xs
xsm
sm
md
lg

โรค “คอบวม” ระบาด “วัว-ควาย” ในนราฯล้มตายจำนวนมาก-สสจ.เตือน ปชช.ระวัง

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


นราธิวาส – สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนราธิวาส เตือนประชาชนให้ระมัดระวังติดโรคคอบวม หลังพบในโค-กระบือ ล้มตายเป็นจำนวนมาก จากโรคระบาดในพื้นที่

นายศิริชัย ลีวรรณนภาใส นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนราธิวาส เปิดเผยว่า จากการที่มีการระบาดของโรคคอบวมทำให้โค-กระบือ ป่วย และล้มตายเป็นจำนวนมากในพื้นที่ตำบลปูโย๊ะ และตำบลมูโน๊ะ อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส สถานการณ์ดังกล่าวอาจทำให้พี่น้องประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ดังกล่าวและบริเวณใกล้เคียงเกิดความวิตกกังวลได้ โรคคอบวมเป็นโรคระบาดในโค-กระบือ เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง การระบาดของโรคนี้จะเกิดขึ้นในสภาวะที่สัตว์เกิดความเครียด เช่น ต้นหรือปลายฤดูฝน การเคลื่อนย้ายสัตว์หรือการใช้แรงงานสัตว์มากเกินไป

ในสภาวะความเครียดเช่นนี้สัตว์ที่เป็นตัวเก็บเชื้อจะปล่อยเชื้อออกมาปนเปื้อนกับอาหารและน้ำ เมื่อสัตว์ตัวอื่นกินอาหารหรือน้ำที่มีเชื้อปนอยู่เข้าไป ก็จะป่วยเป็นโรคนี้ และขับเชื้อออกมากับสิ่งขับถ่ายต่างๆ เช่น น้ำมูก น้ำลาย อุจจาระ ทำให้โรคแพร่ระบาดต่อไป ซึ่งเชื้อตัวนี้เมื่อปนเปื้อนอยู่ในแปลงหญ้าจะมีชีวิตอยู่ได้ประมาณ 24 ชั่วโมง ถ้าอยู่ในดินที่ชื้นแฉะอาจมีชีวิตอยู่ได้นานถึง 1 เดือน

เมื่อสัตว์ได้รับเชื้อจะมีไข้สูงอย่างรวดเร็ว หายใจหอบ น้ำลายฟูมปาก หยุดกินและเคี้ยวเอื้อง ท้องผูกในระยะแรกแล้วต่อมาท้องร่วง อาการที่พบทั่วไปได้แก่ คอบวมร้อนและแสดงอาการเจ็บปวด หายใจดัง การบวมอาจลามลงไปถึงใต้คาง แก้ม คอส่วนล่างจนถึงไหล่และขาหน้า กลืนอาหารลำบาก ลิ้นห้อยจุกปาก เยื่อเมือกของปากแดงจัด น้ำลาย น้ำตาและน้ำมูกไหล สัตว์อาจจะตายเนื่องจากหายใจไม่สะดวกภายใน 6 ชั่วโมง – 2 วัน นอกจากนี้ บางรายอาจจะมีอาการเสียดท้อง ท้องเดิน และไอด้วย ซึ่งขณะนี้ทางอำเภอและจังหวัดได้ดำเนินการควบคุมป้องกัน รวมทั้งทำลายสัตว์และจำกัดการระบาดแล้ว

นายแพทย์ศิริชัย กล่าวต่อา โรคนี้มีโอกาสติดต่อมาสู่คนโดยทางบาดแผล การสัมผัสกับสารคัดหลั่งของสัตว์ที่มีเชื้อ หรือทางลมหายใจ หรือการรับประทานเข้าไปก็ได้ ดังนั้น จึงขอให้พี่น้องประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงหรือบริเวณใกล้เคียงป้องกันการติดต่อโดยห้ามนำสัตว์ที่ป่วยตายมารับประทาน หากต้องสัมผัสกับสัตว์ควรสวมถุงมือ รองเท้าบูต หน้ากากปิดปากและจมูกเพื่อป้องกันสารคัดหลั่งกระเด็น ควรดื่มน้ำต้มสุก ล้างมือก่อนรับประทานอาหารและหลังทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสัตว์ทุกครั้ง
 
นอกจากนี้ ต้องใส่คลอรีนเพื่อฆ่าเชื้อโรคในน้ำที่ใช้อุปโภคและบริโภค เช่น บ่อน้ำ หรือ โอ่งน้ำ โดยสามารถติดต่อขอรับคลอรีนได้ที่สถานีอนามัยและโรงพยาบาลใกล้บ้าน

สำหรับผู้ที่มีอาชีพรับจ้างชำแหละหรือขายเนื้อสัตว์ หรือมีประวัติสัมผัสกับสัตว์ต้องคอยสังเกตอาการของตนเองหรือญาติพี่น้องอย่างใกล้ชิด หากมีอาการไข้ ไอ ปวดศีรษะ ปัสสาวะน้อย เหนื่อยหอบ ซึม ปวดตามตัวมาก ให้รีบไปพบแพทย์ทันที เพราะอาจมีอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ หากไม่ได้รับการรักษาอย่าง

กำลังโหลดความคิดเห็น