นราธิวาส – กรมสุขภาพจิตลงพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้อบรมผู้นำศาสนา ผู้นำชุมชุนเพื่อฟื้นฟูจิตใจเหยื่อการก่อความไม่สงบ หลังพบชาวบ้าน 42% ใน 4 จังหวัดชายแดนใต้จำภาพหลอนได้ติดตา
เมื่อเวลา 10.00 น.วันนี้ (17 มิ.ย.) ที่ห้องประชุมโสภาพิสัย โรงแรมตันหยง อ.เมือง จ.นราธิวาส นพ.มล.สมชาย จักรพันธุ์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาเครือข่ายการดูแลเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบด้านจิตใจ จากกรณีสถานการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและรุนแรงเป็นเวลากว่า 4 ปี
โครงการดังกล่าวในครั้งนี้จัดขึ้นโดยกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข โดยมีผู้นำศาสนา ผู้นำชุมชน ตลอดจนถึงองค์กรเอกชนที่ทำงานด้านการเยียวยา จำนวน 300 คน ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายเข้ารับการอบรม เพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพในการฟื้นฟูสภาพจิตใจของชาวบ้านในพื้นที่ และถือว่ากลุ่มผู้นำศาสนาและผู้นำชุมชนทุกคนเป็นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับผู้ได้รับผลกระทบในระดับรากหญ้ามากที่สุด
โดยจะได้นำความรู้ที่ได้จากการอบรมให้สามารถกลับไปคัดกรองและทำการประเมินสภาพจิตใจผู้ได้รับผลกระทบ เพื่อจะได้ทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเป็นรายๆ ไป รวมทั้งมีการขยายเครือข่ายในการดูแลเยียวยาเพื่อให้สามารถทำการช่วยเหลือฟื้นฟูจิตใจที่เครียดและย่ำแย่ของเหยื่อโจรใต้ได้ครอบคลุมทุกพื้นที่ อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลล่าสุดพบว่าในพื้นที่ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2547 เป็นต้นมา
จนกระทั่งถึงปัจจุบัน เกิดเหตุการณ์ความรุนแรงทั้งวางระเบิด ลอบทำร้ายผู้บริสุทธิ์ และสถานที่ราชการเสียหายมาแล้ว จำนวน 7,823 เหตุการณ์ ส่งผลทำให้มีหญิงหม้ายจากการสูญเสียสามีซึ่งเป็นผู้นำครอบครัว จำนวน 542 คน รวมทั้งเด็กกำพร้า จำนวน 1,059 คน โดย 42 เปอร์เซ็นต์ของยอดรวมเหยื่อโจรใต้ จะจดจำภาพเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นกับตนเองบ่อยครั้งจนกลายเป็นภาพหลอนติดตา ซึ่งต้องอาศัยระยะเวลาในการฟื้นฟูและบำบัดเพื่อให้สามารถกลับมาใช้ชีวิตเหมือนคนปรกติได้ในที่สุด
เมื่อเวลา 10.00 น.วันนี้ (17 มิ.ย.) ที่ห้องประชุมโสภาพิสัย โรงแรมตันหยง อ.เมือง จ.นราธิวาส นพ.มล.สมชาย จักรพันธุ์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาเครือข่ายการดูแลเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบด้านจิตใจ จากกรณีสถานการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและรุนแรงเป็นเวลากว่า 4 ปี
โครงการดังกล่าวในครั้งนี้จัดขึ้นโดยกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข โดยมีผู้นำศาสนา ผู้นำชุมชน ตลอดจนถึงองค์กรเอกชนที่ทำงานด้านการเยียวยา จำนวน 300 คน ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายเข้ารับการอบรม เพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพในการฟื้นฟูสภาพจิตใจของชาวบ้านในพื้นที่ และถือว่ากลุ่มผู้นำศาสนาและผู้นำชุมชนทุกคนเป็นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับผู้ได้รับผลกระทบในระดับรากหญ้ามากที่สุด
โดยจะได้นำความรู้ที่ได้จากการอบรมให้สามารถกลับไปคัดกรองและทำการประเมินสภาพจิตใจผู้ได้รับผลกระทบ เพื่อจะได้ทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเป็นรายๆ ไป รวมทั้งมีการขยายเครือข่ายในการดูแลเยียวยาเพื่อให้สามารถทำการช่วยเหลือฟื้นฟูจิตใจที่เครียดและย่ำแย่ของเหยื่อโจรใต้ได้ครอบคลุมทุกพื้นที่ อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลล่าสุดพบว่าในพื้นที่ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2547 เป็นต้นมา
จนกระทั่งถึงปัจจุบัน เกิดเหตุการณ์ความรุนแรงทั้งวางระเบิด ลอบทำร้ายผู้บริสุทธิ์ และสถานที่ราชการเสียหายมาแล้ว จำนวน 7,823 เหตุการณ์ ส่งผลทำให้มีหญิงหม้ายจากการสูญเสียสามีซึ่งเป็นผู้นำครอบครัว จำนวน 542 คน รวมทั้งเด็กกำพร้า จำนวน 1,059 คน โดย 42 เปอร์เซ็นต์ของยอดรวมเหยื่อโจรใต้ จะจดจำภาพเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นกับตนเองบ่อยครั้งจนกลายเป็นภาพหลอนติดตา ซึ่งต้องอาศัยระยะเวลาในการฟื้นฟูและบำบัดเพื่อให้สามารถกลับมาใช้ชีวิตเหมือนคนปรกติได้ในที่สุด