นายกสมาคม ร.ร.นานาชาติ แจงโรงเรียนนานาชาติ ไม่ได้ตกมาตรฐาน เพียงอยู่ระหว่างขอประเมิน พร้อมวอนรัฐบาลลดขั้นตอนการเชิญอาจารย์ต่างชาติมาสอน ให้ตรวจสอบหลักฐานจุดเดียวเสร็จ หนุนโรงเรียนดังเปิดอิงลิชโปรแกรม ย้ำภาษากระตุ้นเด็กไทยเฉลียวฉลาด
นางอุษา สมบูรณ์ นายกสมาคมโรงเรียนนานาชาติ กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีโรงเรียนนานาชาติทั้งสิ้น 110 แห่ง เปิดสอนระดับอนุบาล 30 แห่ง ระดับประถมศึกษาถึงมัธยมศึกษา 80 แห่ง ซึ่งมีโรงเรียนที่ได้รับการรับรองมาตรฐานทั้งสิ้น 37 แห่ง ในจำนวนนี้ไม่นับโรงเรียนที่เปิดสอนระดับอนุบาล ส่วนที่เหลือ 43 แห่ง อยู่ในขั้นตอนของการขอรับรองมาตรฐาน ซึ่งกระแสข่าวว่า โรงเรียนนานาชาติไม่ได้มาตรฐานนั้น เป็นการเข้าใจผิด การตั้งโรงเรียนแห่งหนึ่งจะให้เวลา 5 ปี เพื่อขอประเมินโรงเรียน และโรงเรียน 43 แห่งส่วนใหญ่เพิ่งเปิดสอนประมาณ 4-5 ปี และอยู่ระหว่างการประเมิน จึงไม่เรียกว่า ตกมาตรฐานแต่อย่างใด และยังเป็นที่นิยมของชาวต่างชาติที่มาทำงานในประเทศไทย ถึงร้อยละ 70 ที่เหลือเป็นลูกคนไทย ซึ่งต้องการปูพื้นฐานด้านภาษาเพื่อเติบโตจะส่งไปเรียนยังต่างประเทศ หรือเรียนอินเตอร์ในระดับมหาวิทยาลัย
“โรงเรียนนานาชาติบ้านเรา ส่วนใหญ่เป็นแฟรนไชส์ของสถาบันที่มีชื่อเสียงจากต่างประเทศ ดังนั้น หลักสูตรการเรียนการสอนจึงเหมือนของสถาบันแม่ทุกประการ ส่วนบุคลากรที่มาสอนจะคัดสรรอาจารย์ที่จบศึกษาศาสตร์ ครุศาสตร์จากต่างประเทศ เพราะฉะนั้น มั่นใจได้ว่าบุคลากรมีคุณภาพ และเด็กที่เรียนในโรงเรียนนานาชาติทุกคนสามารถไปศึกษาต่อยังต่างประเทศได้”
นางอุษา กล่าวถึงปัญหาด้านบุคลากรของโรงเรียนนานาชาติ ว่า โรงเรียนนานาชาติส่วนใหญ่จะเลือกอาจารย์ที่มีคุณภาพมาจากต่างประเทศ แต่ติดขัดกับระบบราชการที่มีขั้นตอนยุ่งยาก ซับซ้อน ต้องทำเรื่องไปยังกระทรวงการต่างประเทศ สำนักตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) และกระทรวงศึกษาธิการ แทนที่จะทำแบบวันสตอปเซอร์วิสทำที่เดียวเสร็จ เพราะบุคคลเหล่านี้เข้ามาอยู่เมืองไทย เพื่อถ่ายทอดความรู้ให้แก่เด็กๆ ซึ่งปัญหาไม่เคยมีรัฐบาลไหนเข้ามาแก้ปัญหาหรือช่วยทำให้เกิดความคล่องตัว จึงอยากฝากรัฐบาลช่วยดูแลด้วย
นางอุษา กล่าวด้วยว่า การเปิดสอนอิงลิชโปรแกรมของโรงเรียนยอดนิยม ไม่ได้ทำให้นักเรียนในโรงเรียนนานาชาติน้อยลง เนื่องจากคนละกลุ่มกัน พ่อแม่วางแผนส่งลูกเรียนเมืองนอกหากมีกำลังทรัพย์พอเขาจะส่งลูกมาเรียนนานาชาติ ส่วนอิงลิชโปรแกรม เด็กส่วนใหญ่เรียนจบแล้วจะไปศึกษาต่อมหาวิทยาลัยที่เปิดอินเตอร์ และตนคิดว่าเป็นเรื่องดีที่โรงเรียนที่มีความพร้อมหันมาเปิดอิงลิชโปรแกรมมากขึ้น เพราะเด็กที่ใช้ภาษาอังกฤษคล่องแคล่ว จะได้เปรียบเด็กที่ไม่รู้ภาษาอังกฤษ สามารถเข้าไปค้นข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ต เป็นการเปิดโลกกว้างกว่าห้องเรียน และหางานทำได้ง่ายกว่าคนที่ไม่รู้ภาษาอังกฤษ
นางอุษา สมบูรณ์ นายกสมาคมโรงเรียนนานาชาติ กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีโรงเรียนนานาชาติทั้งสิ้น 110 แห่ง เปิดสอนระดับอนุบาล 30 แห่ง ระดับประถมศึกษาถึงมัธยมศึกษา 80 แห่ง ซึ่งมีโรงเรียนที่ได้รับการรับรองมาตรฐานทั้งสิ้น 37 แห่ง ในจำนวนนี้ไม่นับโรงเรียนที่เปิดสอนระดับอนุบาล ส่วนที่เหลือ 43 แห่ง อยู่ในขั้นตอนของการขอรับรองมาตรฐาน ซึ่งกระแสข่าวว่า โรงเรียนนานาชาติไม่ได้มาตรฐานนั้น เป็นการเข้าใจผิด การตั้งโรงเรียนแห่งหนึ่งจะให้เวลา 5 ปี เพื่อขอประเมินโรงเรียน และโรงเรียน 43 แห่งส่วนใหญ่เพิ่งเปิดสอนประมาณ 4-5 ปี และอยู่ระหว่างการประเมิน จึงไม่เรียกว่า ตกมาตรฐานแต่อย่างใด และยังเป็นที่นิยมของชาวต่างชาติที่มาทำงานในประเทศไทย ถึงร้อยละ 70 ที่เหลือเป็นลูกคนไทย ซึ่งต้องการปูพื้นฐานด้านภาษาเพื่อเติบโตจะส่งไปเรียนยังต่างประเทศ หรือเรียนอินเตอร์ในระดับมหาวิทยาลัย
“โรงเรียนนานาชาติบ้านเรา ส่วนใหญ่เป็นแฟรนไชส์ของสถาบันที่มีชื่อเสียงจากต่างประเทศ ดังนั้น หลักสูตรการเรียนการสอนจึงเหมือนของสถาบันแม่ทุกประการ ส่วนบุคลากรที่มาสอนจะคัดสรรอาจารย์ที่จบศึกษาศาสตร์ ครุศาสตร์จากต่างประเทศ เพราะฉะนั้น มั่นใจได้ว่าบุคลากรมีคุณภาพ และเด็กที่เรียนในโรงเรียนนานาชาติทุกคนสามารถไปศึกษาต่อยังต่างประเทศได้”
นางอุษา กล่าวถึงปัญหาด้านบุคลากรของโรงเรียนนานาชาติ ว่า โรงเรียนนานาชาติส่วนใหญ่จะเลือกอาจารย์ที่มีคุณภาพมาจากต่างประเทศ แต่ติดขัดกับระบบราชการที่มีขั้นตอนยุ่งยาก ซับซ้อน ต้องทำเรื่องไปยังกระทรวงการต่างประเทศ สำนักตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) และกระทรวงศึกษาธิการ แทนที่จะทำแบบวันสตอปเซอร์วิสทำที่เดียวเสร็จ เพราะบุคคลเหล่านี้เข้ามาอยู่เมืองไทย เพื่อถ่ายทอดความรู้ให้แก่เด็กๆ ซึ่งปัญหาไม่เคยมีรัฐบาลไหนเข้ามาแก้ปัญหาหรือช่วยทำให้เกิดความคล่องตัว จึงอยากฝากรัฐบาลช่วยดูแลด้วย
นางอุษา กล่าวด้วยว่า การเปิดสอนอิงลิชโปรแกรมของโรงเรียนยอดนิยม ไม่ได้ทำให้นักเรียนในโรงเรียนนานาชาติน้อยลง เนื่องจากคนละกลุ่มกัน พ่อแม่วางแผนส่งลูกเรียนเมืองนอกหากมีกำลังทรัพย์พอเขาจะส่งลูกมาเรียนนานาชาติ ส่วนอิงลิชโปรแกรม เด็กส่วนใหญ่เรียนจบแล้วจะไปศึกษาต่อมหาวิทยาลัยที่เปิดอินเตอร์ และตนคิดว่าเป็นเรื่องดีที่โรงเรียนที่มีความพร้อมหันมาเปิดอิงลิชโปรแกรมมากขึ้น เพราะเด็กที่ใช้ภาษาอังกฤษคล่องแคล่ว จะได้เปรียบเด็กที่ไม่รู้ภาษาอังกฤษ สามารถเข้าไปค้นข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ต เป็นการเปิดโลกกว้างกว่าห้องเรียน และหางานทำได้ง่ายกว่าคนที่ไม่รู้ภาษาอังกฤษ