ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - รอบเดือนเมษายน ที่ผ่านมา เกิดเหตุความไม่สงบขึ้นทั้งหมด 50 ครั้ง ขณะที่ยอดเหยื่อสถานการณ์มีทั้งหมด 45 ราย เสียชีวิต 17 ราย รวม 5 ปีไฟใต้ดับแล้ว 3,022 ศพ
สถานบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย สรุปสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และ 4 อำเภอของ จ.สงขลา คือ จะนะ เทพา นาทวี สะบ้าย้อย ในรอบเดือนเมษายนที่ผ่านมา มีเหตุการณ์เกิดขึ้นทั้งหมด 50 ครั้ง ขณะที่ยอดเหยื่อสถานการณ์มีทั้งหมด 45 ราย เสียชีวิต 17 ราย ในจำนวนผู้เสียชีวิตมีผู้ก่อความไม่สงบรวมอยู่ด้วย 4 ราย ส่วนผู้บาดเจ็บ 28 ราย ในขณะที่ยอดรวมผู้เสียชีวิตทั้งหมดนับจากเหตุการณ์ปล้นปืนเมื่อปี 2547 ขยับมาอยู่ที่ 3,022 ราย
โดยที่ จ.ปัตตานี มีเหยื่อความรุนแรงจากสถานการณ์ความไม่สงบ จำนวน 20 ราย มีเจ้าหน้าที่รัฐ บาดเจ็บ 13 ราย ประชาชน เสียชีวิต 4 ราย บาดเจ็บ 3 ราย จ.ยะลา เหยื่อความรุนแรงจากสถานการณ์ความไม่สงบ จำนวน 10 ราย มีเจ้าหน้าที่รัฐ บาดเจ็บ 3 ราย ประชาชน เสียชีวิต 3 ราย บาดเจ็บ 1 ราย
ผู้ก่อความไม่สงบเสียชีวิต 3 ราย จ.นราธิวาส เหยื่อความรุนแรงจากสถานการณ์ความไม่สงบ จำนวน 13 รายเจ้าหน้าที่รัฐ บาดเจ็บ 1 ราย ประชาชนเสียชีวิต 4 รายบาดเจ็บ 7 ราย ผู้ก่อความไม่สงบ เสียชีวิต 1 ราย จ.สงขลา เหยื่อความรุนแรงจากสถานการณ์ความไม่สงบ จำนวน 2 ราย ประชาชน เสียชีวิต 2 ราย
สำหรับพื้นที่ที่เกิดเหตุมากที่สุด คือ จ.นราธิวาส 22 เหตุการณ์ จ.ปัตตานี 16 เหตุการณ์ จ.ยะลา 10 เหตุการณ์ จ.สงขลา 2 เหตุการณ์ หากแบ่งตามลักษณะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและพื้นที่เกิดเหตุได้ดังนี้ เหตุการณ์ลอบยิงรายวัน เกิดขึ้นทั้งหมด จำนวน 29 เหตุการณ์แยกเป็นพื้นที่ จ.ปัตตานี 10 เหตุการณ์ จ.ยะลา 6 เหตุการณ์ จ.นราธิวาส 11 เหตุการณ์ จ.สงขลา 2 เหตุการณ์
เหตุลอบวางเพลิงเกิดขึ้นทั้งหมด 2 เหตุการณ์ จ.ปัตตานี 2 เหตุการณ์ เหตุลอบวางระเบิด เกิดขึ้นทั้งหมด จำนวน 17 เหตุการณ์ จ.ปัตตานี 4 เหตุการณ์ จ.ยะลา 3 เหตุการณ์ จ.นราธิวาส 10 เหตุการณ์ เหตุโปรยตะปูเรือใบ เกิดขึ้นทั้งหมดจำนวน 2 เหตุการณ์ จ.นราธิวาส 1 เหตุการณ์ จ.ยะลา 1 เหตุการณ์
สถานบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย สรุปสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และ 4 อำเภอของ จ.สงขลา คือ จะนะ เทพา นาทวี สะบ้าย้อย ในรอบเดือนเมษายนที่ผ่านมา มีเหตุการณ์เกิดขึ้นทั้งหมด 50 ครั้ง ขณะที่ยอดเหยื่อสถานการณ์มีทั้งหมด 45 ราย เสียชีวิต 17 ราย ในจำนวนผู้เสียชีวิตมีผู้ก่อความไม่สงบรวมอยู่ด้วย 4 ราย ส่วนผู้บาดเจ็บ 28 ราย ในขณะที่ยอดรวมผู้เสียชีวิตทั้งหมดนับจากเหตุการณ์ปล้นปืนเมื่อปี 2547 ขยับมาอยู่ที่ 3,022 ราย
โดยที่ จ.ปัตตานี มีเหยื่อความรุนแรงจากสถานการณ์ความไม่สงบ จำนวน 20 ราย มีเจ้าหน้าที่รัฐ บาดเจ็บ 13 ราย ประชาชน เสียชีวิต 4 ราย บาดเจ็บ 3 ราย จ.ยะลา เหยื่อความรุนแรงจากสถานการณ์ความไม่สงบ จำนวน 10 ราย มีเจ้าหน้าที่รัฐ บาดเจ็บ 3 ราย ประชาชน เสียชีวิต 3 ราย บาดเจ็บ 1 ราย
ผู้ก่อความไม่สงบเสียชีวิต 3 ราย จ.นราธิวาส เหยื่อความรุนแรงจากสถานการณ์ความไม่สงบ จำนวน 13 รายเจ้าหน้าที่รัฐ บาดเจ็บ 1 ราย ประชาชนเสียชีวิต 4 รายบาดเจ็บ 7 ราย ผู้ก่อความไม่สงบ เสียชีวิต 1 ราย จ.สงขลา เหยื่อความรุนแรงจากสถานการณ์ความไม่สงบ จำนวน 2 ราย ประชาชน เสียชีวิต 2 ราย
สำหรับพื้นที่ที่เกิดเหตุมากที่สุด คือ จ.นราธิวาส 22 เหตุการณ์ จ.ปัตตานี 16 เหตุการณ์ จ.ยะลา 10 เหตุการณ์ จ.สงขลา 2 เหตุการณ์ หากแบ่งตามลักษณะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและพื้นที่เกิดเหตุได้ดังนี้ เหตุการณ์ลอบยิงรายวัน เกิดขึ้นทั้งหมด จำนวน 29 เหตุการณ์แยกเป็นพื้นที่ จ.ปัตตานี 10 เหตุการณ์ จ.ยะลา 6 เหตุการณ์ จ.นราธิวาส 11 เหตุการณ์ จ.สงขลา 2 เหตุการณ์
เหตุลอบวางเพลิงเกิดขึ้นทั้งหมด 2 เหตุการณ์ จ.ปัตตานี 2 เหตุการณ์ เหตุลอบวางระเบิด เกิดขึ้นทั้งหมด จำนวน 17 เหตุการณ์ จ.ปัตตานี 4 เหตุการณ์ จ.ยะลา 3 เหตุการณ์ จ.นราธิวาส 10 เหตุการณ์ เหตุโปรยตะปูเรือใบ เกิดขึ้นทั้งหมดจำนวน 2 เหตุการณ์ จ.นราธิวาส 1 เหตุการณ์ จ.ยะลา 1 เหตุการณ์