมีมหาวิทยาลัยหลายแห่งไม่เสนอหลักสูตรมาให้พิจารณา
ด้านนายบุญลือ ประเสริฐโสภา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังมอบนโยบายและติดตามการดำเนินงานของคณะกรรมการคุรุสภา ว่า คุรุสภาเป็นหน่วยงานสำคัญในการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตนได้เน้นย้ำการเสริมสร้างทักษะข้าราชการครูให้ตื่นตัวในเรื่องการเรียนการสอนอย่างมีคุณภาพ โดยเฉพาะการออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู แต่ละปีต้องใช้งบประมาณ 200 ล้านบาท เฉลี่ยคนละ 15-16 บาท หากต้องการให้รัฐบาลสนับสนุนงบประมาณ ต้องพิจารณาความจำเป็นอีกครั้ง เพราะงบมีอยู่อย่างจำกัด
ทั้งนี้ งบประมาณโดยรวมของ ศธ.ตกประมาณ 3 แสนล้านบาท งบประมาณส่วนใหญ่เป็นเงินเดือนประจำตำแหน่งของข้าราชการครู นายจักรพรรดิ วะทา เลขาธิการคุรุสภา กล่าวว่า ตามกฎหมายต้องเก็บค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูจำนวน 300 บาท หากรัฐบาลสนับสนุนงบให้ข้าราชการครูที่มีรายชื่อจะขอต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูปี 2552 ประมาณ 6.7 แสนคน จะช่วยแบ่งเบาภาระให้ข้าราชการครู ได้ ซึ่งตนจะนำเสนอเรื่องดังกล่าวกับ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รัฐมนตรีว่าการ ศธ.จากนั้นจะนำเสนอที่ประชุมคุรุสภาต่อไป