ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - สถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย สรุปเหตุความไม่สงบในพื้นที่3 จังหวัดชายแดนภาคใต้และ 4 อำเภอชายแดนสงขลา เผย 5 ปีไฟใต้ ยอดคนตายเกือบ 3,000 คน เฉลี่ยเดือนละ 72 ศพ
ศูนย์ข่าวอิสรา สถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย สรุปเหตุความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 4 อำเภอชายแดนสงขลา ที่เกิดขึ้นในช่วงวันที่ 1-15 กุมภาพันธ์ มีเหตุการณ์เกิดขึ้น 43 เหตุการณ์ มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บรวม 64 ราย โดยเสียชีวิต 25 ราย บาดเจ็บ 39 ราย แยกตามพื้นที่ในระดับอำเภอและจังหวัดได้ดังนี้
จังหวัดปัตตานี 17 เหตุการณ์ เกิดขึ้นในพื้นที่ อ.สายบุรี 4 เหตุการณ์ อ.ยะรัง และ อ.ไม้แก่น อำเภอละ 3 เหตุการณ์ อ.เมือง อ.โคกโพธิ์ อ.ยะหริ่ง อ.มายอ อ.หนองจิก อ.ปะนาเระ และ อ.ทุ่งยางแดงอำเภอละ 1 เหตุการณ์
จังหวัดยะลา 18 เหตุการณ์เกิดขึ้นในพื้นที่อ.รามัน 9 เหตุการณ์ ธารโต 3 เหตุการณ์ อ.เมือง อ.บันนังสตา และ อ.กรงปินัง อำเภอละ 2 เหตุการณ์
จังหวัดนราธิวาส 8 เหตุการณ์ เกิดขึ้นในพื้นที่ อ.ระแงะ และ อ.สุไหงโก-ลก อำเภอละ 3 เหตุการณ์ อ.รือเสาะ 2 เหตุการณ์
หากแบ่งตามลักษณะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและพื้นที่เกิดเหตุได้ดังนี้
เหตุการณ์ลอบยิงรายวันเกิดขึ้นทั้งหมดจำนวน 34 เหตุการณ์ แยกเป็นพื้นที่จังหวัดปัตตานี 13 จังหวัดยะลา 13 เหตุการณ์ จังหวัดนราธิวาส 8 เหตุการณ์
เหตุลอบวางเพลิง เกิดขึ้นทั้งหมดจำนวน 1 เหตุการณ์ แยกเป็นพื้นที่จังหวัดปัตตานี 1 เหตุการณ์ เหตุลอบวางระเบิดเกิดขึ้นทั้งหมด 8 เหตุการณ์ จังหวัดปัตตานี 3 เหตุการณ์ จังหวัดยะลา 5 เหตุการณ์
ด้านเหยื่อความรุนแรง แยกตามจังหวัดกลุ่มได้ดังนี้ จ.ปัตตานี จำนวน 30 ราย มีเจ้าหน้าที่รัฐ เสียชีวิต 1 ราย บาดเจ็บ 9 ราย ประชาชน เสียชีวิต 7ราย บาดเจ็บ 12 ราย ผู้ก่อความไม่สงบ เสียชีวิต1 ราย จ.ยะลา 24 ราย มีเจ้าหน้าที่รัฐ บาดเจ็บ 10 รายประชาชน เสียชีวิต 9 ราย บาดเจ็บ 5ราย จงนราธิวาส 10 ราย ประชาชนเสียชีวิต 7 รายบาดเจ็บ 2 ราย ผู้ก่อความไม่สงบ บาดเจ็บ 1 ราย
อย่างไรก็ตาม นับตั้งแต่เกิดเหตุความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ตั้งวันที่ 4 ม.47 จนถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2551 ซึ่งย่างเข้าปีที่ 5 ยอดผู้เสียชีวิตขยับมาอยู่ที่ 2,941 คน โดยเฉพาะยอดเฉลี่ยผู้เสียชีวิตในปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 72 ศพ ต่อ 1 เดือน หรือ 36 ศพต่อ 15 วัน
ศูนย์ข่าวอิสรา สถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย สรุปเหตุความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 4 อำเภอชายแดนสงขลา ที่เกิดขึ้นในช่วงวันที่ 1-15 กุมภาพันธ์ มีเหตุการณ์เกิดขึ้น 43 เหตุการณ์ มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บรวม 64 ราย โดยเสียชีวิต 25 ราย บาดเจ็บ 39 ราย แยกตามพื้นที่ในระดับอำเภอและจังหวัดได้ดังนี้
จังหวัดปัตตานี 17 เหตุการณ์ เกิดขึ้นในพื้นที่ อ.สายบุรี 4 เหตุการณ์ อ.ยะรัง และ อ.ไม้แก่น อำเภอละ 3 เหตุการณ์ อ.เมือง อ.โคกโพธิ์ อ.ยะหริ่ง อ.มายอ อ.หนองจิก อ.ปะนาเระ และ อ.ทุ่งยางแดงอำเภอละ 1 เหตุการณ์
จังหวัดยะลา 18 เหตุการณ์เกิดขึ้นในพื้นที่อ.รามัน 9 เหตุการณ์ ธารโต 3 เหตุการณ์ อ.เมือง อ.บันนังสตา และ อ.กรงปินัง อำเภอละ 2 เหตุการณ์
จังหวัดนราธิวาส 8 เหตุการณ์ เกิดขึ้นในพื้นที่ อ.ระแงะ และ อ.สุไหงโก-ลก อำเภอละ 3 เหตุการณ์ อ.รือเสาะ 2 เหตุการณ์
หากแบ่งตามลักษณะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและพื้นที่เกิดเหตุได้ดังนี้
เหตุการณ์ลอบยิงรายวันเกิดขึ้นทั้งหมดจำนวน 34 เหตุการณ์ แยกเป็นพื้นที่จังหวัดปัตตานี 13 จังหวัดยะลา 13 เหตุการณ์ จังหวัดนราธิวาส 8 เหตุการณ์
เหตุลอบวางเพลิง เกิดขึ้นทั้งหมดจำนวน 1 เหตุการณ์ แยกเป็นพื้นที่จังหวัดปัตตานี 1 เหตุการณ์ เหตุลอบวางระเบิดเกิดขึ้นทั้งหมด 8 เหตุการณ์ จังหวัดปัตตานี 3 เหตุการณ์ จังหวัดยะลา 5 เหตุการณ์
ด้านเหยื่อความรุนแรง แยกตามจังหวัดกลุ่มได้ดังนี้ จ.ปัตตานี จำนวน 30 ราย มีเจ้าหน้าที่รัฐ เสียชีวิต 1 ราย บาดเจ็บ 9 ราย ประชาชน เสียชีวิต 7ราย บาดเจ็บ 12 ราย ผู้ก่อความไม่สงบ เสียชีวิต1 ราย จ.ยะลา 24 ราย มีเจ้าหน้าที่รัฐ บาดเจ็บ 10 รายประชาชน เสียชีวิต 9 ราย บาดเจ็บ 5ราย จงนราธิวาส 10 ราย ประชาชนเสียชีวิต 7 รายบาดเจ็บ 2 ราย ผู้ก่อความไม่สงบ บาดเจ็บ 1 ราย
อย่างไรก็ตาม นับตั้งแต่เกิดเหตุความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ตั้งวันที่ 4 ม.47 จนถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2551 ซึ่งย่างเข้าปีที่ 5 ยอดผู้เสียชีวิตขยับมาอยู่ที่ 2,941 คน โดยเฉพาะยอดเฉลี่ยผู้เสียชีวิตในปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 72 ศพ ต่อ 1 เดือน หรือ 36 ศพต่อ 15 วัน