นครศรีธรรมราช – สมาคมผู้เลี้ยงหมูเมืองนครศรีฯ แนะ “มิ่งขวัญ” บี้พ่อค้า-แม่ค้าสุกรชำแหละคือปัญหาหลัก อย่ามุ่งแค่เอาใจผู้บริโภคเพื่อคะแนนเสียง แฉราคาหมูเป็นไม่สูง แต่พอถึงมือพ่อค้ากลับพุ่ง
วันนี้ (11 มี.ค.) นายโสภณ พรหมแก้ว อุปนายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรนครศรีธรรมราช เปิดเผยว่าล่าสุดนั้น ทางสมาคมได้ทำรายงานต้นทุนในการผลิตสุกรขุนให้กับพาณิชย์ไปแล้ว ซึ่งต้นทุนจะอยู่ที่ประมาณ 52-57 บาทต่อกิโลกรัม ในขณะที่หมู 100 กิโลกรัมจะต้องใช้เวลาขุน 3 เดือนเศษ ดังนั้น ต้นทุนต่อตัวจะอยู่ที่ประมาณ 5,200-5,700 บาท เมื่อขายหมูมีชีวิตจะอยู่ที่ 59-62 บาทต่อกิโลกรัม 1 ตัวจะอยู่ที่ประมาณ 6,000-6,300 กำไรแค่ไม่ถึง 700 บาทต่อตัวและต้องใช้เวลาถึง 3-4 เดือน ส่วนผู้ชำแหละจะอยู่กำไรตัวละ 700 บาทขึ้นไป
“จริงๆ ปัญหาอยู่ที่เขียงที่ชำแหละราคาควรจะลดลงบ้าง แต่นี่ไม่ยอมลดกำไรลงเลย อีกส่วนหนึ่งคือต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์รัฐไม่เคยเข้าไปดูแลควบคุมกลับมาบีบเอาที่เกษตรกรผู้เลี้ยงเกษตรกรจริงๆ ในประเทศไทยเหลืออยู่กี่ราย รัฐบาลพูดถึงซีพี มันคะเรื่องกับที่พูดกับเกษตรกรรายย่อยจะต้องพูดอีกอย่างเกษตรกรทั่งประเทศอาจจะถูกมองว่าไม่ใช่ฐานคะแนน ผู้บริโภคคือฐานคะแนนเลือกตั้งจึงต้องเอาใจมากขึ้นเช่นนี้คงไม่ผิด และรู้ต่อไปหรือไม่ว่าบรรดาผู้ค้าสุกรชำแหละมาบีบกดราคาสุกรมีชีวิตลงไปอีกอ้างว่ารัฐให้ขายราคาลดลง เคยถามต่อไปหรือไม่ว่าเกษตรกรผู้เลี้ยงจะอยู่อย่างไรหรือจะให้ยักษ์ใหญ่ผูกขาดอาชีพเกษตรกร” นายโสภณ กล่าว
ด้าน นายบริรักษ์ ชูสิทธิ์ การค้าภายในจังหวัดนครศรีธรรมราช เปิดเผยว่า หลังจากกระทรวงพาณิชย์ได้ออกมาอุ้มราคาหมูให้ลดลงเนื่องจากขณะนี้ราคาจำหน่ายสุกรชำแหละได้ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะราคาสุกรชำแหละเนื้อแดง ซึ่งในท้องตลาดได้จำหน่ายกัน กิโลกรัมละ 100-120 บาท ส่งผลให้ประชาชนมีค่าครองชีพสูง ตรงนี้ได้ประสานเจ้าของฟาร์มหมูขนาดใหญ่นำเนื้อสุกรชำแหละเนื้อแดงออกมาจำหน่ายในโครงการธงฟ้าราคากิโลกรัมละ 98 บาทเนื้อสันใน-สันนอก กิโลกรัมละ 105 บาท หมูสามชั้น และซี่โครงกิโลกรัมละ 90 บาท วันหนึ่งจำหน่ายได้วันละ 5 ตัว และจะเพิ่มปริมาณยอดการซื้อขึ้นเรื่อยๆ
อย่างไรก็ตาม ในราคาจำหน่ายเนื้อสุกรตามตลาดสดต่างๆ นั้น ผู้สื่อข่าวรายงานว่าสุกรเนื้อแดงคุณภาพดีผู้ค้ายังยืนราคาที่ 120 บาท และเนื้อคุณภาพลดหลั่นลงมาราคาจะลดลงตามลำดับ โดยผู้ค้าอ้างว่าได้กำไรไม่มากต่อสุกร 1 ตัว ซึ่งยังต้องยืนจำหน่ายราคานี้ต่อไปและลดการเชือดสุกรลงจากเดิมวันละ 2-3 ตัว จะลดลงเหลือวันละ 1-2 ตัวแล้วแต่สถานการณ์ของผู้ซื้อ
วันนี้ (11 มี.ค.) นายโสภณ พรหมแก้ว อุปนายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรนครศรีธรรมราช เปิดเผยว่าล่าสุดนั้น ทางสมาคมได้ทำรายงานต้นทุนในการผลิตสุกรขุนให้กับพาณิชย์ไปแล้ว ซึ่งต้นทุนจะอยู่ที่ประมาณ 52-57 บาทต่อกิโลกรัม ในขณะที่หมู 100 กิโลกรัมจะต้องใช้เวลาขุน 3 เดือนเศษ ดังนั้น ต้นทุนต่อตัวจะอยู่ที่ประมาณ 5,200-5,700 บาท เมื่อขายหมูมีชีวิตจะอยู่ที่ 59-62 บาทต่อกิโลกรัม 1 ตัวจะอยู่ที่ประมาณ 6,000-6,300 กำไรแค่ไม่ถึง 700 บาทต่อตัวและต้องใช้เวลาถึง 3-4 เดือน ส่วนผู้ชำแหละจะอยู่กำไรตัวละ 700 บาทขึ้นไป
“จริงๆ ปัญหาอยู่ที่เขียงที่ชำแหละราคาควรจะลดลงบ้าง แต่นี่ไม่ยอมลดกำไรลงเลย อีกส่วนหนึ่งคือต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์รัฐไม่เคยเข้าไปดูแลควบคุมกลับมาบีบเอาที่เกษตรกรผู้เลี้ยงเกษตรกรจริงๆ ในประเทศไทยเหลืออยู่กี่ราย รัฐบาลพูดถึงซีพี มันคะเรื่องกับที่พูดกับเกษตรกรรายย่อยจะต้องพูดอีกอย่างเกษตรกรทั่งประเทศอาจจะถูกมองว่าไม่ใช่ฐานคะแนน ผู้บริโภคคือฐานคะแนนเลือกตั้งจึงต้องเอาใจมากขึ้นเช่นนี้คงไม่ผิด และรู้ต่อไปหรือไม่ว่าบรรดาผู้ค้าสุกรชำแหละมาบีบกดราคาสุกรมีชีวิตลงไปอีกอ้างว่ารัฐให้ขายราคาลดลง เคยถามต่อไปหรือไม่ว่าเกษตรกรผู้เลี้ยงจะอยู่อย่างไรหรือจะให้ยักษ์ใหญ่ผูกขาดอาชีพเกษตรกร” นายโสภณ กล่าว
ด้าน นายบริรักษ์ ชูสิทธิ์ การค้าภายในจังหวัดนครศรีธรรมราช เปิดเผยว่า หลังจากกระทรวงพาณิชย์ได้ออกมาอุ้มราคาหมูให้ลดลงเนื่องจากขณะนี้ราคาจำหน่ายสุกรชำแหละได้ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะราคาสุกรชำแหละเนื้อแดง ซึ่งในท้องตลาดได้จำหน่ายกัน กิโลกรัมละ 100-120 บาท ส่งผลให้ประชาชนมีค่าครองชีพสูง ตรงนี้ได้ประสานเจ้าของฟาร์มหมูขนาดใหญ่นำเนื้อสุกรชำแหละเนื้อแดงออกมาจำหน่ายในโครงการธงฟ้าราคากิโลกรัมละ 98 บาทเนื้อสันใน-สันนอก กิโลกรัมละ 105 บาท หมูสามชั้น และซี่โครงกิโลกรัมละ 90 บาท วันหนึ่งจำหน่ายได้วันละ 5 ตัว และจะเพิ่มปริมาณยอดการซื้อขึ้นเรื่อยๆ
อย่างไรก็ตาม ในราคาจำหน่ายเนื้อสุกรตามตลาดสดต่างๆ นั้น ผู้สื่อข่าวรายงานว่าสุกรเนื้อแดงคุณภาพดีผู้ค้ายังยืนราคาที่ 120 บาท และเนื้อคุณภาพลดหลั่นลงมาราคาจะลดลงตามลำดับ โดยผู้ค้าอ้างว่าได้กำไรไม่มากต่อสุกร 1 ตัว ซึ่งยังต้องยืนจำหน่ายราคานี้ต่อไปและลดการเชือดสุกรลงจากเดิมวันละ 2-3 ตัว จะลดลงเหลือวันละ 1-2 ตัวแล้วแต่สถานการณ์ของผู้ซื้อ