ศูนย์ข่าวภูเก็ต - การประปาส่วนภูมิภาคเร่งแก้ปัญหาข้อกฎหมายให้โรงงานผลิตน้ำทะเลเป็นน้ำประปาที่ภูเก็ต หลังติดขัดกฎหมายเพียบ ทั้งกฎระเบียบมหาดไทย มาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ยกเว้นสร้างในที่สูงเกิน 80 เมตร ขณะที่โรงงานเดินหน้าผลิตน้ำประปาตลอดวันละ 7,000-12,000 คิวต่อวัน แจกจ่ายไปยังพื้นที่หาดกะตะ กะรน และป่าตอง
ตามที่ จ.ภูเก็ต ได้ประสบปัญหาภัยแล้งเมื่อปี 2548 รัฐบาลจึงมีนโยบายให้แก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน โดยให้การประปาส่วนภูมิภาคจัดหาแหล่งน้ำเพิ่มเติมตามแนวทางการแก้ไขปัญหาระยะกลาง คือ มอบหมายให้บริษัท อาร์ อี คิว วอเตอร์ เซอร์วิสเซส จำกัด ผลิตน้ำประปาเพิ่มให้กับการประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) โดยแบ่งเป็นระบบประปาผิวดิน 6,000 ลบ.ม./วันและระบบผลิตน้ำประปาจากน้ำทะเล (RO) 12,000 ลบ.ม./วัน
ปัจจุบัน บริษัทฯได้ดำเนินการก่อสร้างระบบผลิตน้ำประปาทั้ง 2 ระบบแล้วเสร็จ และส่งมอบน้ำประปาให้กับ กปภ.ตั้งแต่วันที่ 29 ธันวาคม 2549 เป็นต้นมา
ทั้งนี้ บริษัทฯ แบ่งการผลิตน้ำประปาจากน้ำทะเลเป็น 5 บริเวณ และมีข้อติดขัดที่เกี่ยวข้องกับข้อกฎหมาย 3 กระทรวงคือ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ ห้ามก่อสร้างโรงงานที่มีปริมาณน้ำทิ้งเกิน 1,000 ลบ.ม./วัน ระเบียบกระทรวงมหาดไทย เรื่องของการเป็นที่ดินประเภทที่โล่งเพื่อนันทนาการและการรักษาคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมห้ามใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อสร้างโรงงาน และระเบียบกระทรวงคมนาคม ต้องขออนุญาตวางท่อในทะเลตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 63 ออกตามความในพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ.2456 และมีข้อติดขัดข้อกฎหมายในเรื่องของบริเวณก่อสร้าง
ประกอบด้วย บริเวณก่อสร้างที่ 1 ที่ดินวางท่อสูบน้ำทะเล อยู่บนที่ดินสาธารณะของกรมที่ดินใช้เนื้อที่ประมาณ 20 ตารางวา บริเวณก่อสร้างที่ 2 คือ ที่ดินวางท่อระบายน้ำทะเลอยู่บนที่ดินสาธารณะของกรมที่ดินใช้เนื้อที่ประมาณ 88 ตารางวา บริเวณก่อสร้างที่ 3 คือที่ตั้งอาคารสูบน้ำทะเลอยู่บนที่ดินสาธารณะของกรมที่ดินใช้เนื้อที่ประมาณ 22 ตารางวา ขนาดของอาคารมีพื้นที่ประมาณ 72 ตารางเมตร สูงจากพื้นดิน 3 เมตร
บริเวณก่อสร้างที่ 4 ตั้งโรงผลิตน้ำประปาจากน้ำทะเล อยู่บนที่ดิน ส.ป.ก. ใช้เนื้อที่ประมาณ 400 ตารางวา อาคารมีขนาดพื้นที่รวม 365 ตารางเมตร สูงจากพื้นดิน 11.95 เมตร และบริเวณก่อสร้างที่ 5 ที่ตั้งถึงจ่ายน้ำประปาอยู่บนที่ดิน ส.ป.ก. ใช้เนื้อที่ประมาณ 400 ตารางวา อาคารมีขนาดพื้นที่รวม 580 ตารางเมตร สูงจากพื้นดิน 5 เมตร
นอกจากนี้ ในส่วนของกิจกรรมการดำเนินการของโครงการยังติดขัดกฎหมายต่าง ๆ อาทิ ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ห้ามกระทำหรือประกอบกิจกรรมการปล่อยทิ้งมลพิษลงสู่แหล่งน้ำหรือทะเล เว้นแต่เป็นกรณีที่ได้ผ่านการบำบัดตามมาตรฐานของทางราชการแล้ว และประกาศกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมและประกาศกรมเจ้าท่าเรื่องกำหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้ง
จากปัญหาดังกล่าวเมื่อเร็วๆ นี้ นายนิรันดร์ จงวุฒิเวศย์ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย ในฐานะประธานคณะทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาโครงการผลิตน้ำประปาจากน้ำทะเลเกาะภูเก็ต ได้หารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในจังหวัดภูเก็ต ประกอบด้วย นายสมิทธิ์ ปาลวัฒน์วิไชย รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต นายสายัณห์ วารีอรุณโรจน์ ผู้จัดการประปาส่วนภูมิภาคจังหวัดภูเก็ต พร้อมคณะทำงาน ส่วนราชการและตัวแทนบริษัทอาร์ อี คิว วอเตอร์ เซอร์วิสเซส จำกัด เพื่อหาแนวทางแก้ไขโครงการผลิตน้ำประปาจากน้ำทะเล นำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีในการแก้ไขปัญหาต่อไป
เดินหน้าผลิตวันละ 12,000 ลบ.ม.
ขณะที่นายจาตุรงค์ สะดวกการ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท อาร์.คิว.วอเตอร์ เซอร์วิสเซส จำกัด กล่าวว่า จากการที่นายนิรันดร์ จงวุฒิเวศย์ ได้มาหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเมื่อเร็วๆนี้ ปัญหาเกี่ยวกับข้อกฎหมายทั้งหมดของกระทรวงต่างๆที่เกี่ยวข้องนั้นไม่ว่าจะเป็นระเบียบผังเมือง กระทรวงมหาดไทย กระทรวงคมนาคม นั้นสามารถที่จะแก้ไขปัญหาได้ทั้งหมด
ยกเว้นในส่วนของมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในประเด็นห้ามก่อสร้างในพื้นที่สูงเกิน 80 เมตร ซึ่งในส่วนของโรงงานผลิตน้ำนั้นไม่เกิน 80 เมตร แต่ที่สูงเกิน 80 เมตรคือในส่วนของแท็งค์เก็บน้ำ ซึ่งเรื่องนี้ที่ประชุมได้หาแนวทางโดยการนำเสนอเรื่องดังกล่าวไม่ยังคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ที่จะนำเสนอขอยกเว้นไปยังคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป
อย่างไรก็ตาม การผลิตน้ำทะเลเป็นน้ำประปานั้นสามารถผลิตได้ตั้งแต่โรงงานก่อสร้างแล้วเสร็จตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคม 2549 ที่ผ่านมา เนื่องจากทางจังหวัดภูเก็ตและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอลุ่มอล่วยให้เนื่องเป็นโครงการที่แก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำของจังหวัดภูเก็ต
โดยเฉพาะในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของภูเก็ต ทั้งหาดกะตะ กะรน และหาดป่าตอง เป็นต้น ซึ่งหลังจากที่บริษัทฯผลิตน้ำทะเลเป็นน้ำประปาได้แล้วนั้นทำให้การขาดแคลนน้ำประปาในพื้นที่ดังกล่าวลดน้อยลง และจากการสอบถามไปยังผู้ใช้น้ำในพื้นที่ที่น้ำไม่เคยไหลก็มีน้ำประปาไหลแล้วแต่จะเพียงพอหรือไม่นั้นยังไม่สามารถรับรองได้ เพราะยังเห็นมีรถบรรทุกน้ำวิ่งบริการน้ำตามจุดต่างๆอยู่
นายจาตุรงค์ กล่าวอีกว่า การผลิตน้ำประปาจากน้ำทะเลในขณะนี้ผลิตได้วันละประมาณ 7,000-12,000 ลบ.ม.ต่อวัน ขึ้นอยู่กับความสม่ำเสมอของกระแสไฟฟ้า และตั้งแต่เดินเครื่องผลิตมาก็ไม่มีปัญหาอะไรยกเว้นเมื่อช่วงที่มีคลื่นลมแรงที่พัดท่อน้ำในทะเลได้รับความเสียหายใช้เวลาในการซ่อมแซมประมาณ 1 เดือน หลังจากนั้นการผลิตมาได้ตลอดทุกวัน
สำหรับโรงงานผลิตน้ำทะเลเป็นน้ำประปานั้น ทางบริษัทฯ ใช้เงินลงทุนทั้งหมด 528 ล้านบาท โดยเริ่มก่อสร้างมาตั้งแต่ต้นปี 2549 และเริ่มผลิตครั้งแรกในวันที่ 30 ธันวาคม 2549 ที่ผ่านมา
โรงงานผลิตประปาจากน้ำทะเลของบริษัทนั้นไม่มีปัญหาในเรื่องของการเดินเครื่องผลิตสามารถผลิตได้ทุกวันๆ ยกเว้นเมื่อต้นปีที่ผ่านมาที่เกิดพายุพัดท่อน้ำในทะเลได้รับความเสียหายใช้เวลาซ่อม 1 เดือน ก็สามารถเดินเครื่งผลิตได้ตามปกติ
ตามที่ จ.ภูเก็ต ได้ประสบปัญหาภัยแล้งเมื่อปี 2548 รัฐบาลจึงมีนโยบายให้แก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน โดยให้การประปาส่วนภูมิภาคจัดหาแหล่งน้ำเพิ่มเติมตามแนวทางการแก้ไขปัญหาระยะกลาง คือ มอบหมายให้บริษัท อาร์ อี คิว วอเตอร์ เซอร์วิสเซส จำกัด ผลิตน้ำประปาเพิ่มให้กับการประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) โดยแบ่งเป็นระบบประปาผิวดิน 6,000 ลบ.ม./วันและระบบผลิตน้ำประปาจากน้ำทะเล (RO) 12,000 ลบ.ม./วัน
ปัจจุบัน บริษัทฯได้ดำเนินการก่อสร้างระบบผลิตน้ำประปาทั้ง 2 ระบบแล้วเสร็จ และส่งมอบน้ำประปาให้กับ กปภ.ตั้งแต่วันที่ 29 ธันวาคม 2549 เป็นต้นมา
ทั้งนี้ บริษัทฯ แบ่งการผลิตน้ำประปาจากน้ำทะเลเป็น 5 บริเวณ และมีข้อติดขัดที่เกี่ยวข้องกับข้อกฎหมาย 3 กระทรวงคือ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ ห้ามก่อสร้างโรงงานที่มีปริมาณน้ำทิ้งเกิน 1,000 ลบ.ม./วัน ระเบียบกระทรวงมหาดไทย เรื่องของการเป็นที่ดินประเภทที่โล่งเพื่อนันทนาการและการรักษาคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมห้ามใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อสร้างโรงงาน และระเบียบกระทรวงคมนาคม ต้องขออนุญาตวางท่อในทะเลตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 63 ออกตามความในพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ.2456 และมีข้อติดขัดข้อกฎหมายในเรื่องของบริเวณก่อสร้าง
ประกอบด้วย บริเวณก่อสร้างที่ 1 ที่ดินวางท่อสูบน้ำทะเล อยู่บนที่ดินสาธารณะของกรมที่ดินใช้เนื้อที่ประมาณ 20 ตารางวา บริเวณก่อสร้างที่ 2 คือ ที่ดินวางท่อระบายน้ำทะเลอยู่บนที่ดินสาธารณะของกรมที่ดินใช้เนื้อที่ประมาณ 88 ตารางวา บริเวณก่อสร้างที่ 3 คือที่ตั้งอาคารสูบน้ำทะเลอยู่บนที่ดินสาธารณะของกรมที่ดินใช้เนื้อที่ประมาณ 22 ตารางวา ขนาดของอาคารมีพื้นที่ประมาณ 72 ตารางเมตร สูงจากพื้นดิน 3 เมตร
บริเวณก่อสร้างที่ 4 ตั้งโรงผลิตน้ำประปาจากน้ำทะเล อยู่บนที่ดิน ส.ป.ก. ใช้เนื้อที่ประมาณ 400 ตารางวา อาคารมีขนาดพื้นที่รวม 365 ตารางเมตร สูงจากพื้นดิน 11.95 เมตร และบริเวณก่อสร้างที่ 5 ที่ตั้งถึงจ่ายน้ำประปาอยู่บนที่ดิน ส.ป.ก. ใช้เนื้อที่ประมาณ 400 ตารางวา อาคารมีขนาดพื้นที่รวม 580 ตารางเมตร สูงจากพื้นดิน 5 เมตร
นอกจากนี้ ในส่วนของกิจกรรมการดำเนินการของโครงการยังติดขัดกฎหมายต่าง ๆ อาทิ ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ห้ามกระทำหรือประกอบกิจกรรมการปล่อยทิ้งมลพิษลงสู่แหล่งน้ำหรือทะเล เว้นแต่เป็นกรณีที่ได้ผ่านการบำบัดตามมาตรฐานของทางราชการแล้ว และประกาศกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมและประกาศกรมเจ้าท่าเรื่องกำหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้ง
จากปัญหาดังกล่าวเมื่อเร็วๆ นี้ นายนิรันดร์ จงวุฒิเวศย์ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย ในฐานะประธานคณะทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาโครงการผลิตน้ำประปาจากน้ำทะเลเกาะภูเก็ต ได้หารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในจังหวัดภูเก็ต ประกอบด้วย นายสมิทธิ์ ปาลวัฒน์วิไชย รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต นายสายัณห์ วารีอรุณโรจน์ ผู้จัดการประปาส่วนภูมิภาคจังหวัดภูเก็ต พร้อมคณะทำงาน ส่วนราชการและตัวแทนบริษัทอาร์ อี คิว วอเตอร์ เซอร์วิสเซส จำกัด เพื่อหาแนวทางแก้ไขโครงการผลิตน้ำประปาจากน้ำทะเล นำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีในการแก้ไขปัญหาต่อไป
เดินหน้าผลิตวันละ 12,000 ลบ.ม.
ขณะที่นายจาตุรงค์ สะดวกการ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท อาร์.คิว.วอเตอร์ เซอร์วิสเซส จำกัด กล่าวว่า จากการที่นายนิรันดร์ จงวุฒิเวศย์ ได้มาหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเมื่อเร็วๆนี้ ปัญหาเกี่ยวกับข้อกฎหมายทั้งหมดของกระทรวงต่างๆที่เกี่ยวข้องนั้นไม่ว่าจะเป็นระเบียบผังเมือง กระทรวงมหาดไทย กระทรวงคมนาคม นั้นสามารถที่จะแก้ไขปัญหาได้ทั้งหมด
ยกเว้นในส่วนของมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในประเด็นห้ามก่อสร้างในพื้นที่สูงเกิน 80 เมตร ซึ่งในส่วนของโรงงานผลิตน้ำนั้นไม่เกิน 80 เมตร แต่ที่สูงเกิน 80 เมตรคือในส่วนของแท็งค์เก็บน้ำ ซึ่งเรื่องนี้ที่ประชุมได้หาแนวทางโดยการนำเสนอเรื่องดังกล่าวไม่ยังคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ที่จะนำเสนอขอยกเว้นไปยังคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป
อย่างไรก็ตาม การผลิตน้ำทะเลเป็นน้ำประปานั้นสามารถผลิตได้ตั้งแต่โรงงานก่อสร้างแล้วเสร็จตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคม 2549 ที่ผ่านมา เนื่องจากทางจังหวัดภูเก็ตและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอลุ่มอล่วยให้เนื่องเป็นโครงการที่แก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำของจังหวัดภูเก็ต
โดยเฉพาะในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของภูเก็ต ทั้งหาดกะตะ กะรน และหาดป่าตอง เป็นต้น ซึ่งหลังจากที่บริษัทฯผลิตน้ำทะเลเป็นน้ำประปาได้แล้วนั้นทำให้การขาดแคลนน้ำประปาในพื้นที่ดังกล่าวลดน้อยลง และจากการสอบถามไปยังผู้ใช้น้ำในพื้นที่ที่น้ำไม่เคยไหลก็มีน้ำประปาไหลแล้วแต่จะเพียงพอหรือไม่นั้นยังไม่สามารถรับรองได้ เพราะยังเห็นมีรถบรรทุกน้ำวิ่งบริการน้ำตามจุดต่างๆอยู่
นายจาตุรงค์ กล่าวอีกว่า การผลิตน้ำประปาจากน้ำทะเลในขณะนี้ผลิตได้วันละประมาณ 7,000-12,000 ลบ.ม.ต่อวัน ขึ้นอยู่กับความสม่ำเสมอของกระแสไฟฟ้า และตั้งแต่เดินเครื่องผลิตมาก็ไม่มีปัญหาอะไรยกเว้นเมื่อช่วงที่มีคลื่นลมแรงที่พัดท่อน้ำในทะเลได้รับความเสียหายใช้เวลาในการซ่อมแซมประมาณ 1 เดือน หลังจากนั้นการผลิตมาได้ตลอดทุกวัน
สำหรับโรงงานผลิตน้ำทะเลเป็นน้ำประปานั้น ทางบริษัทฯ ใช้เงินลงทุนทั้งหมด 528 ล้านบาท โดยเริ่มก่อสร้างมาตั้งแต่ต้นปี 2549 และเริ่มผลิตครั้งแรกในวันที่ 30 ธันวาคม 2549 ที่ผ่านมา
โรงงานผลิตประปาจากน้ำทะเลของบริษัทนั้นไม่มีปัญหาในเรื่องของการเดินเครื่องผลิตสามารถผลิตได้ทุกวันๆ ยกเว้นเมื่อต้นปีที่ผ่านมาที่เกิดพายุพัดท่อน้ำในทะเลได้รับความเสียหายใช้เวลาซ่อม 1 เดือน ก็สามารถเดินเครื่งผลิตได้ตามปกติ