สุราษฎธานี - สุราษฎร์ฯ เพิ่งตื่นเตรียมจัดทำแผนจัดการน้ำเพื่อสุขภาวะ ภายหลังพบปัญหาน้ำเริ่มวิกฤตหนัก ไม่ว่าเกิดจากสารเคมีปนเปื้อน ยาปราบศัตรูพืชน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม และน้ำทิ้งจากชุมชน
นายแพทย์จรัสพงษ์ สุขกรี นักวิชาการเวชกรรมป้องกัน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุราษฎร์ธานี เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดเวทีสมัชชาสุขภาพ จัดทำแผนจัดการน้ำเพื่อสุขภาวะ โดยมีตัวแทนหน่วยงานภาคราชการ ประชาชน และนักวิชาการ 40 องค์กรว่า การจัดทำแผนจัดการน้ำเพื่อสุขภาวะ เพื่อร่วมระดมความคิดเห็น จัดทำเป็นวาระของท้องถิ่นและทำการขับเคลื่อน ตามบทบาทและภารกิจที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.สุขภาพ พ.ศ.2550 ต่อไป
ทั้งนี้ เนื่องจากจังหวัดสุราษฎร์ธานีกำลังได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำที่ใช้ในการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพของประชาชนเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ ทั้งชุมชนที่ตั้งอยู่บริเวณต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายแม่น้ำ รวมถึงคลองสาขา ที่ปนเปื้อนด้วยสารเคมี ยาปราบศัตรูพืชน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมและน้ำทิ้งจากชุมชนได้ก่อให้เกิดโรคระบาดทางเดินอาหารติดตามมา
นอกจากนี้ยังได้ส่งผลกระทบต่อวงจรชีวิตของสัตว์น้ำชายฝั่ง ในบริเวณอ่าวบ้านดอนบริเวณไหลสู่ทะเลด้านอ่าวไทยอีกด้วย
นายเหมวงศ์ ประกอบบุญ เกษตรจังหวัดสุราษฎร์ธานี กล่าวว่า ขณะนี้ได้เร่งดำเนินการ สร้างจิตสำนึกแก่ประชาชนโดยเฉพาะผู้ประกอบการตามโรงงานต่างๆ มิให้ปล่อยน้ำเสียงจากโรงงานลงสู่แม่น้ำลำคลองส่วนเกษตรกรต้องคำนึงถึงการใช้สารเคมีที่มีโอกาสไหลลงสู่แม่น้ำและลำคลองเพิ่มมากขึ้นทุกวัน ในขณะเดียวกันการเพิ่มพื้นที่การปลูกปาล์มน้ำมันจากเดิม 6 แสน ไร่ เป็น 8 แสนไร่ ในปัจจุบัน จะส่งผลกระทบต่อปริมาณน้ำการเกษตรและบริโภค ซึ่งจะทำให้แหล่งน้ำธรรมชาติที่มีอยู่เหือดแห้งลงอย่างรวดเร็ว เพราะปาล์มน้ำมันต้องการใช้น้ำจำนวน 200 ลิตร/ต้น/วัน
สำหรับการจัดทำแผนการจัดการน้ำเพื่อสุขภาวะของท้องถิ่นดังกล่าวนี้ สมัชชาสุขภาพจังหวัดสุราษฎร์ธานีจะเสนอเป็นนโยบายสาธารณะของจังหวัดสุราษฎร์ธานีเพื่อนำสู่การปฏิบัติ และขับเคลื่อนเพื่อรณรงค์ให้ประชาชนทุกภาคส่วนร่วมดำเนินการให้เป็นรูปธรรมต่อไป
นายแพทย์จรัสพงษ์ สุขกรี นักวิชาการเวชกรรมป้องกัน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุราษฎร์ธานี เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดเวทีสมัชชาสุขภาพ จัดทำแผนจัดการน้ำเพื่อสุขภาวะ โดยมีตัวแทนหน่วยงานภาคราชการ ประชาชน และนักวิชาการ 40 องค์กรว่า การจัดทำแผนจัดการน้ำเพื่อสุขภาวะ เพื่อร่วมระดมความคิดเห็น จัดทำเป็นวาระของท้องถิ่นและทำการขับเคลื่อน ตามบทบาทและภารกิจที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.สุขภาพ พ.ศ.2550 ต่อไป
ทั้งนี้ เนื่องจากจังหวัดสุราษฎร์ธานีกำลังได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำที่ใช้ในการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพของประชาชนเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ ทั้งชุมชนที่ตั้งอยู่บริเวณต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายแม่น้ำ รวมถึงคลองสาขา ที่ปนเปื้อนด้วยสารเคมี ยาปราบศัตรูพืชน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมและน้ำทิ้งจากชุมชนได้ก่อให้เกิดโรคระบาดทางเดินอาหารติดตามมา
นอกจากนี้ยังได้ส่งผลกระทบต่อวงจรชีวิตของสัตว์น้ำชายฝั่ง ในบริเวณอ่าวบ้านดอนบริเวณไหลสู่ทะเลด้านอ่าวไทยอีกด้วย
นายเหมวงศ์ ประกอบบุญ เกษตรจังหวัดสุราษฎร์ธานี กล่าวว่า ขณะนี้ได้เร่งดำเนินการ สร้างจิตสำนึกแก่ประชาชนโดยเฉพาะผู้ประกอบการตามโรงงานต่างๆ มิให้ปล่อยน้ำเสียงจากโรงงานลงสู่แม่น้ำลำคลองส่วนเกษตรกรต้องคำนึงถึงการใช้สารเคมีที่มีโอกาสไหลลงสู่แม่น้ำและลำคลองเพิ่มมากขึ้นทุกวัน ในขณะเดียวกันการเพิ่มพื้นที่การปลูกปาล์มน้ำมันจากเดิม 6 แสน ไร่ เป็น 8 แสนไร่ ในปัจจุบัน จะส่งผลกระทบต่อปริมาณน้ำการเกษตรและบริโภค ซึ่งจะทำให้แหล่งน้ำธรรมชาติที่มีอยู่เหือดแห้งลงอย่างรวดเร็ว เพราะปาล์มน้ำมันต้องการใช้น้ำจำนวน 200 ลิตร/ต้น/วัน
สำหรับการจัดทำแผนการจัดการน้ำเพื่อสุขภาวะของท้องถิ่นดังกล่าวนี้ สมัชชาสุขภาพจังหวัดสุราษฎร์ธานีจะเสนอเป็นนโยบายสาธารณะของจังหวัดสุราษฎร์ธานีเพื่อนำสู่การปฏิบัติ และขับเคลื่อนเพื่อรณรงค์ให้ประชาชนทุกภาคส่วนร่วมดำเนินการให้เป็นรูปธรรมต่อไป