มหาสารคาม - ผู้ประกอบการเขียงหมูจังหวัดมหาสารคาม ไม่สามารถลดราคาเนื้อหมูตามที่รัฐบาลร้องขอได้ เหตุหัวอาหารสัตว์แพง และหมูหน้าฟาร์มไม่ลดราคาให้ วอนรัฐบาลแก้ไขที่ต้นเหตุ
นางสาวรัตนา จำเริญรัตนชัย ผู้ประกอบการเขียงหมูที่ตลาดสดเทศบาลเมืองมหาสารคาม กล่าวว่า สาเหตุที่ทำให้ต้นทุนของเนื้อสุกร ราคาสูงเพราะ หัวอาหารมีราคาเพิ่มสูงขึ้นกว่าเท่าตัว ทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงหมูรายย่อย ต้องหยุดเลี้ยง เพราะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มสูงขึ้น ส่วนราคาหมูเป็นที่หน้าฟาร์ม ยังไม่ได้ชำแหละ ก็ราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 58-60 บาท
ขณะที่ราคาหมูที่ชำแหละราคาจะอยู่ที่กิโลกรัมละ 120-130 บาท การที่รัฐบาลจะให้ปรับลดราคาหมูลงเหลือกิโลกรัมละ 98 บาทนั้น คงทำไม่ได้ เพราะราคาหน้าฟาร์มไม่ลด รัฐบาลควรแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ คือ ควบคุมราคาหัวอาหารมากกว่า อีกทั้งในอีก 2 เดือนข้างหน้า หมูอาจขาดตลาด
เนื่องจากเกิดโรคท้องร่วงติดต่อในหมู หรือโรคพีอีดี ที่ส่งผลให้ลูกหมูกินนมจากแม่หมูที่ติดเชื้อไวรัส จนทำให้น้ำนมแห้ง ขาดนมเมื่อลูกหมูกินนมแม่หมูเข้าไปทำให้ลูกหมูท้องร่วงและตายในที่สุด
ขณะที่ผู้บริโภคต่างยอมรับสภาพกับราคาหมูที่เพิ่มสูงขึ้น เพราะเข้าใจว่าเป็นไปตามกลไกตลาด เมื่อหมูมีน้อย ราคาก็ต้องเพิ่มสูงขึ้นเป็นธรรมดา แต่ก็เปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคหันไปบริโภคเนื้อไก่ หรือเนื้อปลาที่ราคาถูกกว่า
ด้าน นายกรรพล พินธุรักษ์ การค้าภายในจังหวัดมหาสารคาม กล่าวว่า ราคาเนื้อสุกรในจังหวัดมหาสารคาม จะสูงกว่าจังหวัดอื่น เนื่องจากว่าปริมาณสุกรในจังหวัดมหาสารคามมีไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค จึงต้องมีการนำเข้ามาจากจังหวัดขอนแก่น และจังหวัดร้อยเอ็ด ทำให้มีต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น ราคาจำหน่ายจึงแพงขึ้น
ขณะนี้ก็ได้ขอความร่วมมือไปยังเจ้าของเขียงหมูรายใหญ่ในจังหวัดให้จำนวน 2 ราย ที่อำเภอเชียงยืน และอำเภอเมืองมหาสารคาม ให้ตรึงราคาไว้ก่อนในช่วงนี้ โดยจะมีการจัดจำหน่ายเนื้อสุกรในราคากิโลกรัมละ 98 บาท เริ่มตั้งแต่วันที่ 10 มีนาคมเป็นต้นไป ที่บริเวณเต้นท์หน้าตลาดสดเทศบาลเมืองมหาสารคาม
พร้อมทั้งมีการจำหน่ายสินค้าที่ทางกระทรวงพาณิชย์ประกาศปรับราคา คือ น้ำมันพืช รวมทั้งยังมีไข่ไก่สด จำหน่ายในราคาถูกในวันและเวลาดังกล่าวด้วย
นางสาวรัตนา จำเริญรัตนชัย ผู้ประกอบการเขียงหมูที่ตลาดสดเทศบาลเมืองมหาสารคาม กล่าวว่า สาเหตุที่ทำให้ต้นทุนของเนื้อสุกร ราคาสูงเพราะ หัวอาหารมีราคาเพิ่มสูงขึ้นกว่าเท่าตัว ทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงหมูรายย่อย ต้องหยุดเลี้ยง เพราะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มสูงขึ้น ส่วนราคาหมูเป็นที่หน้าฟาร์ม ยังไม่ได้ชำแหละ ก็ราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 58-60 บาท
ขณะที่ราคาหมูที่ชำแหละราคาจะอยู่ที่กิโลกรัมละ 120-130 บาท การที่รัฐบาลจะให้ปรับลดราคาหมูลงเหลือกิโลกรัมละ 98 บาทนั้น คงทำไม่ได้ เพราะราคาหน้าฟาร์มไม่ลด รัฐบาลควรแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ คือ ควบคุมราคาหัวอาหารมากกว่า อีกทั้งในอีก 2 เดือนข้างหน้า หมูอาจขาดตลาด
เนื่องจากเกิดโรคท้องร่วงติดต่อในหมู หรือโรคพีอีดี ที่ส่งผลให้ลูกหมูกินนมจากแม่หมูที่ติดเชื้อไวรัส จนทำให้น้ำนมแห้ง ขาดนมเมื่อลูกหมูกินนมแม่หมูเข้าไปทำให้ลูกหมูท้องร่วงและตายในที่สุด
ขณะที่ผู้บริโภคต่างยอมรับสภาพกับราคาหมูที่เพิ่มสูงขึ้น เพราะเข้าใจว่าเป็นไปตามกลไกตลาด เมื่อหมูมีน้อย ราคาก็ต้องเพิ่มสูงขึ้นเป็นธรรมดา แต่ก็เปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคหันไปบริโภคเนื้อไก่ หรือเนื้อปลาที่ราคาถูกกว่า
ด้าน นายกรรพล พินธุรักษ์ การค้าภายในจังหวัดมหาสารคาม กล่าวว่า ราคาเนื้อสุกรในจังหวัดมหาสารคาม จะสูงกว่าจังหวัดอื่น เนื่องจากว่าปริมาณสุกรในจังหวัดมหาสารคามมีไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค จึงต้องมีการนำเข้ามาจากจังหวัดขอนแก่น และจังหวัดร้อยเอ็ด ทำให้มีต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น ราคาจำหน่ายจึงแพงขึ้น
ขณะนี้ก็ได้ขอความร่วมมือไปยังเจ้าของเขียงหมูรายใหญ่ในจังหวัดให้จำนวน 2 ราย ที่อำเภอเชียงยืน และอำเภอเมืองมหาสารคาม ให้ตรึงราคาไว้ก่อนในช่วงนี้ โดยจะมีการจัดจำหน่ายเนื้อสุกรในราคากิโลกรัมละ 98 บาท เริ่มตั้งแต่วันที่ 10 มีนาคมเป็นต้นไป ที่บริเวณเต้นท์หน้าตลาดสดเทศบาลเมืองมหาสารคาม
พร้อมทั้งมีการจำหน่ายสินค้าที่ทางกระทรวงพาณิชย์ประกาศปรับราคา คือ น้ำมันพืช รวมทั้งยังมีไข่ไก่สด จำหน่ายในราคาถูกในวันและเวลาดังกล่าวด้วย