พัทลุง – ชาวนา จ.พัทลุง ราคาข้าวตกได้รับความเดือดร้อนเนื่องจากต้นทุนสูง แต่ราคาข้าวลดลงฮวบทั้งที่ราคาข้าวต่างจังหวัดยังสูงอยู่ วอนจังหวัดเร่งเปิดโรงรับจำนำ
ผู้สื่อข่าวรายงานจากจังหวัดพัทลุงว่า ข้าวนาปรังที่กำลังเก็บเกี่ยวในพื้นที่จังหวัดพัทลุง ราคาตกลงอย่างฮวบงาบ เหลือเกวียนละ 8,300 บาท หลังจากที่ทางจังหวัดยังไม่เปิดจุดรับจำนำ ทำให้ โรงสีรับชื้อกดราคาให้ต่ำลงจนทำให้เกษตรกร ได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก เนื่องจากต้นทุนในการปลูกข้าวนาปรัง ค่าปุ๋ย ค่าเมล็ดพันธุ์แพง แต่กลับขายไม่ได้ตามราคาที่ทางรัฐบาลได้วางไว้ แม้แต่ราคาข้าวเปลือกในจังหวัดใกล้เคียง อย่างจังหวัดนครศรีธรรมราช สงขลา ราคาข้าวเปลือกอยู่ที่เกวียนละ 10,800 บาท
เกษตรกรรายหนึ่งกล่าวว่าต้นทุนในการปลูกข้าวรอบนี้มีราคาสูง ค่าปุ๋ย ค่าน้ำมัน รวมถึงค่าเมล็ดพันธุ์ มีราคาสูง ซึ่งชาวนาได้คาดหวังว่าหากผลผลิตออกสู่ตลาด จะขายได้ราคาตามที่รัฐบาลได้คุยไว้ แต่ผลสุดท้าย กลับไม่ได้ตามที่หวัง เนื่องจากขณะนี้ในจังหวัดพัทลุง ยังไม่เปิดจุดรับจำนำ ทำให้พ่อค้ากดราคาดังกล่าว
สำหรับพื้นที่ จ.พัทลุง มีพื้นที่ทำนา 289,241 ไร่ ในเกษตรกรจำนวน 40,221 ราย ผลผลิตข้าวอยู่ที่ 130,737 ตันต่อปี ซึ่งมีรายได้จากการผลิตข้าวเข้าจังหวัดกว่าปีล่ะ 900 ล้านบาทส่วนอำเภอที่ปลูกข้าวมาก 5 อันดับ ได้แก่ อำเภอเมืองพัทลุง 86,065 ไร่ ควนขนุน 67,236 ไร่ เขาชัยสน 40,708 ไร่ ปากพะยูน 31,938 ไร่ ป่าบอน 20,457 ไร่ และสำหรับพื้นที่นาปรัง ในรอบนี้ประมาณการทั่วทั่งจังหวัดผลผลิตออกมาไม่ต่ำกว่า 60,000 ตัน
นายสุวิทย์ หมั่นห้อง พาณิชย์จังหวัดพัทลุง เปิดเผยว่า คณะอนุกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติจังหวัดพัทลุง ได้เร่งรัดในการเปิดจุดรับจำนำข้าวนาปรัง ปี 2551 อย่างเต็มที่ ล่าสุดได้อนุมัติโรงสีเข้าร่วมแล้ว 1 โรง คือ โรงสีพัทลุงธัญญกิจ ซึ่งองค์การคลังสินค้าได้กำหนดตรวจสอบคุณสมบัติและทำสัญญาในวันที่ 11 กรกฎาคม คาดว่าจะเปิดจุดรับจำนำได้ไม่เกินกลางเดือน กรกฎาคม
ทั้งนี้ คณะอนุกรรมการฯ ได้กำหนดคุณภาพข้าวของจังหวัดพัทลุงคือ ข้าวพันธุ์ปทุมธานี 1 และสุพรรณบุรี 2 (33) เป็นข้าวชนิด 15% ราคารับจำนำตันละ 13,200 บาท ข้าวมาเลย์แดง เป็นข้าวชนิด 25% ราคารับจำนำตันละ 12,800 บาท ที่ความชื้น 15% หากความชื้นเกิน 15% จะมีการหักลดน้ำหนักตามส่วน
ขณะที่ นายสุรศักดิ์ สุวรรณวงศ์ เกษตรจังหวัดพัทลุง กล่าวเสริมว่า ได้กำชับให้
เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรประจำตำบลเร่งออกใบรับรองเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปรังแก่เกษตรกรจนถึงวันนี้มีเกษตรกรมาขอใบรับรองแล้ว 265 ราย ปริมาณข้าวที่จะจำนำ 2,000 ตัน คาดว่าเกษตรกรจะมาขอใบรับรองมากขึ้นเนื่องจากราคาข้าวในท้องตลาดเริ่มลดลง
ผู้สื่อข่าวรายงานจากจังหวัดพัทลุงว่า ข้าวนาปรังที่กำลังเก็บเกี่ยวในพื้นที่จังหวัดพัทลุง ราคาตกลงอย่างฮวบงาบ เหลือเกวียนละ 8,300 บาท หลังจากที่ทางจังหวัดยังไม่เปิดจุดรับจำนำ ทำให้ โรงสีรับชื้อกดราคาให้ต่ำลงจนทำให้เกษตรกร ได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก เนื่องจากต้นทุนในการปลูกข้าวนาปรัง ค่าปุ๋ย ค่าเมล็ดพันธุ์แพง แต่กลับขายไม่ได้ตามราคาที่ทางรัฐบาลได้วางไว้ แม้แต่ราคาข้าวเปลือกในจังหวัดใกล้เคียง อย่างจังหวัดนครศรีธรรมราช สงขลา ราคาข้าวเปลือกอยู่ที่เกวียนละ 10,800 บาท
เกษตรกรรายหนึ่งกล่าวว่าต้นทุนในการปลูกข้าวรอบนี้มีราคาสูง ค่าปุ๋ย ค่าน้ำมัน รวมถึงค่าเมล็ดพันธุ์ มีราคาสูง ซึ่งชาวนาได้คาดหวังว่าหากผลผลิตออกสู่ตลาด จะขายได้ราคาตามที่รัฐบาลได้คุยไว้ แต่ผลสุดท้าย กลับไม่ได้ตามที่หวัง เนื่องจากขณะนี้ในจังหวัดพัทลุง ยังไม่เปิดจุดรับจำนำ ทำให้พ่อค้ากดราคาดังกล่าว
สำหรับพื้นที่ จ.พัทลุง มีพื้นที่ทำนา 289,241 ไร่ ในเกษตรกรจำนวน 40,221 ราย ผลผลิตข้าวอยู่ที่ 130,737 ตันต่อปี ซึ่งมีรายได้จากการผลิตข้าวเข้าจังหวัดกว่าปีล่ะ 900 ล้านบาทส่วนอำเภอที่ปลูกข้าวมาก 5 อันดับ ได้แก่ อำเภอเมืองพัทลุง 86,065 ไร่ ควนขนุน 67,236 ไร่ เขาชัยสน 40,708 ไร่ ปากพะยูน 31,938 ไร่ ป่าบอน 20,457 ไร่ และสำหรับพื้นที่นาปรัง ในรอบนี้ประมาณการทั่วทั่งจังหวัดผลผลิตออกมาไม่ต่ำกว่า 60,000 ตัน
นายสุวิทย์ หมั่นห้อง พาณิชย์จังหวัดพัทลุง เปิดเผยว่า คณะอนุกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติจังหวัดพัทลุง ได้เร่งรัดในการเปิดจุดรับจำนำข้าวนาปรัง ปี 2551 อย่างเต็มที่ ล่าสุดได้อนุมัติโรงสีเข้าร่วมแล้ว 1 โรง คือ โรงสีพัทลุงธัญญกิจ ซึ่งองค์การคลังสินค้าได้กำหนดตรวจสอบคุณสมบัติและทำสัญญาในวันที่ 11 กรกฎาคม คาดว่าจะเปิดจุดรับจำนำได้ไม่เกินกลางเดือน กรกฎาคม
ทั้งนี้ คณะอนุกรรมการฯ ได้กำหนดคุณภาพข้าวของจังหวัดพัทลุงคือ ข้าวพันธุ์ปทุมธานี 1 และสุพรรณบุรี 2 (33) เป็นข้าวชนิด 15% ราคารับจำนำตันละ 13,200 บาท ข้าวมาเลย์แดง เป็นข้าวชนิด 25% ราคารับจำนำตันละ 12,800 บาท ที่ความชื้น 15% หากความชื้นเกิน 15% จะมีการหักลดน้ำหนักตามส่วน
ขณะที่ นายสุรศักดิ์ สุวรรณวงศ์ เกษตรจังหวัดพัทลุง กล่าวเสริมว่า ได้กำชับให้
เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรประจำตำบลเร่งออกใบรับรองเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปรังแก่เกษตรกรจนถึงวันนี้มีเกษตรกรมาขอใบรับรองแล้ว 265 ราย ปริมาณข้าวที่จะจำนำ 2,000 ตัน คาดว่าเกษตรกรจะมาขอใบรับรองมากขึ้นเนื่องจากราคาข้าวในท้องตลาดเริ่มลดลง