ตรัง – ประธานหอการค้าจังหวัดตรัง ระบุผู้ประกอบการเรือประมงและธุรกิจเกี่ยวเนื่องยังคงได้รับผลกระทบอย่างหนักจากปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบ และต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น เตรียมรณรงค์ห้ามจับสัตว์น้ำในฤดูวางไข่
นายสลิล โตทับเที่ยง ประธานหอการค้าจังหวัดตรัง และประธานอำนวยการ บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล จำกัด (มหาชน) ผู้ประกอบธุรกิจอาหารกระป๋องในเครือปุ้มปุ้ย-ปลายิ้ม เปิดเผยว่า ในปี 2550 ที่ผ่านมา ธุรกิจประมงทะเล และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับประมงทะเล ได้รับความบอบช้ำอย่างหนัก สาเหตุหลักเกิดจากที่เรือประมงของประเทศไทยไม่มีแหล่งจับสัตว์น้ำทะเล ต้องเดินทางไปจับในเขตน่านน้ำของประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งได้รับการกีดกัน และมีปัญหาต่อกันตลอดมา
ดังนั้น จึงทำผู้ประกอบการ โดยเฉพาะเรือประมงพาณิชย์ และแพปลาต่างๆ ต้องประสบปัญหาขาดทุนอย่างหนัก จนไม่สามารถจะแบกรับต้นทุนไว้ได้ ประกอบกับปัญหาราคาน้ำมันที่มีราคาแพง ยิ่งเป็นปัจจัยบวกส่งผลให้ต้องประสบปัญหามากยิ่งขึ้นไปอีก ซึ่งทุกรายก็ใช้วิธีการพยุงธุรกิจ ด้วยการติดต่อซื้อสัตว์น้ำทะเลจากประเทศเพื่อนบ้านมาป้อนธุรกิจ แต่ก็มีวัตถุดิบไม่เพียงพอ และมีราคาแพง
ทั้งนี้ หากผู้ประกอบการรายใดมีธุรกิจด้านเดียว หรือไม่มีอาชีพเสริม เช่น สวนยางพารา หรือสวนปาล์มน้ำมัน ก็จะต้องประสบปัญหาขาดทุนหนักกว่าหลายร้อยเท่า จนแทบจะหมดเนื้อหมดตัว และไม่สามารถจะพยุงตัวเองไว้ ทำให้ต่างก็รู้สึกถอดใจไปตามๆ กัน อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการ และภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ก็ได้พยายามหาวิธีการแก้ปัญหามาโดยตลอด ทั้งการเจรจาเพื่อขอเข้าไปทำประมงในเขตน่านน้ำของประเทศเพื่อนบ้าน แต่ยังไม่สามารถตกลงกันได้ รวมทั้งเตรียมหาทางสำรองไว้ด้วย
อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่า ปัจจุบันปัญหาดังกล่าวกระทบธุรกิจด้านอุตสาหกรรม ทั้งในจังหวัดตรัง และในระดับภาคใต้เป็นอย่างมาก เพราะในทุกจังหวัดประสบปัญหาเช่นเดียวกัน ต้องสูญเสียเม็ดเงินไปเป็นจำนวนมากนับหมื่นล้านบาท หรือมากจนไม่สามารถประเมินค่าได้ และต่างก็พยายามมองในแง่ดีว่า แนวทางแก้ปัญหานั้นคงได้คำตอบในเร็วๆ นี้
ส่วนวิธีการแก้ปัญหาระยะยาวที่สามารถจะช่วยเหลือตัวเองได้คือ การรณรงค์ไม่ให้มีการจับสัตว์น้ำทะเลในฤดูวางไข่ ซึ่งก่อนหน้านี้เคยมีการกำหนดพื้นที่รณรงค์ไว้แล้วในฝั่งอ่าวไทย แต่จากนี้ไปจะต้องเพิ่มพื้นที่ให้มากขึ้น โดยในจังหวัดตรัง ก็จะต้องเร่งดำเนินการในเร็วๆ นี้ แม้จะช้าไป แต่เพื่อผลประโยชน์ของชาติในระยะยาว ซึ่งนอกไปจากเรือประมงพาณิชย์แล้ว ยังต้องทำความเข้าใจ และให้ความรู้กับเรือประมงพื้นบ้านด้วย เพราะปัญหานี้ต้องช่วยกันหลายๆ คนและหลายๆ ด้าน
นายสลิล โตทับเที่ยง ประธานหอการค้าจังหวัดตรัง และประธานอำนวยการ บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล จำกัด (มหาชน) ผู้ประกอบธุรกิจอาหารกระป๋องในเครือปุ้มปุ้ย-ปลายิ้ม เปิดเผยว่า ในปี 2550 ที่ผ่านมา ธุรกิจประมงทะเล และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับประมงทะเล ได้รับความบอบช้ำอย่างหนัก สาเหตุหลักเกิดจากที่เรือประมงของประเทศไทยไม่มีแหล่งจับสัตว์น้ำทะเล ต้องเดินทางไปจับในเขตน่านน้ำของประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งได้รับการกีดกัน และมีปัญหาต่อกันตลอดมา
ดังนั้น จึงทำผู้ประกอบการ โดยเฉพาะเรือประมงพาณิชย์ และแพปลาต่างๆ ต้องประสบปัญหาขาดทุนอย่างหนัก จนไม่สามารถจะแบกรับต้นทุนไว้ได้ ประกอบกับปัญหาราคาน้ำมันที่มีราคาแพง ยิ่งเป็นปัจจัยบวกส่งผลให้ต้องประสบปัญหามากยิ่งขึ้นไปอีก ซึ่งทุกรายก็ใช้วิธีการพยุงธุรกิจ ด้วยการติดต่อซื้อสัตว์น้ำทะเลจากประเทศเพื่อนบ้านมาป้อนธุรกิจ แต่ก็มีวัตถุดิบไม่เพียงพอ และมีราคาแพง
ทั้งนี้ หากผู้ประกอบการรายใดมีธุรกิจด้านเดียว หรือไม่มีอาชีพเสริม เช่น สวนยางพารา หรือสวนปาล์มน้ำมัน ก็จะต้องประสบปัญหาขาดทุนหนักกว่าหลายร้อยเท่า จนแทบจะหมดเนื้อหมดตัว และไม่สามารถจะพยุงตัวเองไว้ ทำให้ต่างก็รู้สึกถอดใจไปตามๆ กัน อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการ และภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ก็ได้พยายามหาวิธีการแก้ปัญหามาโดยตลอด ทั้งการเจรจาเพื่อขอเข้าไปทำประมงในเขตน่านน้ำของประเทศเพื่อนบ้าน แต่ยังไม่สามารถตกลงกันได้ รวมทั้งเตรียมหาทางสำรองไว้ด้วย
อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่า ปัจจุบันปัญหาดังกล่าวกระทบธุรกิจด้านอุตสาหกรรม ทั้งในจังหวัดตรัง และในระดับภาคใต้เป็นอย่างมาก เพราะในทุกจังหวัดประสบปัญหาเช่นเดียวกัน ต้องสูญเสียเม็ดเงินไปเป็นจำนวนมากนับหมื่นล้านบาท หรือมากจนไม่สามารถประเมินค่าได้ และต่างก็พยายามมองในแง่ดีว่า แนวทางแก้ปัญหานั้นคงได้คำตอบในเร็วๆ นี้
ส่วนวิธีการแก้ปัญหาระยะยาวที่สามารถจะช่วยเหลือตัวเองได้คือ การรณรงค์ไม่ให้มีการจับสัตว์น้ำทะเลในฤดูวางไข่ ซึ่งก่อนหน้านี้เคยมีการกำหนดพื้นที่รณรงค์ไว้แล้วในฝั่งอ่าวไทย แต่จากนี้ไปจะต้องเพิ่มพื้นที่ให้มากขึ้น โดยในจังหวัดตรัง ก็จะต้องเร่งดำเนินการในเร็วๆ นี้ แม้จะช้าไป แต่เพื่อผลประโยชน์ของชาติในระยะยาว ซึ่งนอกไปจากเรือประมงพาณิชย์แล้ว ยังต้องทำความเข้าใจ และให้ความรู้กับเรือประมงพื้นบ้านด้วย เพราะปัญหานี้ต้องช่วยกันหลายๆ คนและหลายๆ ด้าน